“ดอน” รับไทยจับตาใกล้ชิดเหตุการณ์ในเมียนมาตั้งแต่ 24 ก.พ.แล้ว เผย “บิ๊กตู่” เรียกรองนายกฯ หารือหลังประชุม ครม. 16 มี.ค. “ผบ.ทบ.” ยันไม่ได้ตั้งศูนย์อพยพ แค่ศูนย์แรกรับ-คัดกรอง และพื้นที่รองรับตามหลักมนุษยธรรม กองทัพภาค 3 ชี้เสร็จกว่า 90% วางจุดยิบในพื้นที่ จ.ตาก
เมื่อวันศุกร์ที่ 19 มีนาคม นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศเมียนมา ว่าเจ้าหน้าที่ชายแดนกำลังดูแลอยู่ เราหวังว่าสถานการณ์จะไม่บานปลายจนชาวเมียนมาต้องหลั่งไหลเข้าไทย โดยยอมรับว่าขณะนี้มีเข้ามาบ้าง แต่ไม่อยากให้ถึงกับหลั่งไหลเข้ามา ทั้งนี้ หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 16 มี.ค. นายกรัฐมนตรีได้เรียกรองนายกฯ ทุกคนเพื่อคุยเรื่องนี้ ซึ่งเป็นการประเมินสถานการณ์ทั่วไปของภูมิภาค และมีการพูดถึงสถานการณ์ในเมียนมาด้วย โดยหวังว่าสถานการณ์จะสงบโดยเร็ว หรืออย่างน้อยให้มีช่องทางพูดคุยกัน เพราะตราบใดที่มีโอกาสพูดคุยก็จะทำให้เห็นจุดบรรจบร่วมกันได้ และถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะดีสำหรับประเทศเพื่อนบ้านประชาชนอาเซียน ซึ่งไทยกำลังจับตาดูอย่างจริงจังตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 ก.พ. และมีการประสานกับอาเซียนมาอย่างเนื่อง
ด้าน พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ยืนยันไม่ได้ตั้งศูนย์อพยพรับชาวเมียนมาหนีเหตุรุนแรงภายในประเทศมาตามแนวชายแดน แต่เป็นศูนย์แรกรับ-คัดกรอง และพื้นที่รองรับตามหลักมนุษยธรรม และย้ำว่าควรอยู่ในพื้นที่แนวชายแดน ไม่ควรเข้ามาอยู่ในเมือง
ขณะเดียวกัน ที่กองบัญชาการกองพลทหาราบที่ 4 จ.พิษณุโลก พล.ต.เทอดศักดิ์ งามสนอง เสนาธิการกองทัพน้อยที่ 3 กล่าวว่า ขณะนี้กองทัพภาคที่ 3 เตรียมความพร้อมในการหาสถานที่รองรับผู้หนีภัยจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศเมียนมาด้าน จ.ตาก ตามนโยบาย ผบ.ทบ.เรียบร้อยแล้ว โดยขั้นตอนจะจัดเป็นพื้นที่แรกรับเพื่อคัดแยก แบ่งไปตามสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ และได้ตั้งเต็นท์ภายในสนามกีฬาแล้ว ยืนยันว่ามีความพร้อมมากกว่า 90%
สำหรับการปฏิบัติจะจำแนกเป็นสองกลุ่มคือ 1.กลุ่มที่หลบหนีเข้ามาเพื่อรักษาตัวเองจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะเข้าไปดูแลส่วนนี้ กลุ่มที่ 2 คือผู้ที่ได้รับผลกระทบหลังเหตุการณ์ยึดอำนาจ ซึ่งมีการมองว่าอาจมีนักการเมืองนักศึกษาที่ต่อต้านรัฐบาลหนีเข้ามา ขณะนี้อยู่ในช่วงการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเป็นอย่างไร
“เจ้าหน้าที่ทหารทำงานในการตรวจพื้นที่ 24 ชั่วโมง โดยดำเนินการร่วมกับผู้นำชุมชน ทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แต่ต้องเข้าใจว่าก่อนหน้านี้สภาพความเป็นอยู่ของชนกลุ่มน้อยบริเวณแม่น้ำเมยและสาละวินไม่ใช่ลักษณะการแบ่งเขตประเทศ แต่เป็นการอยู่แบบชุมชน บางคนอยู่ฝั่งเมียนมา แต่ลูกหลานมาเรียนฝั่งไทย มาอาศัยในหมู่บ้าน การแยกแยะก็เป็นหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าเข้าข่ายนี้ก็จะผลักดันกลับประเทศ แต่หากเข้ามาแบบผิดกฎหมายหรือนำพาแรงงานเก่าเข้ามา ต้องถูกจับกุมดำเนินคดี” พล.ต.เทอดศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ กองทัพภาคที่ 3 ได้จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยจากสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมาด้าน จ.ตาก โดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1.การประเมินสถานการณ์ซึ่งได้วิเคราะห์ว่ามีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบให้เกิดการหนีภัย 2.ขั้นตอนการแรกรับเพื่อคัดแยกกลุ่มบุคคลก่อนส่งไปรวบรวมในพื้นที่พักรอและกักกันโรคพื้นที่ โดยมี ผบ.ฉก.ร.4 เป็น ผบ.เหตุการณ์พื้นที่แรกรับ 3.การนำพื้นที่พักคอยและกักกันโรคซึ่งจัดตั้งขึ้นในสภาวะฉุกเฉิน โดยจะจำแนกตามประเภทบุคคลเพื่อนำไปควบคุมและกักกันโรคในสถานที่ที่กำหนด โดยมีนายอำเภอประจำท้องถิ่นนั้นเป็น ผบ.เหตุการณ์พื้นที่พักรอ ซึ่งหากตรวจพบผู้ป่วยให้ส่งตัวไปรักษาทันที และ 4.การปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลังสถานการณ์คลี่คลาย โดยพิจารณาว่าบุคคลนั้นเป็นผู้หนีภัยสงครามหรือต้องการลักลอบเข้ามา
โดยได้จัดประเภทบุคคลเป็น 3 กลุ่ม 1.กลุ่มคนไทยที่ทำงานในเมียนมา 2.บุคคลสัญชาติเมียนมาที่ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลหรือกองกำลังติดอาวุธ และ 3.บุคคลสัญชาติอื่นเจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศกลุ่มเอ็นจีโอบุคคลอื่นๆ ผู้ลี้ภัยทางการเมือง ส่วนพื้นที่รองรับใน จ.ตาก หากมีการอพยพเข้ามาจะเข้าพื้นที่แรกรับทั้งหมด 10 จุด พื้นที่พักรอ 23 แห่ง ใน 5 อำเภอ ประกอบด้วย 1.อ.แม่สอด มีพื้นที่แรกรับ 5 จุด พื้นที่พักคอย 10 จุด สามารถรองรับผู้อพยพได้ 19,200 คน 2.อ.พบพระ มีพื้นที่แรกรับ 1จุด พื้นที่พักรอ 2 จุด รองรับผู้อพยพได้ 2,000 คน 3.อ.แม่ระมาด มีพื้นที่แรกรับ 1 จุด พื้นที่พักคอย 2 จุด รองรับได้ 6,000 คน 4.อ.อุ้มผาง มีพื้นที่แรกรับ 1จุด พื้นที่พักคอย 5 จุด รองรับผู้อพยพได้ 4,200 คน 5.อ.ท่าสองยาง มีพื้นที่แรกรับ 1 จุด มีพื้นที่พักคอย 4 จุด รองรับผู้อพยพได้ 8,000 คน
ส่วนคนไทยจะมีจุดแรกรับ 1.วัดวังตะเคียน ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด 2.วัดท่าข้าม ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด 3.วัดอมรวดี ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด 4.รร.บ้านแม่โกนเกน ต.มหาวัน อ.แม่สอด 5.ที่สาธารณะข้างประปาหมู่บ้านแม่โกนเกน 6.รร.บ้านมอเกอ ต.วาเลย์ อ.พบพระ 7.จุดผ่อนปรนบ้านวังผา ต.แม่ละมาด อ.แม่ระมาด 8. แยกบ้านห้วยแดง อ.อุ้มผาง และ 9.จุดตรวจบ้านตะเปอพู ต.โมโกร อ.อุ้มผาง ส่วนพื้นที่พักรอ 1.มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ต.แม่ปะ อ.แม่สอด 2.สนามกีฬา 5 อำเภอชายแดน อ.แม่สอด 3.วัดห้วยไม้แป้น ต.มหาวัน อ.แม่สอด 4.อบต.วาเล่ย์ อ.พบพระ 5.รร.บ้านห้วยบง ต.แม่จะเรา อ.แม่ระมาด 6.สนามฟุตบอล รร.ท่านผู้หญิงวิไลอมาตยกุล ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง 7.อบต.โมโกร อ.อุ้มผาง 8.รร.ชุมชนบ้านท่าสองยางแห่งใหม่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก และ 9.หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ตก.3 (แม่ตะวอ) อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
ส่วนชาวเมียนมา จุดแรกรับ 1.สนามฟุตบอลบ้านสวนอ้อยและพื้นที่บ้านท่าสองยาง อ.ท่าสองยาง รวมถึงกรณีท่าข้ามอื่นๆ จะพิจารณาตามสถานการณ์ พื้นที่พักคอย 1.ร้อย ตชด. ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด 2.วัดไทยวัฒนาราม ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด 3.โรงงานเย็บผ้าเก่า (บ้านห้วยกะโหลก) 4.รร.แม่ปะวิทยาคม 5.รร.แม่ตาว ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด 6.ที่สาธารณะข้างประปาหมู่บ้านแม่โกนแกน ต.มหาวัน อ.แม่สอด 7.วัดบ้านมอเกอ ต.วาเล่ย์ อ.พบพระ 8.โครงกักเก็บพืชผลทางเกษตรบ้านวังผา ต.แม่จะเรา อ.แม่ระมาด 9.ลานวัวบ้านเปิงเคลิ่ง ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง 10.ลานกว้างบ้านตะเปอพู ต.แม่กลอง อ.อุ้มผาง และ 11.บ้านทีซอแม ต.ท่าสองยาง อ.ท่าสองยาง ส่วนกลุ่มสัญชาติอื่น/ผู้ลี้ภัยทางการเมือง กำนนดไว้ที่ 1.โพธิวิชชาลัย อ.แม่สอด 2.ร้อย ตชด.347 อ.อุ้มผาง และ 3.สำนักสงฆ์บ้านแม่จวาง ต.ท่าสองยาง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |