ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชุน ช่วยสร้างรายได้ และเพิ่มการแข่งขันให้กับสินค้าชุมชน ทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจปรับสู่การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และเปลี่ยนจากขับเคลื่อนประเทศด้วยอุตสาหกรรมไปสู่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 รวมถึงเปลี่ยนจากภาคการผลิตสินค้าไปสู่ภาคบริการมากขึ้น เปลี่ยนสู่สมาร์ท เอสเอ็มอี ซึ่งต้องการส่งเสริมให้ร้านค้า วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ดิจิทัลชุมชน ใช้ประโยชน์จากโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
โดยกระจายตัวไปในทุกจังหวัดของประเทศ ทำการคัดเลือกจากศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนที่มีผลการดำเนินงานระดับ A และ B มีบริบทที่เหมาะสมกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของชุมชน เช่น มีผู้ประกอบการชุมชน วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ หรือมีคนรุ่นใหม่ที่อยากเป็นผู้ประกอบการใหม่ ประชาชนมีความต้องการและจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการประกอบอาชีพและดำรงชีวิตประจำวัน และหลังจากเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ช่วยสร้างโอกาสให้กับประชาชนในการสร้างรายได้ในทุกพื้นที่ เพราะสามารถใช้ดิจิทัลมาประยุกต์ใช้งานเพื่อการค้าขายสินค้าและบริการ ส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าชุมชน และยังช่วยเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมภายหลัง COVID-19 ด้วย
ปัจจุบันศูนย์ดิจิทัลชุมชมดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สดช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลฯ ได้มีการดำเนินการไปแล้ว 250 ศูนย์ และตั้งเป้าในปี 2564 จะเพิ่มอีก 250 ศูนย์ เพื่อพัฒนาเพิ่มเพื่อให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
ดูเหมือนว่าทุกอย่างกำลังเดินหน้าไปได้สวย แต่แล้ว เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากหลังจากที่การประชุมคณะกรรมาธิการสื่อสารโทรคมนาและดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 ที่รัฐสภา น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้มีการขอให้พิจารณาตรวจสอบการประกวดราคาเช่ากิจกรรมการอุปกรณ์สนับสนุนศูนย์ดิจิทัลชุมชน ในส่วนที่จะเปิดใหม่ 250 แห่ง เนื่องจากมีการร้องเรียนจากบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมประกวดราคาเช่าอุปกรณ์สนับสนุนศูนย์ดิจิทัลชุมชนฯ ว่าได้พบเห็นความไม่ชอบมาพากลของการประกวดราคาเช่าโครงการนี้ ที่ส่อไปในทางเอื้อประโยชน์ให้เอกชนบางรายอีก
ทั้งในเรื่องการกำหนดคุณสมบัติอุปกรณ์คอมพ์ และอุปกรณ์อื่นๆ ในโครงการในเอกสารประกวดราคาเช่า ที่ภาคผนวก ก.และ ข.มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น ในภาค ก.กำหนดข้อความ “พัสดุที่จะเช่านี้ต้องเป็นของแท้ ของใหม่ ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน ไม่เป็นของเก่าเก็บ ต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ทันที และมีคุณลักษณะเฉพาะตรงตามที่กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคาเช่าด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ฉบับนี้...” ซึ่งในทีโออาร์นั้นได้กำหนดไว้ในภาคผนวก ก.อย่างชัดเจน แต่ภาคผนวก ข.กลับไม่มีข้อความที่ว่านี้ปรากฏอยู่ในทุกรายการ
นอกจากนี้ ยังมีในด้านของคุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เช่าฯ โดยใน TOR (P13) รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะข้อ 1.เครื่องคอมพิวเตอร์ All-in-One สำหรับงานประมวลผลทั่วไป จำนวน 2,000 เครื่อง ระบุรายละเอียดสเปก โดยอิงจาก ”เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ประจำปี 2563” ข้อ 10 ของกระทรวงดิจิทัล ซึ่งยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน มีเกณฑ์ราคากลาง 23,000 บาท/เครื่อง/ปี
แต่ในเอกสารแนบภาคผนวก ข. รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ พร้อมสถานที่ติดตั้ง กลับพบว่ารายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะข้อ 1.ระบุว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับงานประมวลผล แบบที่ 2 พร้อมจอภาพแบบ LED ขนาดไม่น้อยกว่า 19 นิ้ว จำนวน 3,000 เครื่อง ระบุรายละเอียดสเปก อิงจากเกณฑ์ราคากลาง และคุณลักษณะพื้นฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ประจำปี 2562 ข้อ 9 ของกระทรวงดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันได้ยกเลิกประกาศไปแล้ว มีเกณฑ์ราคากลางสูงกว่า คือ 30,000 บาท/เครื่อง/ปี
อย่างไรก็ตาม ก็คงหวังว่าหน่วยงานที่กำกับดูแลควรเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง หากไม่เป็นความจริงก็เป็นเรื่องดี ต่ถ้ามีการทุจริตจริงก็ต้องเร่งแก้ไขและเอาผิดกับคนที่ดำเนินการเพื่อให้ประเทศไทยเราหลุดพ้นวังวนทุจริตกันเสียที เพราะล่าสุดประเทศไทยอันเป็นที่รักของเรา ได้คะแนนแค่ 37 จาก 100 มีอันดับการทุจริตอยู่ที่อันดับ 104 จาก 180 ประเทศ แย่กว่าปี 2562 ถึง 3 อันดับ.
บุญช่วย ค้ายาดี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |