ส.อ.ท.ใจป้ำควักเงินนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ฉีดให้แรงงานกว่า 5 หมื่นคน


เพิ่มเพื่อน    

 

18 มี.ค. 2564 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าส.อ.ท.จะหารือกระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขจังหวัด ในการเป็นผู้แทนภาคอุตสาหกรรมไทยขออนุญาตรัฐบาลให้เอกชนนำเข้าวัคซีนโควิด-19 จากซิโนแวคที่ได้ขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยา(อย.) แล้ว ผ่านองค์การเภสัชกรรม(อภ.) ให้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมมากว่า 51,000 ราย จาก 109 บริษัท ใน 22 จังหวัดทั่วประเทศ ได้รับการฉีดวัคซีนในสถานที่ที่ภาครัฐจัดเตรียมให้ภายในเดือนมิ.ย.นี้

“ภาคเอกชนประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะยืดเยื้อไปจนถึงปลายปี แต่มองว่าการดำเนินการฉีดวัคซีนของภาครัฐล่าช้าเกินไป ผู้ประกอบการกว่า 60% จึงแสดงความพร้อมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขอฉีดวัคซีนซิโนแวคให้กับแรงงานของแต่ละสถานประกอบการเองโดสละ 1,000 บาท จำนวนคนละ 2 โดส โดยเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพและสมุทรสาคร ไม่เกี่ยวกับ 30 ล้านโดสหรืองบประมาณของรัฐบาล ช่วยแบ่งเบาภาระภาครัฐและช่วยให้การฉีดวัคซีนเร็วขึ้น"นายสุพันธุ์ กล่าว

โดยส.อ.ท.จะเปิดรับความต้องการฉีดวัคซีนโควิด-19 เฟส 2 จากสถานประกอบการต่อไปในวันที่ 31 มี.ค.2654 เช่ือว่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการ นักลงทุน และนักท่องเที่ยวให้เดินเข้ามาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในไทยมากขึ้น ขณะที่ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนก.พ.2564 อยู่ที่ระดับ 85.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 83.5 เนื่องจากภาคการผลิตกลับมาขยายตัวตามอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ของภาครัฐ อาทิ การอนุญาตให้สถานศึกษาเปิดเรียนตามปกติ การขยายเวลานั่งรับประทานในร้านอาหารถึง 23.00 น. รวมทั้งอนุญาตให้กิจการบางประเภทเปิดดำเนินการได้ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวจากผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและภาคการผลิตขยายตัว รวมถึงประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ อาทิ สหรัฐและจีน มีการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันชื่อว่าการที่หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยเริ่มฉีดวัคซีนโควิดแล้วนั้น จะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของภาคเอกชนเริ่มกลับมา เห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 92.0 จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 91.1 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

นายสุพันธุ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการส่งออกยังคงประสบปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องรวมทั้งอัตราค่าระวางเรือที่อยู่ในระดับสูงส่งผลให้ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้น ปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทยังแข็งค่ามากกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออก ซึ่ง ส.อ.ท.มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ โดยขอให้ภาครัฐควรดำเนินมาตรการฟื้นฟูผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องหลังจากมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตามแผนให้แก่ประชาชนแล้ว เร่งแก้ไขปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ของผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) และเร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังเป็นปัญหาต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"