22 มี.ค. 64 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "โควิดวัคซีน กับการกลายพันธุ์ของไวรัส
ที่ผ่านมาโควิดไวรัสได้มีการกลายพันธุ์มาโดยตลอด จากที่เราทราบดีว่าจุดกำเนิดอยู่ที่ประเทศจีน สายพันธุ์ตั้งต้นตั้งแต่เราเรียกว่าสายพันธุ์ S สายพันธุ์ L แล้วไปเจริญเติบโตเป็นสายพันธุ์ G ในยุโรป ได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงความรุนแรง หรือมีผลในระบบภูมิต้านทาน
สายพันธุ์ G จึงพบเกือบทั่วโลกในปัจจุบัน และแตกแยกย่อยเป็นสายพันธุ์ต่างๆ เป็น GH GR และ GRY เรียกว่าการระบาดในครึ่ง ปีหลังทั่วโลกเป็นสายพันธุ์ G เป็นส่วนใหญ่แล้ว เพราะแพร่กระจายได้ง่าย
ต่อมาสายพันธุ์ GR ได้มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม ที่เราเรียกสายพันธุ์อังกฤษ หรือ B.1.1.7 หรือถ้าเรียกตามกรดอะมิโน ก็จะเป็นสายพันธุ์ GRY (G = glycine, R = arginine, Y = tyrosine)
สายพันธุ์อังกฤษแพร่กระจายได้เร็ว เพราะเหมาะกับการจับที่ตัวจับบนเซลล์ ACE2 ขณะนี้แพร่กระจายอย่างมากในยุโรปและเข้าสู่อเมริกา
ส่วนอีก 2 สายพันธุ์ที่เราพูดถึงกันบ่อยคือสายพันธุ์แอฟริกาใต้และสายพันธุ์บราซิล ทั้ง 2 สายพันธุ์นี้มีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งสำคัญของกรดอะมิโน ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทาน ถึงแม้ว่าจะไม่ทำให้โรครุนแรงขึ้น แต่การแพร่กระจายก็สามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เช่นกันกับสายพันธุ์อังกฤษ
เพราะมีการเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโน ในจุดสำคัญเช่นเดียวกับสายพันธุ์อังกฤษ จึงเป็นที่ต้องระวัง เพราะจากการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนที่ผ่านมา มีประสิทธิภาพลดลง
การกลายพันธุ์ที่จะต้องคํานึงถึง คือ ทำให้ไวรัสหรือโรคแพร่กระจายได้ง่ายขึ้น ลดประสิทธิภาพของวัคซีน เพิ่มหรือ ลดความรุนแรงของโรค ในแต่ละการกลายพันธุ์จึงจำเป็นต้องมีข้อมูลทางคลินิกและระบาดวิทยาเข้ามาทำการศึกษาร่วมด้วย โดยมีหลักการทางทฤษฎีสนับสนุน
ประเทศไทยการระบาดในครั้งแรกเป็นสายพันธุ์ S แต่การระบาดในครั้งนี้ที่เรียกว่าระบาดรอบใหม่ เป็นสายพันธุ์ GH และถ้าระบาดไปนานๆ เข้า เราเองก็จะต้องจับตามองว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางทิศทางใด
ในขณะเดียวกันสายพันธุ์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน อย่างเช่นสายพันธุ์แอฟริกาใต้ รวมทั้งสายพันธุ์ที่กำลังตรวจสอบอย่างเช่นสายพันธุ์ไนจีเรีย ก็มีจุดสำคัญในตำแหน่งที่จะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง จะต้องป้องกันไม่ให้มาระบาดในประเทศไทย
การให้วัคซีนเร็วที่สุดจะช่วยลดการระบาด และการกลายพันธุ์ได้
ขณะนี้งานวิทยาศาสตร์สามารถถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสได้อย่างรวดเร็ว และมีการทำกันมากทั่วโลกเป็นประวัติการ ของการศึกษาไวรัส เมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา
ไม่เคยมีไวรัสตัวไหนที่มีการถอดรหัสพันธุกรรมมากมายเท่ากับไวรัส covid-19 ที่ทำกันมากทุกวันนี้ มนุษย์เองก็ต้องการที่จะเอาชนะไวรัสให้ได้
ไวรัสเองก็พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง และในที่สุด จะต้องอยู่ร่วมกัน โดยทำร้ายกันให้น้อยที่สุด.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |