'อัษฎางค์'ถาม'ปิยบุตร'ทำไมต้องรณรงค์ให้ยกเลิก สว.ในวันสถาปนาราชวงศ์จักรี


เพิ่มเพื่อน    


22 มี.ค.64-นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทำไมป๊อกและพวกต้องรณรงค์ให้ยกเลิก สว.ในวันสถาปนาราชวงศ์จักรี ?

ปิยบุตรและคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกล มักเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยการอ้างประชาธิปไตย ที่มีการพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์เสมอ

การรณรงค์ให้ยกเลิก สว. จะทำวันไหนก็ได้ แต่ปิยบุตรและคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกล เจาะจงเลือกวันที่ 6 เมษายน ซึ่งเป็นวันก่อตั้งราชวงศ์จักรี เพราะ...

ปิยบุตรและคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกล มักพูดอะไรเพียงครึ่งเดียวเสมอ

ความจริงครึ่งเดียวที่ปิยบุตรและคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกลพูดคือ ล้ม สว. 

ส่วนความจริงอีกครึ่งที่ไม่พูดออกมาคือ ล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ ใช่หรือไม่

อะไรคือสิ่งที่บ่งบอกว่า เขาและพวกมีความจริงอีกครึ่ง ที่ไม่ยอมพูด

ความจริงอีกครึ่งที่เหลือคือการใช้วันก่อตั้งราชวงศ์จักรีเป็นสัญลักษณ์

ให้การล้ม สว. เป็นเป้าหมายหลอก

โดยมีความจริงอีกครึ่งที่ไม่ยอมพูด คือเพื่อล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ ใช่หรือไม่ พูดออกมาตรงๆ 
ถ้าไม่ใช่ ทำไมต้อง 6 เมษา

............................................................................
วุฒิสภามีความสำคัญและจำเป็นต่อระบบการปกครองประชาธิปไตยอย่างไร ?

วุฒิสภาไทย

ประเทศไทยเราได้ใช้ระบบรัฐสภามาแล้วทั้งสองระบบ คือ ระบบรัฐสภาเดียว และระบบรัฐสภาสองสภา

• รัฐสภาแบบสภาเดียว คือมีสมาชิกปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติเพียงสภาเดียว อันได้แก่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

• รัฐสภาแบบสองสภา ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่มาจากการเลือกตั้ง และสมาชิกวุฒิสภา ที่มาจากการแต่งตั้ง

ในที่นี่จะขอกล่าวถึงเฉพาะวุฒิสภา

วุฒิสภาไทยหรือเดิมมีชื่อว่า "พฤฒสภา" เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2489 สมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด หรือผสมระหว่างแต่งตั้งกับเลือกตั้ง มีเพียงวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 และ พ.ศ. 2540 เท่านั้นที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด

วุฒิสภา เป็นสภาสูงในรัฐสภาไทยคู่กับสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นสภาล่าง ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 วุฒิสภามีวาระคราวละ 5 ปี

............................................................................
รัฐสภาไทยพัฒนามาจากเคาน์ซิลออฟสเตต (Council of State) หรือ สภาที่ปรึกษา ราชการแผ่นดิน และองคมนตรีสภา (Privy Council) ซึ่งเป็นสภาที่ปรึกษาในพระองค์ที่มีมาตั้งแต่ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภายหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ. 2475 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2475 ก็ได้กําหนดให้รัฐสภาเป็นระบบสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก สองประเภท 

โดยแต่ละประเภทมีจํานวนเท่ากัน 

• สมาชิกประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้ง 

• สมาชิกประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้ง 

จะสังเกตได้ว่า ถึงจะเรียกว่ามีสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว แต่ความจริงก็มีวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งรวมอยู่ด้วย เพียงแต่ยังไม่เรียกว่า วุฒิสภาเท่านั้น

และสาเหตุที่ต้องมีสมาชิกสภาที่มาจากการแต่งตั้งและมาจากการเลือกตั้งนั้น นายปรีดีพนมยงค์ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ได้แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร ความ ตอนหนึ่ง ว่า

“…ที่เราจําต้องมีสมาชิกประเภทที่ 2 ไว้กึ่งหนึ่งก็เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้แทนราษฎร ใน ฐานะที่เพิ่งเริ่มมีการปกครองแบบรัฐธรรมนูญ เราย่อมทราบอยู่แล้วว่า ยังมีราษฎรอีกเป็นจํานวน มากที่ยังไม่ได้รับการศึกษาเพียงพอ ที่จะจัดการปกครองป้องกันผลประโยชน์ของตนเองได้ บริบูรณ์

ถ้าขืนปล่อยมือให้ราษฎรเลือกผู้แทนโดยลําพังเอง ในเวลานี้แล้ว ผลร้ายก็จะตกอยู่แก่ ราษฎร เพราะผู้ที่จะสมัครไปเป็นผู้แทนราษฎร อาจเป็นผู้ที่มีกําลัง ในทางทรัพย์

ฉะนั้น จึงวางเงื่อนไขไว้ขอให้เข้าใจว่าสมาชิกประเภทที่ 2 เป็นเสมือนพี่เลี้ยงที่จะช่วยประคองการงานให้ดําเนินไปสมตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ และ เป็นผู้ป้องกันผลประโยชน์อันแท้จริง...”

จากวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ดังกล่าวนี้เอง จึงถือได้ว่า “วุฒิสภา” หรือสภาที่ทําหน้าที่กลั่นกรองงานของสภาผู้แทนราษฎร

ต่อมาในปีพ.ศ. 2489 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์บ้านเมือง 

โดยรัฐสภาได้เปลี่ยนเป็น “ระบบสภาคู่” หรือ “ระบบสองสภา” คือ สภาผู้แทนราษฎร และพฤฒสภา(วุฒิสภา) ซึ่งพฤฒสภามีขึ้นเพื่อทําหน้าที่เป็นสภายับยั้ง หรือสภากลั่นกรองงาน คอยเหนี่ยวรั้งมิให้สภาผู้แทนทํางานด้านนิติบัญญัติเร็วเกินไป จนขาดความรอบคอบ

............................................................................
คนไทยหรือคณะราษฎร์ไม่ได้เป็นผู้คิดค้นระบบการปกครองแบบรัฐสภา แต่ไทยเราเลียนแบบรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  มาจากประเทศอังกฤษ หรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ”สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ” ซึ่งเป็นต้นแบบของประเทศประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทั่วโลก 

รัฐสภาสหราชอาณาจักรอังกฤษเป็นระบบสองสภา ประกอบไปด้วย “สภาสูง” หรือ สภาขุนนาง (House of Lords) และ “สภาล่าง” หรือ สภาสามัญชน (House of Commons) 

***โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประกอบที่สามของรัฐสภา

1) สภาขุนนาง 

ประกอบด้วยสมาชิกสองประเภทคือ

• ขุนนางศาสนา (Lords Spiritual) ประกอบด้วยบิชอปอาวุโสของคริสตจักรอังกฤษ 

• ขุนนางอื่น ๆ (Lords Temporal) สมาชิกสภาขุนนางเป็นสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งโดยรัฐบาลเดิมและรัฐบาลปัจจุบัน

2) สภาสามัญชน สภาสามัญชนประกอบด้วยสมาชิกผู้ได้รับเลือกจากประชาชนอย่างน้อยทุก 5 ปึ

รัฐสภาอังกฤษวิวัฒนาการมาจากสภาของต้นสมัยกลางซึ่งมีหน้าที่ให้คำปรึกษาต่อพระมหากษัตริย์อังกฤษ 

ระบบรัฐสภาของอังกฤษได้รับการขนานนามว่าเป็น “แม่แห่งรัฐสภา” คือเป็นระบบประชาธิปไตยที่เป็นรากฐานของมาตรฐานในการก่อตั้งระบบรัฐสภาทั่วโลก

นอกจากนั้นรัฐสภาสหราชอาณาจักรอังกฤษในปัจจุบันยังเป็นระบบรัฐสภาของประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ (Anglophone) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ตามทฤษฏีแล้วอำนาจนิติบัญญัติเป็นอำนาจภายใต้ “รัฐสภากษัตริย์” (Queen-in-Parliament หรือ King-in-Parliament) 

แต่ในสมัยปัจจุบันอำนาจที่แท้จริงอยู่กับสภาสามัญชน พระมหากษัตริย์โดยทั่วไปมีหน้าที่ให้คำแนะนำต่อนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ส่วนอำนาจของสภาของสภาขุนนางเป็นอำนาจที่มีเพียงจำกัด

............................................................................
สรุป
สาเหตุที่ต้องมีวุฒิสภา เพราะสมาชิกวุฒิสภาประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาวิชาชีพต่างๆ

ในขณะที่สมาชิกจากสภาผู้แทนราษฎร อาจเข้าสภามาได้ด้วยความเป็นผู้มีอิทธิพลในทางการเมืองหรือในท้องที่ รวมถึงการได้มาด้วยกลโกงการเลือกตั้งและการคอรัปชั่น

ดังนั้นการที่เรามีวุฒิสภา ซึ่งเป็นสภาของผู้ทรงคุณวุฒิ จะสามารถช่วยสภากลั่นกรองงาน และคอยเหนี่ยวรั้งให้สภาผู้แทนราษฏรทำงานอย่างรอบคอบขึ้น

แต่สิ่งที่ปิยบุตรและคณะก้าวหน้า พรรคก้าวไกล พยายามจะล้มวุฒิสภา นั้นมีสาเหตุเดียว คือวุฒิสภาขวางทางเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของตนและพวก ที่มีเป้าหมายชัดเจนว่า ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปจากรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
............................................................................
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"