นับจากที่โลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ก็ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้น เศรษฐกิจทั่วโลกต้องหยุดชะงักอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะเห็นได้ว่าห้างร้านต่างๆ มีการปิดตัวกันไปจำนวนมาก เนื่องจากไม่สามารถทนต่อปัจจัยลบได้ไหว และความไม่แน่นอนที่คาดเดาได้ยากในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มาตรการที่คอยควบคุมและป้องกันโรคได้บังคับให้ธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และเล็กจากทั่วทุกมุมโลก ก้าวเข้าสู่โลกยุคดิจิตอลเพียงชั่วข้ามคืนและยากที่จะหลีกเลี่ยง ซึ่งได้สร้างทั้งโอกาสและความท้าทายมากมายให้กับธุรกิจ บริษัทหลายแห่งต้องเผชิญกับความยากลำบากในช่วงของการแพร่ระบาด แต่ในทางกลับกัน หลายบริษัทประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ จึงเกิดเป็นคำถามชวนคิดว่า เคล็ดลับเบื้องหลังความสำเร็จของพวกเขาคืออะไร?
นายศุภพร ชัยวิสุทธิ์ ผู้จัดการ อินโฟบิป (ประเทศไทย) จำกัด ได้ให้ความเห็นเรื่องดังกล่าวว่า ทุกวิกฤติย่อมมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ โดยโอกาสที่เกิดขึ้นจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มจากสิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือ พฤติกรรมการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการเพิ่มขึ้นของการบริการแบบออนดีมานด์ตั้งแต่การซื้อของ บริการส่งอาหารเดลิเวอรี่ การขนส่ง และอื่นๆ ซึ่งในเวลาเดียวกัน การใช้งานของระบบดิจิตอลที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วนั้น ได้เปิดช่องทางใหม่ๆ ให้แบรนด์สามารถเชื่อมต่อและสื่อสารกับลูกค้าได้โดยตรงตลอด 24 ชั่วโมง
ธุรกิจของคุณจะอยู่รอดและเติบโตได้อย่างไรในช่วงเวลาที่ท้าทายเช่นนี้ วันนี้มีคำตอบมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อนำไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง อย่างแรกเลยคือการลดค่าใช้จ่าย การมีสถานะบนโลกออนไลน์ และก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล ล้วนเป็นหนทางสู่ความสำเร็จ เพราะในยุคที่สังคมออนไลน์ขึ้นมามีอิทธิพลกับคนรุ่นใหม่ การดำเนินธุรกิจแบบมีหน้าร้านกลายเป็นเรื่องล้าหลังไปเสียแล้ว ต่อจากนี้คือยุคของการทำธุรกิจแบบดิจิตอลอย่างสมบูรณ์แบบ โดยองค์กรที่สามารถปรับตัวและก้าวเข้าสู่โลกดิจิตอลได้รวดเร็ว จะได้เปรียบทางธุรกิจเหนือคู่แข่งและสามารถเติบโตได้ในอนาคต การปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำงานยังสามารถช่วยให้องค์กรของคุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย เนื่องจากพนักงานสามารถทำงานที่บ้านได้ ซึ่งทำให้ความจำเป็นของอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานลดลงเช่นเดียวกัน
การกำหนดแนวทางของแบรนด์ถือเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ไม่ใช่เพียงแค่ช่วงของการกักตัวเท่านั้น แต่หลังจากการแพร่ระบาดของโควิดเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว สามารถสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดและความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า สร้างฐานลูกค้า ดูแลความสัมพันธ์ ตลอดจนขยาย และรักษากลุ่มลูกค้าไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเน้นบริการ ไม่เน้นขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการกักตัว การสร้างประสบการณ์เพียงการซื้อสินค้าอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป คุณต้องคว้าโอกาสที่จะส่งมอบบริการและประสบการณ์อันเหนือระดับอย่างครบวงจรให้กับลูกค้าของคุณ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมากที่ควรต้องทำคือ การรับฟังลูกค้าของคุณ เพราะจะเป็นกุญแจสำคัญในการเริ่มต้นแคมเปญการตลาดของคุณ คุณควรเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้า โดยสามารถเริ่มจากการวิเคราะห์พฤติกรรมของพวกเขาผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น ในแอปหรือช่องทางอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและความรู้สึกของพวกเขา เมื่อคุณทำความเข้าใจกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการแล้ว คุณก็จะสามารถใช้แนวทางที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองความต้องการที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของพวกเขาได้โดยตรง
ถึงแม้การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะสร้างผลกระทบให้กับทุกภาคส่วน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอนาคตของธุรกิจจะมืดมน หากมองให้ดียังมีเครื่องมือ วิธีแก้ปัญหาและทางลัดอีกมากมายที่สามารถเข้ามาช่วยลดขั้นตอนความซับซ้อนของระบบการสื่อสารให้แบรนด์สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีแบบรอบด้านให้กับลูกค้าได้ ทั้งในแง่การดูแล บริการ เพื่อรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าไว้ โดยในฐานะแบรนด์ การปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าที่รวดเร็ว ตรงจุด จะช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าแบบเรียลไทม์ ด้วยเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจงกับลูกค้า ผ่านการใช้ช่องทางต่างๆ อย่างเต็มประสิทธิภาพ กุญแจสำคัญคือไม่เพียงแต่ต้องใช้การสื่อสารผ่านหลากหลายช่องทางเท่านั้น แต่ควรแน่ใจว่าช่องทางเหล่านั้น สามารถเชื่อมต่อและสอดคล้องกันได้อย่างไร้รอยต่อ ผ่านระบบสื่อสารแบบออมนิชาแนล เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์และลูกค้าในทุกการสื่อสารนั่นเอง.
รุ่งนภา สารพิน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |