4 ปีรัฐประหาร คสช.


เพิ่มเพื่อน    

  ครบรอบ 4 ปี รัฐประหาร คสช. 22 พ.ค.2561 หลายฝ่ายจับตามองการเคลื่อนไหวของ กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ที่เปิดตัว-ปักหลักเคลื่อนไหวต่อต้าน-คัดค้าน คสช.มาตั้งแต่หลังรัฐประหาร คสช.ใหม่ๆ ด้วยเพราะแกนนำกลุ่มโหมโรงมานานหลายสัปดาห์แล้วว่าจะเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ ในโอกาสครบรอบ 4 ปี คสช. ด้วยการเคลื่อนขบวนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินเท้าไปยังทำเนียบรัฐบาล ในเวลา 7 โมงเช้า วันที่ 22 ก.พ. และปักหลักทำกิจกรรมเรียกร้องให้ คสช.ต้องจัดการเลือกตั้งภายในไม่เกิน พ.ย.ปีนี้ ไม่ใช่ ก.พ.2562 
    โดยแม้แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้งจะประสานเสียงว่า จะเคลื่อนไหวอย่างสงบ สันติ และทำภายใต้รัฐธรรมนูญ ที่รับรองสิทธิประชาชนในการแสดงออกและเคลื่อนไหวการเมือง แต่เมื่อการเคลื่อนไหวรอบนี้แตกต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมา ซึ่งทางกลุ่มมักจัดกิจกรรมตามจุดต่างๆ เช่น หน้าหอศิลป์กรุงเทพมหานคร-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์-ถนนราชดำเนิน เพราะรอบนี้เคลื่อนไหวในวันครบรอบ 4 ปี รัฐประหาร คสช. ที่สำคัญ จะมาเคลื่อนไหวหน้า ทำเนียบรัฐบาล ศูนย์กลางอำนาจรัฐ ที่บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ และหัวหน้า คสช. 
    ขณะเดียวกัน ฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งตำรวจ-ทหาร-หน่วยข่าว ก็มีการโหมไฟ สร้างกระแสว่า การชุมนุมดังกล่าวมีการเมืองอยู่เบื้องหลัง มีกลุ่มฮาร์ดคอร์จ้องป่วนหวังสวมรอยสร้างสถานการณ์ให้เกิดความขัดแย้งบานปลาย โดยอ้างการข่าวว่า พบการเคลื่อนไหวของกลุ่มฮาร์ดคอร์ที่เคยสร้างความรุนแรงในการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมาจะมาร่วมผสมโรง ขณะเดียวกัน ทางตำรวจ-ทหาร-รัฐบาล คสช.ก็ประสานเสียง ไม่ต้องการให้กลุ่มคนอยากเลือกตั้งออกมาเคลื่อนไหว เพราะเกรงจะทำให้บ้านเมืองที่กำลังสงบ ต้องมีปัญหาปั่นป่วน จนประชาชนได้รับผลกระทบ เช่น ปัญหาการจราจร หากมีการเคลื่อนขบวนออกจากธรรมศาสตร์มายังทำเนียบรัฐบาล จึงมีการออกลีลาขู่จะใช้ ไม้แข็ง เข้าจัดการกับแกนนำกลุ่มอย่างเด็ดขาด ทั้งต่อหน้าและเอาผิดย้อนหลัง 
    ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ครบรอบ 4 ปี คสช.คราวนี้ เลยร้อนแรงไปตามสถานการณ์ที่ขมึงเกลียว
    แม้ทั้งแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้งและฝ่ายรัฐบาล คสช.ยืนยันไม่ต้องการให้เกิดการเผชิญหน้า แต่หลายคนก็อดเป็นห่วงไม่ได้ แม้หลายคนจะประเมินออกมาในโทนเดียวกันว่า ดูแล้วไม่น่าจะมีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะทางตำรวจ-ทหาร ก็คงไม่ต้องการให้เกิดการเผชิญหน้ากัน ในวันครบรอบ 4 ปี รัฐประหาร คสช. โดยเฉพาะไม่ต้องการให้เกิดบริเวณแถวๆ ทำเนียบรัฐบาล ศูนย์กลางอำนาจรัฐ เพราะหากเกิดภาพการเผชิญหน้ากันดังกล่าวขึ้น ฝ่าย บิ๊กตู่-คสช. จะพลาดท่าทางการเมืองตามมาทันที
     เรื่องนี้ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ย้ำอีกรอบเมื่อ 21 พ.ค. ว่า การชุมนุมเป็นการเรียกร้องอยากให้มีการเลือกตั้งเร็วขึ้น มันเป็นการชุมนุมทางการเมืองขัดคำสั่ง คสช.ที่ไม่สามารถอนุมัติได้ ถ้าจะยังชุมนุมหรือเคลื่อนออกมาจากนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถือว่าทำผิดกฎหมาย
    "ยืนยันการข่าวมีกลุ่มฮาร์ดคอร์เสื้อแดงจ้องจะออกมาก่อความวุ่นวาย"
    สถานการณ์การเคลื่อนไหวเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในวันที่ 22 พ.ค. ของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งและแนวร่วมจะออกมาอย่างไร คงต้องรอดูกัน แต่ทุกฝ่ายก็ได้แต่หวังว่าอย่าให้เกิดการเผชิญหน้าอะไรกัน  
    ในไทม์มิ่ง 4 ปี คสช. พบว่าหลายกลุ่มก้อนการเมืองก็ใช้โอกาสนี้วิพากษ์บิ๊กตู่-คสช. ด้วยลีลาแตกต่างกันไป อย่างฝ่ายตรงข้าม คสช. ก็แน่นอนอยู่แล้วว่า ต้องใช้โอกาสนี้ไล่ถลุง คสช.อย่างหนัก โดยยกเหตุผลต่างๆ มาบอกว่า คสช.สอบตก สอบไม่ผ่าน ล้มเหลวในด้านต่างๆ เช่น แถลงการณ์ นปช.ในวาระครบรอบ 4 ปีการยึดอำนาจรัฐประหารของ คสช. ที่ถ้อยคำพบว่าอาจไม่ดุดันเหมือนแถลงการณ์ของพรรคเพื่อไทย แต่ก็หนักหน่วงในบางลีลา แต่ส่วนใหญ่มุ่งไปที่การยื่นข้อเรียกร้องต่างๆ เช่น ต้องคืนอำนาจให้ประชาชนโดยเร็ว โดยจัดให้มีการเลือกตั้งช้าที่สุดคือในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 - ยกเลิกประกาศ คำสั่ง ที่ห้ามพรรคการเมือง นักการเมือง ทำงานการเมือง เป็นต้น 
    4 ปี คสช. ในวันที่ 22 พ.ค. ที่หลังจาก 22 พ.ค. ก็เข้าสู่ปีที่ 5 เป็นจังหวะก้าว ที่ต้องดูว่า บิ๊กตู่-คสช.จะคอนโทรลอำนาจของ คสช.ต่อไปอย่างไร ให้สามารถอยู่ได้ภายใต้การยอมรับของประชาชนในเรื่องผลงานและหลักธรรมาภิบาล 
    เพราะแม้ 4 ปีที่ผ่านมา บิ๊กตู่จะพยายามทำอยู่ แต่ก็ดูเหมือนไม่ถูกใจใครต่อใคร แม้แต่กองเชียร์ คสช.ที่อยากเห็นผลงาน คสช.มีมากกว่า 4 ปีที่ผ่านมา. 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"