ผู้นำ Quad หรือ "จตุภาคี" ประชุมสุดยอดออนไลน์กันครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
เป็นการส่งสัญญาณสำคัญหลายประเด็นที่มีผลกระทบต่อไทยอย่างแน่นอน
เพราะผู้เข้าร่วมประชุมคือ
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น โยชิฮิเดะ สุกะ
นายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทรา โมดี
นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย สกอตต์ มอร์ริสัน
ถือเป็นการประชุมสุดยอดครั้งแรกตั้งแต่กลุ่มนี้ตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2007 มีชื่อเต็มว่า Quadrilateral Security Dialogue อันหมายถึงการปรึกษาหารือกันด้านความมั่นคงของ 4 ประเทศนี้ที่มีบทบาทสำคัญต่อความมั่นคงในเอเชีย
สหรัฐฯ ริเริ่มกลไกนี้ก็เพื่อต้องการจะสกัดอิทธิพลของจีน โดยเห็นว่าอินเดียกับญี่ปุ่นมีปัญหากับจีนในหลายๆ มิติ
ส่วนออสเตรเลียก็เป็นพันธมิตรเก่าแก่ด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ ถึงกับถูกมองว่าเป็น "ฐานส่วนหน้า" ของสหรัฐฯ ในย่านนี้ด้วยซ้ำ
การประชุมสุดยอดของ 4 ผู้นำวางวาระไว้หลายหัวข้อ เช่น โควิด-19 และวัคซีน รวมถึงเศรษฐกิจหลังโควิด
แต่เป้าหมายที่ชัดเจนก็คือการต้านอิทธิพลของจีน
เช่นพูดถึงเรื่องทะเลจีนใต้และ "เสรีภาพแห่งการเดินเรือ" ของทะเลหลวง
มีการพูดถึงการซ้อมรบของ 4 ประเทศในน่านน้ำแถวนี้
ที่น่าสนใจไม่น้อยกว่าเรื่องความมั่นคงและแสนยานุภาพทางทหารคือ "การทูตวัคซีน" หรือ Vaccine diplomacy
จีนกับอินเดียเป็นคู่รักคู่แค้นกันมายาวนาน
จีนกับอินเดียวันนี้แข่งกันใช้การทูตวัคซีนเพื่อชนะใจเพื่อนบ้าน
จีนผลิตวัคซีนโควิดของตัวเองหลายยี่ห้อ และส่งไปให้มิตรประเทศหลายแห่ง (รวมถึงเสนอให้นักกีฬาที่จะเข้าแข่ง Tokyo Olympics)
ขณะเดียวกันอินเดียก็ผลิตวัคซีนโควิดเหมือนกัน
ยิ่งไปกว่านั้นอินเดียยังสร้างความฮือฮาดวยการผลิต "วัคซีน 100 รูปี" (50 บาท) ออกมาได้แล้ว อีกทั้ง AstraZeneca ก็ให้อินเดียช่วยผลิตวัคซีนของตนเช่นกัน
การประชุมสุดยอด Quad ครั้งนี้จึงมีการพูดถึงการให้ญี่ปุ่นอำนวยความสะดวกด้วยระบบตู้เย็นเพื่อการผลิตวัคซีนจากอินเดีย
ให้สหรัฐฯ และออสเตรเลียสนับสนุนด้านการเงิน
โดยมีฐานการผลิตอยู่ที่อินเดียเพราะ 60% ของวัคซีนทั่วโลกมีฐานผลิตอยู่ที่อินเดีย
ขยายผลออกไปให้อินเดียกลายเป็นประเทศที่ผลิตวัคซีนต่อต้านโควิดใหญ่ที่สุดของโลก
และให้อินเดียกระจายวัคซีนตัวนี้ไปยังพื้นที่เป้าหมาย เช่น เอเชียใต้ ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศในมหาสมุทรอินเดีย
นั่นก็หมายถึงเมียนมาด้วย
ต้องไม่ลืมว่าอินเดียมีความสนิทสนมกับกองทัพเมียนมาอีกด้วย
ดร.ปิติ ศรีแสงนาม เท้าความว่าบังกลาเทศซื้อเรือดำน้ำจากจีนและก็มีท่าเรือของจีน (ส่วนหนึ่งของ One Belt One Road)
รัฐบาลเมียนมายุคอองซาน ซูจีก็ญาติดีกับจีนไม่น้อย เพราะโครงการ One Belt One Road เช่นกัน
แต่สำหรับอินเดียแล้ว มหาสมุทรอินเดียคือสนามหลังบ้าน
ถ้าจีนมีเรือดำน้ำอยู่ในบังกลาเทศ
ที่น่าสนใจคือ จีนไม่ได้ขายเฉพาะตัวเรือดำน้ำ แต่ขายแผนที่มหาสมุทรด้วย
"เวลาส่งมอบเรือดำน้ำเสร็จ เหมือนที่ไทยกำลังจะได้เรือดำน้ำจากจีน กองทัพจีนก็จะมาช่วยกองทัพไทยในการสำรวจพื้นที่ใต้ทะเลของประเทศไทย เพื่อดูว่าตรงไหนมีโขดหิน ตรงไหนตื้นลึกเพียงใด..."
จีนกำลังจะได้แผนที่ใต้ทะเลของบังกลาเทศ
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่อินเดียเอาเรือดำน้ำเก่ามาปรับปรุงและส่งให้เมียนมาเป็นของขวัญ
นอกจากนี้เมียนมาก็จะซื้อเรือดำน้ำจากรัสเซียด้วย
ดร.ปิติเชื่อว่าเราจะได้เห็น "แรงปะทะ" ในทะเลแถบนี้อย่างชัดเจน
หากดูยุทธศาสตร์ความมั่นคงของอเมริกาที่ออกมาในปี 2017 ซึ่งแม้จะเป็นช่วงของโดนัลด์ ทรัมป์ แต่ก็ยังส่งผลถึงโจ ไบเดน
ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ เรื่องนี้มี 4 ข้อหลักๆ และ 3 ใน 4 ข้อนั้นระบุเป้าหมายคือ
จำกัดเขตและปิดล้อมจีน!
ข้อแรกคือ ภัยคุกคามในรูปแบบ Comprehensive Security
หมายถึงการปกป้องดินแดนของสหรัฐฯ เอง
เอ่ยถึงเกาหลีเหนือ, อิหร่าน, ญิฮาด, ภัยไซเบอร์
ข้อสองคือ ภัยคุกคามทางเศรษฐกิจและพุ่งเป้าไปที่จีน
ข้อสามคือ การปกปักรักษาสันติภาพ...และพุ่งเป้าไปที่จีนเช่นกัน (บวกรัสเซีย)
ข้อที่สี่ระบุว่า สหรัฐฯ ต้องเป็นผู้มีอิทธิพลสูงสุดของโลกและภัยคุกคามก็คือจีนอีกนั่นเอง.
(พรุ่งนี้: เมื่อมี Quad จีนจะตอบโต้อย่างไร?)
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |