24 มี.ค.64 - ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบช.น.กล่าวถึงกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมประกาศนัดเตรียมชุมนุมตามแนวรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยเริ่มชุมนุมเวลา 17.00 น.ว่า พื้นที่ กทม.ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินและ พ.ร.บ.ควบคุมโรค ผู้ที่มีการโพสต์เชิญชวนตลอดจนผู้เข้าร่วมชุมนุมถือเป็นผู้ร่วมกระทำผิดทั้งหมด เจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่ในการักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ รักษาสาธารณสมบัติที่สำคัญของชาติ มีหน้าที่ป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นเพื่อความสงบของของสังคมส่วนรวม ยืนยันว่าแนวทางและมาตรการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติเป็นไปตามหลักกฎหมายหลักนิติธรรมและหลักสากล
“การข่าวกลุ่มผู้ชุมนุมที่จัดกิจกรรมที่ไหนนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจมีข้อมูลในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ต้องรอดูความชัดเจนช่วงบ่ายอีกครั้ง ส่วนการเข้าควบคุมสถานการณ์ก็ต้องดูพื้นที่ที่มีการชุมนุมลักษณะกายภาพเป็นอย่างไร ถ้าเป็นพื้นที่ที่เราสามารถควบคุมได้ก็ไม่น่ามีปัญหา แต่อย่างไรก็ตาม พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผบช.น.ได้กำชับผู้บังคับการทุกพื้นที่ที่รถไฟฟ้าผ่านเฝ้าระวังเตรียมมาตรการรองรับ เตรียมกำลังให้พร้อมทางกองบัญชาการตำรวจนครบาลมีกำลังเสริมให้สามารถโยกกำลังได้ตามสถานการณ์การข่าว”
พล.ต.ต.ปิยะยังกล่าวถึงกรณีผู้ชุมนุมยื่นหนังสือถึง บช.น.ให้ดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมกลัวมือที่สามจะมาก่อเหตุ ว่าต้องดูเป็นเรื่องๆไป เจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบ สิ่งไหนที่พูดกันได้เราก็จะดำเนินการ แต่การดำเนินการทั้งหลายกลุ่มผู้ชุมนุมต้องไม่ฝ่าฝืนกฎหมาย อย่างที่เรียนให้ทราบกรุงเทพฯ มีประกาศห้ามมีการชุมนุมจะยื่นหนังสือมาขอมาตรการอย่างไรไม่สามารถทำได้ เพราะมีการห้ามการชุมนุม ถ้าตำรวจลงดำเนินการให้การสนับสนุนถือว่ามีการทำผิดกฎหมายด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่าถ้ากลุ่มผู้ชุมนุมตั้งเวทีเจ้าหน้าที่จะเข้ากระชับพื้นที่หรือไม่ พล.ต.ต.ปิยะ ตอบว่า เจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้ตั้งอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเวทีการมาชุมนุมรวมตัวกันก็ผิดกฎหมายแล้ว และต้องดูพฤติกรรมลักษณะการกระทำของกลุ่มผู้ชุมนุมเป็นหลัก การกระทำของตัวผู้ชุมนุมจะเป็นตัวสะท้อนถึงหลายๆ อย่าง ถ้าไม่ปิดการจราจรก่อความเดือดร้อนในภาพรวม ไม่มีพฤติกรรมความเสี่ยงเกิดอันตรายร้ายแรง แต่ถ้ามีพฤติกรรมความเสี่ยงอย่างเช่นวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา มีการจุดไฟเผาหลายแห่งเจ้าหน้าที่มีความจำเป็นต้องระงับยับยั้ง
ด้าน พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร.กล่าวถึงสื่อที่ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่และไปร้องที่ศาลแพ่งต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่า เป็นสิทธิของผู้ฟ้องร้อง หลังจากที่มีการปฏิบัติหน้าที่ทุกครั้งก็จะมีการทบทวนการปฏิบัติทุกครั้งเพื่อทอดบทเรียน และนำไปปรับปรุงให้การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจจะเริ่มจากการเจรจาเพื่อให้การชุมนุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยที่สุด ยกเว้นถ้ามีการก่อความไม่สงบเจ้าหน้าที่มีความจำเป็นไม่ให้เหตุการณ์บานปลาย เช่นเดียวกันกับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนขอให้รวมกลุ่มอยู่ในแนวที่ปลอดภัย ฟังคำสั่งของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทราบว่าช่างภาพบางคนยากได้มุมภาพที่ไม่เหมือนชาวบ้านเขาไปอยู่ในจุดเสี่ยงเกินไปก็ต้องฝากด้วยอยากให้ทำงานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |