ปล่อยผ่านประชามติก่อนแก้


เพิ่มเพื่อน    

 “ประวิตร” แจงยังไม่ได้คุยพรรคร่วมรัฐบาลเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ โปรยยาหอมเอาด้วยอยู่แล้ว แต่ต้องทำตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้ “จุรินทร์” ลั่นจะดันสุดลิ่มหวังจบในวาระครองเก้าอี้ รุมสวด “บิ๊กตู่” ท้าทายเรื่องแก้ รธน. ซัดเป็นใบเสร็จมัดไม่อยากแก้ นายกฯ รับห่วง กม.ประชามติขอให้ช่วยทำออกมาให้ดี “วิษณุ” โยนเผือกร้อนหากโหวตวาระแพ้ ครม.ถกหนักหลังมาตรา 9 ถูกรื้อ เล็งดันให้ผ่านไปก่อนแล้วชงแก้ไขทันที ส.ว.ประสานเสียงขัดรัฐธรรมนูญแน่ เชื่อมีการส่งเรื่องให้ศาลตีความอีกฉบับ

เมื่อวันอังคารที่ 23 มีนาคม ยังคงมีความต่อเนื่องในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 โดยเฉพาะข้อเสนอให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพแก้ไข พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวในเรื่องนี้ว่า เป็นเรื่องของสภาอยู่แล้ว จะไปเกี่ยวข้องกับรัฐบาลได้อย่างไร รัฐบาลกับสภาเป็นคนละเรื่องกัน ซึ่งรัฐบาลให้แก้อยู่แล้ว จะแก้รายมาตราหรือแก้ทั้งฉบับก็แล้วแต่ ขอให้ทำตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้ก็แล้วกัน
    เมื่อถามว่า ขณะนี้ดูเหมือนว่าพรรคร่วมรัฐบาลมีแนวคิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญแตกต่างกับพรรค พปชร. พล.อ.ประวิตรระบุว่า ไม่แตกๆ ก็เหมือนกันนั่นแหละ จะแก้หลายมาตราหรือแก้ไขทั้งฉบับ พรรครัฐบาลก็พร้อมอยู่แล้ว ส่วนจุดยืนของพรรค พปชร.นั้นจะเอายังไงก็ได้ไม่เป็นปัญหา ได้ทุกเรื่อง เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้วในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นไม่ต้องถามหรอก
เมื่อถามว่า จะเห็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นในรัฐบาลนี้หรือไม่ พล.อ.ประวิตรตอบว่า "ก็เห็นสิ จะดำเนินการอย่างไรก็ว่าไปเลย คุณอยากแก้ก็แก้เลย แก้ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญว่า" เมื่อถามย้ำว่า การแก้ไขได้รัฐธรรมนูญจะเสร็จสิ้นภายในรัฐบาลนี้หรือไม่ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า "จะไปรู้ได้อย่างไร ถ้าไม่ทำตามศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้"
    ต่อมา พล.อ.ประวิตรให้สัมภาษณ์อีกครั้งถึงการหารือพรรคร่วมรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ว่าเดี๋ยวค่อยคุยกัน อย่างไรก็ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ในพรรคร่วมรัฐบาลคงต้องพูดคุยกันอยู่แล้ว ขณะนี้ยังไม่เจอกัน ถ้าเจอก็จะคุยกัน
    เมื่อถามว่า เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจทำความสัมพันธ์ในพรรคร่วมรัฐบาลมีปัญหา พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ไม่มีๆ อะไร  พวกคุณไปคิดกันเองทั้งนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญพรรคการเมืองก็ต่างคนต่างคิดกัน ไม่เป็นไร
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ กล่าวถึงประเด็นเจ้าภาพแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ถ้าคิดตรงกันมันก็จะง่าย ใครจะเป็นเจ้าภาพก็ไม่แปลก แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือแต่ละพรรคคิดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 279 มาตราไม่ตรงกัน จึงบอกว่าเลือกเอามาตราที่จำเป็น และไม่ต้องทำประชามติก่อน อันนั้นจะง่าย  
    เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทย (พท.) ออกมาระบุว่าเมื่อร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน รัฐบาลควรต้องแสดงความรับผิดชอบ นายวิษณุสวนกลับว่า “คุณว่าใช่หรือไม่ ไม่เป็นไรเขาก็พูดทุกวันอยู่แล้ว เดี๋ยวคนนั้นพูดคนนี้พูด บางคนบอกให้ยุบสภาเสียด้วยซ้ำ”
ลั่นดันสุดลิ่มจบรัฐบาลนี้
    ด้านนายจุรินทร์? ลักษณวิศิษฏ์? รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์? ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์? (ปชป.) ยืนยันว่า พรรคจะพยายามผลักดันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่เหลือ ถือเป็นทิศทางที่ได้พุ่งไปตั้งแต่ต้น ที่ผ่านมาก็ได้พิสูจน์แล้วว่าได้ทำหน้าที่จนวาระสุดท้าย นั่นคือการลงมติเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่ 3
    เมื่อถามว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราเป็นทางออกที่ดีที่สุดใช่หรือไม่ นายจุรินทร์?กล่าวว่า สถานการณ์ขณะนี้การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับมีเครื่องหมายคำถาม และดูเหมือนข้อถกเถียงยังไม่ได้ข้อยุติว่าสุดท้ายต้องไปทำประชามติก่อนวาระ 1 หรือไปทำประชามติหลังผ่านวาระ 3 ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ? ถวายยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่
    ถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่ 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายรัฐบาล? ฝ่ายค้านและ ส.ว. จะจับมือกันแก้ไขรัฐธรรมนูญ? นายจุรินทร์กล่าวว่า ?อยากให้เป็นอย่างนั้น อยากเห็นสิ่งนี้เกิดขึ้น และเคยพูดมาแล้วว่าอยากให้ 3 ฝ่ายได้คุยกัน หาทางออกร่วมกันเพื่อนำไปสู่ข้อสรุป ซึ่งนำมาซึ่งข้อสรุปในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตัดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
    นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรค ปชป. กล่าวถึงความคืบหน้าในการยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ว่านายจุรินทร์ได้สั่งให้ฝ่ายกฎหมายพรรคจัดทำการยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา โดยฝ่ายกฎหมายจะนัดประชุมในวันที่ 24 มี.ค. เวลา 14.00 น. เมื่อดำเนินการเสร็จก็จะนำเสนอหัวหน้าพรรคต่อไป คาดว่าจะเสร็จทันก่อนเปิดสมัยประชุมสามัญ
    ด้านนายวราวุธ? ศิลปอาชา? รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม? ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์พรรคชาติไทยพัฒนา? (ชทพ.)? ยอมรับว่า ในวันนี้แต่ละพรรคก็มีแนวทางที่แตกต่างกันออกไป แต่ท้ายที่สุดแล้วผลการแก้ไขก็ต้องกลับมาร่วมกันทำอยู่ดี เพราะทุกพรรคมีเป้าหมายที่ตรงกันในการที่จะทำให้รัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับของประชาชน จึงต้องรอผลของแต่ละพรรคว่าพิจารณาออกมาอย่างไร? ซึ่ง?พรรคก็ยังไม่ได้มีการประชุม
    ส่วนพรรคฝ่ายค้านนั้น ต่างวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องรัฐธรรมนูญว่า “ถ้าระแวงว่าจะสืบทอดอำนาจก็ไปแก้รัฐธรรมนูญมา แต่แก้ให้ได้ก็แล้วกัน” โดยนายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรค พท. ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ระบุว่า การพูดเช่นนี้เท่ากับยอมรับและท้าทายว่าไม่มีทางแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้หาก พล.อ.ประยุทธ์ไม่อยากให้แก้ ส่วนที่อ้างว่าไม่สามารถสั่ง ส.ว.ได้นั้นเป็นการพูดเพื่อเอาตัวรอดเท่านั้น
        “พล.อ.ประยุทธ์ควรมีความเป็นลูกผู้ชาย พูดออกมาเลยว่าตราบใด พล.อ.ประยุทธ์และอำนาจของ คสช.ยังอยู่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะไม่มีทางเกิดขึ้น เพราะรัฐบาลจะไม่ยอมให้ประชาชนสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ควรออกมายอมรับมาตรงๆ จะดีกว่านี้ อย่ามาพูดดีโกหกประชาชนไปวันๆ” นายสมคิดกล่าว
    นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองหัวหน้าพรรค พท. ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ไม่แก้รัฐธรรมนูญที่เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลเอง นอกจากไม่มีการแสดงความรับผิดชอบใดๆ ยังออกมาเย้ยหยันท้าทายประชาชน ประเทศนี้จะอยู่กันไปแบบนี้จริงๆ หรือ
    น.ส.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรค พท. กล่าวว่า คำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ถือเป็นใบเสร็จรับรองว่าเป็นผู้ปฏิวัติเพื่อสร้างรัฐธรรมนูญมาสืบทอดอำนาจ กระบวนการแก้ไขยุ่งยากซับซ้อน เสมือนผูกเงื่อนตายให้กับประเทศ
    นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะโฆษกพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ระบุว่า คำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ชี้ถึงเจตนารมณ์ที่แท้จริงที่ไม่คิดแก้ไขรัฐธรรมนูญเลย คนที่เป็นนายกฯ จะพูดให้คำมั่นกับประชาชน แล้วเพิกเฉยต่อคำมั่นนั้นไม่ได้
    คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานกลุ่มสร้างไทย โพสต์เฟซบุ๊กในเรื่องนี้ว่า ไม่สบายใจยิ่ง ผู้นำที่ดีควรแสดงให้ประชาชนเห็นถึงความปรารถนาดีที่อยากเห็นบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ขจัดความขัดแย้งทั้งปวง ไม่ใช่ทำทุกวิถีทางเพื่อสืบทอดอำนาจเท่านั้น พล.อ.ประยุทธ์ควรแสดงวุฒิภาวะให้สมกับความเป็นผู้นำประเทศ รู้จักให้เกียรติประชาชนผู้จ่ายภาษีเป็นเงินเดือนให้กับนายกฯ ด้วยการพูดจาที่เป็นสุภาษิต ดีกว่ามาท้าทายประชาชน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อบ้านเมืองและลดความขัดแย้ง ดังมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า สุภาสิตา จ ยา วาจา
ภาคีชงแก้รธน.รายมาตรา
    ที่โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส ภาคีเพื่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยจัดประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์การเมือง และการดำเนินการสู่รัฐธรรมนูญของประชาชน โดยมีตัวแทนจากพรรคการเมืองต่างๆ ทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ภาควิชาการ และภาคประชาชนเข้าร่วม อาทิ คุณหญิงสุดารัตน์ และนายโภคิน พลกุล จากกลุ่มสร้างไทย,  นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล, นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รองหัวหน้าพรรค ปชป., นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตแกนนำพรรคไทยรักษาชาติ, นายโคทม อารียา, นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และนายอนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานคณะกรรมการบริหารภาคีเพื่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ร่วมประชุม
    นายอนุสรณ์แถลงภายหลังว่า ภาคียังยืนยันในการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้มั่นคง เข้มแข็ง ก้าวหน้า แต่จากสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ ยังมีการวางกับดักให้มีการสืบทอดอำนาจอย่างต่อเนื่อง เราจึงสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา
     ส่วนที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นหนังสือให้ ป.ป.ช.ดำเนินการกับ 208 สมาชิกรัฐสภาที่ลงมติเห็นชอบวาระ 3 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นการกระทำที่จงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ป.ป.ช. และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีผลผูกพันทุกองค์กร
    “การที่ญัตติโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไป แต่การที่ ส.ส. และ ส.ว. 208 คนไปรับรองมติ ถือเป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่ให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งตาม พ.ร.ป.ว่าด้วย ป.ป.ช. ระบุว่า ป.ป.ช.มีอำนาจสอบสวน และส่งอัยการฟ้องร้องภายใน 108 วัน ให้ศาลสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง และตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี" นายณัฐพรกล่าว
    วันเดียวกัน ยังมีความต่อเนื่องจากร่างพระราชบัญญัติประชามติ โดย พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์มีความห่วงใยในเรื่องของกฎหมายทำประชามติ เพราะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในโอกาสต่อไปด้วย ซึ่งการทำประชามติกฎหมายนี้สำคัญก็ขอให้ช่วยกันทำออกมาให้ดี ซึ่งยังอยู่ในวาระการพิจารณา ส่วนเรื่องของการคว่ำไม่คว่ำวาระ 3 ทุกคนเข้าใจดีอยู่แล้ว ถามว่าห่วงไหม ก็ห่วงนั่นแหละ ซึ่ง ส.ส.ทุกคนก็เป็นห่วงเหมือนกัน
ขณะที่นายวิษณุกล่าวถึงร่างกฎหมายประชามติจะถูกตีตกในวาระ 3 หรือไม่ ว่าอย่าคิดล่วงหน้า เพราะเรื่องอยู่ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมาธิการที่ไปทำงานร่วมกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นอยู่ที่มาตรา 10-13 และบทกำหนดโทษ ที่เรายังไม่เห็นกัน ดังนั้นการโหวตวาระ 3 จึงไม่ควรมีอะไร แต่ก็ยังพูดยาก เพราะยังมีประเด็นใหญ่ในมาตราหลังๆ อีก เช่น จำนวนเสียงประชาชนเท่าไหร่ถึงจะเป็นประชามติ รวมทั้งเสียงโหวตจะใช้เสียงข้างมากหรือเสียงขนาดไหน ซึ่งเป็นมาตราสำคัญที่ยังไปไม่ถึง
    เมื่อถามถึงกรณีนายวันชัย สอนศิริ ส.ว.ระบุว่าถ้ากฎหมายประชามติถูกคว่ำในวาระ 3 รัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบหรือไม่ นายวิษณุตอบว่า ต้องเข้าใจว่าร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นของรัฐบาล เป็นกฎหมายปฏิรูป และกฎหมายสำคัญ ต้องเข้าใจคำว่าผ่าน ไม่ผ่าน ไม่ได้มีเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่เป็นประเพณีการปกครองของในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ ถ้ารัฐบาลเสนอกฎหมายแล้วไม่ผ่านวาระ 1 ตรงนั้นจะมีผลกระทบ เช่น ลาออกหรือยุบสภา เพราะแสดงว่าสภาไม่ไว้วางใจ แต่เมื่อกฎหมายประชามติผ่านวาระ 1 สภารับร่างไปแล้ว ต่อมามีการแก้ไข การแก้จึงเป็นเรื่องของ กมธ.ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล ผลจะออกมาไม่เหมือนกันกับคำว่าไม่ผ่าน
เตรียมชงร่างแก้ประชามติ
    นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ พ.ศ.... และร่าง พ.ร.ฎ.ปิดสมัยประชุมสภาสมัยวิสามัญ พ.ศ.... โดยคาดว่าจะเป็นวันที่ 7-8 เม.ย.นี้ ซึ่งเรื่องนี้นายกฯ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการทำประชามติเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยได้กำชับให้หัวหน้าพรรคแต่ละพรรคให้ความสำคัญกับกฎหมายต่างๆ เหล่านี้ ทั้งกฎหมายประชามติและกฎหมายรัฐธรรมนูญด้วย
    รายงานข่าวจากที่ประชุม ครม.แจ้งว่า ประเด็นประชุม ครม.ที่มีการหารือกันอย่างเข้มข้นคือการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติในที่ประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ เมื่อวันที่ 17-18 มี.ค.ที่ปรากฏว่า กมธ.เสียงข้างมากแพ้ กมธ.เสียงข้างน้อยในการลงมติมาตรา 9 โดยนายวิษณุได้รายงานที่ประชุม ครม.ถึงเรื่องดังกล่าว พร้อมขอความร่วมมือให้พรรคการเมืองต่างๆ ให้ช่วยให้ความสำคัญ ขอให้ช่วยกัน เพราะกฎหมายประชามติเป็นกฎหมายสำคัญต้องผ่านให้ได้ ถ้าไม่ผ่านก็อยู่ไม่ได้ การคว่ำร่างกฎหมายประชามติไม่ควรทำแบบนั้น เพราะเป็นกฎหมายสำคัญของรัฐบาล อย่างไรต้องขับเคลื่อนให้ได้ ส่วนในมาตรา 9 ที่เสียงข้างมากแพ้ไป 6 เสียง อาจเป็นปัญหาได้ โดยนายวิษณุยังระบุแนวทางด้วยว่า หลังร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติประกาศใช้ รัฐบาลต้องเสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติทันทีภายใน 7-8 วัน
    ด้านนายสมชาย แสวงการ ส.ว. กล่าวถึงการแก้ไขเนื้อหามาตรา 9 ร่าง พ.ร.บ.ประชามติตาม กมธ.เสียงข้างน้อยว่า อาจขัดกับมาตรา 166 ของรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจเหนือฝ่ายบริหาร โดยกำลังรอดูว่าผลการแก้ไขเนื้อหามาตรา 9 ของ กมธ.จะไปกระทบกับเนื้อหามาตราอื่นๆ เช่น มาตรา 10-11 และมาตราอื่นๆ หรือไม่ ถ้าแก้แล้วมีเนื้อหาไปขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จำเป็นต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ ซึ่งดูแนวโน้มแล้วคิดว่าอาจขัดรัฐธรรมนูญ
    นายวันชัย สอนศิริ ส.ว. ในฐานะโฆษก กมธ.พิจารณาร่างพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ว่าจะมีสมาชิกรัฐสภายื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความบทบัญญัติที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามาในมาตรา 9
    นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว. กล่าวว่า การแก้ไขมาตรา 9 ร่าง พ.ร.บ.ประชามตินั้น สมาชิกรัฐสภาบางส่วนและรัฐบาลเห็นว่ามีความขัดหลักการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจและขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 166 ซึ่งจะทำให้ พ.ร.บ.ประชามติผ่านวาระ 3 ยาก อาจเกิดกรณีถามหาความรับผิดชอบด้วยการยุบสภา ซึ่ง ส.ส.ไม่ต้องการ ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องมีทางออกหลายวิธี เช่น เสนอร่างกฎหมายเพื่อแก้ไข มาตรา 9 เป็นต้น
      ส่วนนายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรค พท. ซึ่งเป็น กมธ.เสียงข้างน้อยและแปรญัตติให้แก้ไขมาตรา 9 และที่ประชุมลงคะแนนเห็นชอบด้วยระบุว่า มั่นใจว่าสิ่งที่เสนอนั้นไม่เกินกรอบหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่วนที่มีการระบุว่าหากร่าง พ.ร.บ.ประชามติไม่ผ่านวาระ 3 รัฐบาลต้องรับผิดชอบด้วยการยุบสภาหรือลาออกนั้น ร่าง พ.ร.บ.ประชามติเป็นร่างกฎหมายที่รัฐบาลเสนอให้รัฐสภาพิจารณา ที่ผ่านมาหากกฎหมายของรัฐบาลไม่ผ่านสภาต้องพิจารณา แต่กรณีนี้รัฐสภาเป็นผู้พิจารณา ต้องคิดเอาเอง แต่สิ่งที่เสนอไม่ได้มีเป้าหมายให้เป็นเช่นนั้น เพราะคิดถึงการแก้ปัญหาของประเทศ รัฐสภา และรัฐธรรมนูญ ไม่คิดว่าให้ยุบสภาหรือรัฐบาลลาออก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"