สถานการณ์โควิด-19 ที่สร้างปัญหามาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานนั้น ส่งผลให้เกิดความวุ่นวายและความเสียหายอย่างมาก โดยเฉพาะการหมุนเวียนของเศรษฐกิจไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่เป็นผู้นำในด้านต่างๆ ยังต้องพ่ายแพ้ให้กับสถานการณ์ดังกล่าวและยอมรับในสิ่งที่จะเกิดขึ้น โดนพยายามเยียวยาประเทศของตัวเองไป
จนล่าสุดเมื่อมนุษย์ผ่านเหตุการณ์และความสูญเสียต่างๆ มากมาย ได้รับบทเรียนและมีการเรียนรู้มากขึ้น จึงทำให้เข้าใจแล้วว่าสิ่งที่ต้องทำหรือแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือเรื่องใด นอกเหนือจากการเยียวยาผลกระทบคือการควบคุมปริมาณการติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงหาทางรักษาและยับยั้งการแพร่กระจาย โดยเครื่องมือที่ง่ายที่สุดคือการพัฒนายารักษาหรือวัคซีนป้องกัน เป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการก่อน
และจากความมุ่งมั่นโดยทุกกลุ่มทำงานกันอย่างเต็มที่ จึงทำให้โลกเกิดวัคซีนป้องกันโควิดขึ้นมาจากหลายแหล่งที่ผลิต และในช่วงเดือนที่ผ่านมานี้ได้เริ่มทยอยฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มผู้นำและกลุ่มอื่นๆ ได้แล้วในหลายพื้นที่ หนึ่งในนั้นคือวัคซีนของแอสตราเซนเนกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวที่ประเทศไทยมีโควตานำเข้ามาใช้ในประเทศได้ และจากข้อมูลต่างๆ ทำให้วัคซีนของแอสตราเซนเนกามีความเชื่อมั่นว่าจะมีประสิทธิผลในการป้องกันโรคโควิด-19 ได้อย่างดีเยี่ยม
โดยได้ผ่านเกณฑ์การประเมินประสิทธิผลทางคลินิก ระยะที่ 3 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างการวิจัยพบว่า วัคซีนมีประสิทธิผล 79% ในการป้องกันอาการป่วยจากโรคโควิด-19 และมีผล 100% ในการป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรง และการป่วยในระดับที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รวมถึงยังอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป พบว่าวัคซีนมีประสิทธิผล 80%
ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างการวิจัยถึงความปลอดภัยและประสิทธิผลของวัคซีนในอาสาสมัคร 32,449 ราย ซึ่งพบผู้ติดเชื้อแบบแสดงอาการของโควิด-19 จำนวน 141 ราย โดยเป็นการทดสอบแบบสุ่มในอัตราส่วน 2:1 ระหว่างการให้วัคซีนกับยาหลอก โดยประสิทธิผลของวัคซีนมีความเสถียรในทุกกลุ่มเชื้อชาติและอายุ โดยอาสาสมัครทนต่อผลข้างเคียงของวัคซีนได้ดี และคณะกรรมการอิสระเกี่ยวกับการกำกับตรวจสอบข้อมูลและความปลอดภัยของการวิจัย (DSMB) ระบุว่าไม่มีความกังวลในด้านความปลอดภัยของวัคซีน
โดยคณะกรรมการ DSMB ได้เจาะจงตรวจสอบวิเคราะห์เกี่ยวกับภาวะอุดตันของหลอดเลือดดำที่รับเลือดจากสมอง โดยได้รับความร่วมมือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาอิสระ คณะกรรมการ DSMB ไม่พบว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดหรืออาการของการมีภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหมู่อาสาสมัคร 21,583 รายที่ได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดส โดยตรวจสอบไม่พบการเกิดภาวะอุดตันของหลอดเลือดดำที่รับเลือดจากสมองในการทดลองนี้
โดย แอนน์ ฟอลซีย์ ศาสตราจารย์แพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์โรเชสเตอร์ สหรัฐอเมริกา ผู้วิจัยหลักร่วมของการทดลองนี้ กล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้ยืนยันผลการทดลองวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตราเซนเนกา ก่อนหน้านี้ในหมู่ประชากรวัยผู้ใหญ่ แต่สิ่งที่น่าตื่นเต้นคือการได้เห็นประสิทธิผลแบบเดียวกันเกิดขึ้นในกลุ่มผู้ใช้วัคซีนที่มีอายุเกิน 65 ปีเป็นครั้งแรก การวิเคราะห์ในครั้งนี้เป็นการยืนยันว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตราเซนเนกาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เชื่อมั่นได้ว่าจะสามารถปกป้องผู้ใหญ่ทุกกลุ่มอายุจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
นอกจากนี้ ได้รับการยืนยันมาว่า แอสตราเซนเนกาจะดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป พร้อมทั้งเตรียมนำเสนอผลการวิเคราะห์ชั้นต้นต่อองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาเพื่อขออนุญาตใช้วัคซีนในภาวะฉุกเฉินในช่วงสัปดาห์ต่อไป พร้อมกันนั้นจะนำส่งผลการวิเคราะห์ชั้นต้นให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาเดียวกันร่วมประเมินเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ
อย่างไรก็ตาม วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตราเซนเนกาสามารถจัดเก็บและขนส่งได้ที่อุณหภูมิแช่เย็นทั่วไป (2-8 องศาเซลเซียส หรือ 36-46 องศาฟาห์เรนไฮต์) เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และสามารถฉีดให้กับผู้ป่วยได้ด้วยเครื่องมือที่มีใช้อยู่เดิมในระบบสาธารณสุข
ซึ่งจากข้อมูลทั้งหมดนี้จะสร้างความหวังให้กับทุกๆ คน ในวันที่วัคซีนใช้ได้ผล ทุกคนได้รับการฉีดและสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโควิดขึ้นมาได้ ประเทศหรือทั้งโลกก็จะกลับมามีสถานการณ์ที่ปกติได้เหมือนเดิม.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |