โฆษกรัฐบาลทหารเมียนมาแถลงเมื่อวันอังคาร ปกป้องการใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วง ระบุมีคนตายแค่ 164 คน แม้ตัวเลขจากนักเคลื่อนไหวปาไปกว่า 260 ศพแล้ว อ้างเศร้าใจเพราะพวกผู้ก่อการร้ายรุนแรงที่ตายไปต่างก็เป็นชาวเมียนมาเหมือนกัน ยืนยันรัฐบาลจะไม่ทนกับ "อนาธิปไตย"
แฟ้มภาพ ผู้ประท้วงจุดไฟเผาสิ่งกีดขวางบนสะพานเพื่อสกัดกั้นการเคลื่อนกำลังของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564
พลจัตวาซอ มิน ทุน โฆษกรัฐบาลทหารเมียนมา แถลงข่าวที่กรุงเนปยีดอเมื่อวันอังคารที่ 23 มีนาคมว่า มีผู้ประท้วงเสียชีวิตแล้ว 164 คนในเหตุการณ์รุนแรงจากการต่อต้านรัฐบาลทหาร "ผมเศร้าใจเพราะพวกผู้ก่อการร้ายรุนแรงที่ตายไปเหล่านี้ล้วนเป็นเพื่อนร่วมชาติของเรา" นายทหารผู้นี้กล่าว
นับแต่กองทัพก่อรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ชาวเมียนมาออกมาเดินขบวนประท้วงตามเมืองน้อยใหญ่ทั่วประเทศเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและขอให้ปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี ผู้นำรัฐบาลพลเรือน กองกำลังความมั่นคงใช้แก๊สน้ำตา, กระสุนยาง และกระสุนจริงเพื่อสลายการชุมนุมหลายครั้ง และทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติเตือนว่า การปราบปรามของทหาร-ตำรวจเมียนมาอาจถือเป็น "การก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" ข้อมูลจากกลุ่มนักเคลื่อนไหว สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง (เอเอพีพี) กล่าวไว้ว่ามีคนเสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 261 คน
อย่างไรก็ดี โฆษกรัฐบาลทหารผู้นี้อ้างเหตุผลปกป้องการทำหน้าที่ของกองกำลังความมั่นคงว่าพวกเขากำลังจัดการกับ "ผู้ก่อความไม่สงบที่ถืออาวุธ" และมีตำรวจ 5 นาย และทหาร 4 นายเสียชีวิต
"เราต้องปราบปรามอธิปไตย มีประเทศไหนบ้างในโลกนี้ที่ยอมรับอนาธิปไตย" เขากล่าว ขณะเดียวกัน เขายืนยันด้วยว่ารัฐบาลจะยังคงระงับบริการเครือข่ายข้อมูลทางโทรศัพท์มือถือต่อไป
อีกด้านหนึ่ง รัฐบาลเมียนมาเผยว่า ฌอน เทอร์เนลล์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวออสเตรเลียซึ่งเป็นที่ปรึกษาของนางซูจีและเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่โดนจับกุมหลังรัฐประหาร กำลังถูกสอบสวนภายใต้กฎหมายคนเข้าเมืองและกฎหมายขายความลับทางราชการ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |