22 มี.ค.64 - ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดไต่สวนคำร้องคดีดำหมายเลขที่ อ.287/2564 ครั้งที่ 2 กรณีนายอานนท์ นำภา แกนนำกลุ่มราษฎร เขียนจดหมายคำร้องเล่าเหตุการณ์เกรงจะได้รับอันตรายถูกทำร้ายในเรือนจำ โดยวันนี้ช่วงเช้า ศาลได้เบิกตัวนายอานนท์ , นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ และนายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ มาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาเป็นพยานเบิกความ ซึ่งในวันนี้ศาลอนุญาตให้ตัวแทนสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังการพิจารณาคดี
หลังจากนั้น นพ.วีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ในฐานะผู้ควบคุมดูแลเหตุการณ์ตามหนังสือคำสั่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ขึ้นเบิกความต่อศาลสรุปได้ว่า ได้รับแจ้งด้วยวาจาว่าจะมีผู้ต้องขังจากเรือนจำพิเศษธนบุรีมาคุมขังไว้ยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตนในฐานะผู้ควบคุมดูแล จึงได้แจ้งกำชับว่าเรือนจำพิเศษธนบุรีอยู่ใกล้กับตลาดบางแค ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยง เพราะเรือนจำพิเศษธนบุรีมีพื้นที่อยู่ใกล้เคียงกับตลาดบางแค และมีการรับตัวผู้ต้องขังใหม่ในพื้นที่ตลาดบางแคเข้ามาทุกวัน ผู้ต้องขังที่ย้ายมาจากเรือนจำดังกล่าวจึงเข้าข่ายที่จะอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ที่จะต้องแยกกักขังตรวจโรคในสถานพยาบาลชั้น 2 โดยกลุ่มเสี่ยงจะแบ่งแยกออกเป็นสองประเภท คือ 1.กลุ่มที่มีไข้ 2.กลุ่มที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงและใกล้เคียง
นพ.วีระกิตติ์ กล่าวว่า ตนได้สั่งการไปยังผู้อำนวยการส่วนสวัสดิการฯ โดยกำชับว่าอย่าลืมจัดพื้นที่ตามนโยบายกักกันโควิด จากนั้นจึงได้รับทราบจากผู้อำนวยการส่วนฯ อีกท่านหนึ่งว่า การเจรจาที่จะให้ผู้ต้องขังที่ย้ายมาใหม่ทั้ง 3 ย้ายไปกับตรวจโรคในสถานพยาบาลนั้นได้รับการปฏิเสธ โดยผู้ต้องขังยืนกรานไม่ย้าย ทางผู้อำนวยการส่วนผู้ต้องขังยังได้แสดงความห่วงใยเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ หากมีการใช้เจ้าหน้าที่ควบคุมอาจจะเป็นเรื่องที่อ่อนไหวและเป็นประเด็นที่เจ้าหน้าที่อาจจะถูกร้องเรียน จึงได้มีการใช้วิธีทางการแพทย์ เพื่อเป็นไปตามแนวทางป้องกันโควิด โดยจัดชุดทีมแพทย์ตรวจสารคัดหลั่งไปยังที่คุมขังตอนช่วงเวลาใกล้ 22.00 น. ซึ่งเป็นการปฎิบัติงานตามปกติในการตรวจโควิด ก่อนหน้านี้เคยมีการดำเนินการตรวจโควิดในเรือนจำลักษณะนี้มาแล้ว อย่างเช่นในครั้งที่มีการตรวจผู้ต้องขังจำนวน 27 ราย ซึ่ง 1 ใน 27 รายนั้น มีผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย 1 ราย ในการตรวจโควิดดังกล่าว มีการตรวจถึงเวลา 01.30 น.
แต่ในการตรวจครั้งนี้ มีผู้ยอมรับการตรวจโควิด 9 ราย กับได้รับการปฏิเสธไม่รับการตรวจจากผู้ต้องขัง 7 ราย เมื่อเจรจาไม่สำเร็จ ชุดทีมแพทย์จึงออกจากพื้นที่เวลาประมาณ 24.00 น. เศษ และมีความจำเป็นที่จะต้องย้ายผู้ต้องขังเก้าคนที่ยอมตรวจออกไปกับตัวยังห้องควบคุมอื่น จึงมีการเรียกกำลังมาเพื่อรักษาความปลอดภัยและความเรียบร้อย โดยมีการเรียกเจ้าหน้าที่เข้ามาในพื้นที่ตามบันทึกรายงานที่แจ้งมายังตนจำนวน 12 คน แต่งชุดเครื่องแบบสีกากีและชุดปฏิบัติการพิเศษ ซึ่งเป็นเสื้อแขนยาวสีดำในเครื่องแบบ ตามระเบียบไม่ได้กำหนดให้ใส่ชื่อที่อก โดยเหตุผลที่ไม่ติดชื่อเป็นไปตามทัณฑวิทยา ยกเว้นหัวหน้าชุดที่ต้องติดป้ายชื่อ การย้ายผู้ต้องขังทั้ง 9 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่มีผู้ต้องขัง 7 คนที่ยืนกรานว่าจะอยู่ด้วยกัน เพื่อความสงบเรียบร้อย จึงให้มีการยุติการปฎิบัติหน้าที่และมีการกำชับห้ามไม่ให้ใช้กำลังจนเสร็จสิ้นภารกิจ เวลาประมาณ 02.00 น. เศษ จึงมีการถอนกำลังออกไป
นพ.วีระกิตติ์ เบิกความยืนยันว่า การตรวจโควิดดังกล่าวทำโดยเปิดเผยที่หน้าห้องกักโรค มีลูกกรงผู้ต้องขังคนอื่นสามารถเห็นการทำงานได้ มิได้เป็นการพาไปตรวจยังสถานที่อื่น ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีผู้ต้องขังปฏิเสธการตรวจโควิด โดยการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ทางเจ้าหน้าที่ได้มีการถ่ายวิดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐานว่าไม่มีการใช้ความรุนแรง ซึ่งยืนยันว่าการตรวจโควิดในช่วงเวลากลางคืนเป็นเรื่องที่ทำได้และทำอยู่เสมอ โดยเฉพาะผู้ต้องขังที่มาจากพื้นที่ความเสี่ยงสูง เพราะเท่าที่ผ่านมาพบว่าผู้ต้องขังส่วนมากไม่แสดงอาการ 90% การคัดกรองโรคก่อนเข้าเรือนจำจึงมีความจำเป็นมาก จนปัจจุบันในพื้นที่เรือนจำยังไม่มีการแพร่เชื้อระบาดกันเองแม้แต่รายเดียว เพราะเรามีมาตรการคัดกรองโรคดังกล่าว
โดยภายหลังรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ได้เบิกความเสร็จสิ้น ศาลได้เปิดคลิปวิดีโอซึ่งถูกส่งมาเป็นวัตถุพยานต่อหน้านายอานนท์และผู้ได้รับอนุญาตเข้ารับฟังการพิจารณาคดี ซึ่งในคลิปวิดีโอมีการถ่ายทอดภาพและเสียงในห้องควบคุมในเรือนจำซึ่งเห็นกลุ่มจำเลยดังกล่าว
ภายหลังเสร็จสิ้นการไต่สวน ศาลนัดฟังคำสั่งต่อไปในวันที่ 29 มี.ค. 2564
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |