แพทย์จุฬาฯช่วยยืนยันวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าฉีดได้ ไม่เชื่อมโยงภาวะลิ่มเลือดอุดตัน EMA ชี้ชัดพรุ่งนี้


เพิ่มเพื่อน    

 

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม (ซ้าย)รศ.นพ.นภชาญ เอื้อประเสริฐ(ขวา)

17มี.ค.64-ในการเสวนาหัวข้อ  "วัคซีนโควิด ทำ"ลิ่มเลือดอุดตัน"หรือไม่ จัดโดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม   อาจารย์คณะแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าวิจัยวัคซีนโควิด จุฬาฯ  กล่าวว่า ขณะนี้ ทั่วโลก 6 มีวัคซีนโควิดที่ขึ้นทะเบียน  ทุกวัคซีนอนุมัติใช้แบบภาวะฉุกเฉิน และพบว่าทุกวัคซีนมีประสิทธิภาพ60-90%  รับประกันว่เมื่อฉีดแล้ว ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต   ส่วนหลักคิดเรื่องความปลอดภัยของวัคซีน ทางคณะกรรมการอาหารและยา ของทุกประเทศ รวมทั้งองค์การอนามัยโลก ( WHO) ให้การรับรอง เพราะมีการทดลองฉีดในคนเกินหลักหมืนคนขึ้นไป และติดตามผลเกิน2เดือน จึงให้ขึ้นทะเบียนได้ และสำหรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ต่างจากโรคอื่นๆ ตรงที่ผ่านไปตั้งแต่กลางกลางเดือนธ.ค.ปีก่อน จนถึงขณะนี้ มีการฉีดวัคซีนทั่วโลกรวดเร็วกมากหลายร้อยล้านโดส ล่าสุดฉีดกว่า 300 ล้านโดส ใน 126 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย  หรือทั้งโลกเฉลี่ยฉีดวันละ 9 ล้านโดส ใน 6วัคซีน ซึ่งรวมทั้งวัคซีนจากแอสตร้าเซนเนก้า  


    อย่างไรก็ตาม ในการการวิจัยที่ทดลองในคนหลักหมื่นคน  แต่เมื่อฉีดกันเป็นหลักแสน หลักล้าน จึงไม่แปลกใจ ที่จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้  แต่เจอน้อยมากอัตรา 1 -5 คนต่อการฉีดล้านครั้ง เช่น เกิดกรณีแพ้เฉียบพลันบ้าง เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ขณะนี้ฉีดวัคซีนไปแล้ว  44,963 คน หรือเฉลี่ย 1หมื่นคนต่อวัน ผลข้างเคียงของวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นซิโนแว็คก็พบผลข้างเคียงน้อยมาก 


    ศ.นพ.เกียรติ กล่าวอีกว่า ส่วนวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าฉีดไปแล้วทั้งโลก  37ล้านโดส ถ้าดูความกังวล ปัญหาลิ่มเลือดอุดตัน และบางคนเสียชีวิตว่าเกี่ยวกับวัคซีนหรือไม่นั้น ปกติชาติพันธุ์ตะวันตก จะพบปัญหาลิ่มเลือดอุดตันง่ายกว่าคนเอเชีย   จึงไม่แปลกใจถ้าจะเจอคนที่มีอาการนี้  อย่างไรก็ตาม  EMA หรือ องค์อาการอาหารและยายุโรป ยังยืนยันว่าไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ากับปัญหาลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งในวันพฤหัสที่  18 มี.ค.นี้  ทางEMA  จะสรุปรายละเอียดอีกครั้ง ซึ่งในตอนนี้จะดูเป็นรายบุคคล เพื่อให้ 12 ประเทศยุโรปที่ลังเล ได้เดินเครื่องฉีดวัคซีนกันต่อไปได้ 


    รศ.นพ.นภชาญ เอื้อประเสริฐ  อาจารย์ประจำภาควิชาอยุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ  ผู้เชี่ยวชาญด้านโหลิตวิทยา  กล่าวว่า  โรคภาวะลิ่มเลือดอุดตัน คือ การอุดตันหลอดเลือดดำที่ขา เช่นการเกิดขาบวม ลิ่มเลือดอาจลอยไปอุดที่ปอดได้ ทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจนเฉียบพลัน ทำให้หัวใจวายหรือเสียชีวิต ได้ทันที  ปัญหาลิ่มเลือดอุดตัน ยังเป็นสาเหตุตายอันดับ 3 ของชาวตะวันตก มักสัมพันธ์กับอายุ ที่เพิ่มขึ้น เช่นประชากรยุโรป อายุ60-79ปี จะพบปัญหานี้  1 ใน4  หรือถ้าอายุเกิน 80ปี จะพบ3ใน 4  หรือเฉลี่ยอายุ 60ปีขึ้นไป 1,000 คนจะพบ  1-2 คน /ปี ถ้าอายุ 70ปีขึ้นไปพบ 2-7 คน/ปี


    สำหรับ โรคโควิด19 พบว่าอาจเพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดอุดตันได้มากขึ้น ซึ่งมีการศึกษาเรื่องนี้ และตีพิมพ์ในนิตยสารการแพทย์ โดยพบว่าคนไข้โควิด 64,503 คน มีปัญหาหลอดเลือดอุดตัน  15% แบ่งเป็น ลิ่มเลือดอุดตันที่ปลอด 7.8% และลิ่มเลือดอุดตันที่ขา 11.2%  ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้น ถ้าคนไข้อยู่ในห้องไอซียู เพิ่มขึ้นเป็น 23%    ส่วนคนไข้โควิด ที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันที่สมอง หัวใจ หรืออวัยวะอื่นๆ มีประมาณ 1-4  % ในคำแนะนำสมาคมนานาชาติ   จึงได้ระบุว่าคนไช้โควิดที่นอนโรงพยาบาล  จะต้องมีการให้ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดควบคู่กับการรักษาอื่นๆ ส่วนสาเหตุที่คนไข้โควิด จะเกิดปัญหาลิ่มเลือดอุดตันนั้น  เนื่องจาก เชื้อโควิด จะไปกระตุ้นเซลล์ในร่างกายให้เกิดการอักเสบ  อีกทั้งไปกระตุ้นให้หลอดเลือดแดง หรือเกล็ดเลือดเกิดการแข็งตัว ซึ่งเป็นผลทำให้ลิ่มเดลือดไปอุดตันที่ปอดตามมา 


    อย่างไรก็ตาม การเกิดลิ่มเลือดอุดตันอาจจะไม่ได้มาจากโควิดอย่างเดียว  แต่มาจากปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่นคนนอนโรงพยาบาลนานๆ .ในต่างประเทศมีการศึกษาพบว่ามีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ถึง 5-30%  และถ้าเป็นการนอนอยู่ในไอซียู ก็จะมีโอกาสเกิดได้ถึง10-80%  เช่น คนที่ติดเชื้อในกระแสแลือดในสหรัฐ เกิดลิ่มเลือดอุดตัน 1 ใน3 แม้ว่าจะมีการให้ยาป้องกันเลือดแข็งตัวแล้วก็ตาม  หรือในช่วงที่เกิดH1N1 ในปี2009  คนไข้ที่ติดเชื้อก็เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันสูงถึง 6%  และอาจเพิ่มขึ้นเป็น 44% ถ้ามีภาวะปอดอักเสบรุนแรง      สำหรับ ประเทศไทย โรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์  9 แห่ง  พบว่าคนไข้นอนไอซียู 4,000คน เกิดลิ่มเลือดอุดตันแค่  0.4 % ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับคนชาติตะวันตก ส่วนทางรพ.จุฬาฯ มีคนไข้โควิด รับรักษาไว้ 385 คน  ไม่พบมีปัญหาลิ่มเลือดอุดตัน และไม่ได้ให้ยาละลายลิ่มเลือด


    รศ.นพ.นภชาญ กล่าวอีกว่า สำหรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งจากการศึกษาในการทดลองระยะที่ 3 และรวบรวมจาก 4 ผลการศึกษา  พบว่าอาสาสมัครที่ทำการทดลอง 23,000คน แบ่งเป็นได้รับวัคซีนจริง 12,000 คน และได้รับวัคซีนหลอก 12,000 คน พบว่ามีอาการข้างเคียงรุนแรงเพียงแค่ 0.7% เท่านั้นในกลุ่มผู้ได้รับวัคซีนจริง   และ0.8% ในกลุ่มผู้ได้รับวัคซีนหลอก    และเมื่อมาดูเฉพาะกลุ่มคนที่เกิดปัญหาลิ่มเลือดอุดตัน  พบว่าคนที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เกิดลิ่มเลือดอุดตันน้อยกว่า 0.1% หรือ แค่ 4 คนในกลุ่มที่รับการทดลอง 12,000 คน แต่กลุ่มได้รับวัคซีนหลอกเกิด 8 คนหรือคิดเป็น 0.4% ของ12,000 คน 


     ทั้งนี้ ถ้ามาดูข้อมูลคนที่เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ในกลุ่มคนที่ได้รับวัคซีนจริง  ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดแอสตร้าเซนเนก้า รายงานว่ามีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 17 ล้านคนในยุโรป เกิดอาการไม่พึงประสงค์ 37 คน  ส่วนตัวเลขโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันของชาวยุโรป พบว่า  3 คน/1,000คน/ปี  หรือ 3,000 คน/1 ล้านคน/ปี  จะมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ดังนั้นสรุปได้ว่าคนยุโรปมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันมากกว่าคนชาติพันธุ์อื่นๆ              


    "ยังไม่พบสัญญาณใดๆว่าคนฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าจะเกิดลิ่มเลือดอุดตันมากกว่าปกติ ดังนั้น EMA  จึงประกาศเบื้องต้นว่าวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าไม่สัมพันธ์ การเกิดลิ่มเลือดอุดตันและการเกิดภาวะนี้ ยังน้อยกว่าการเกิดลิ่มเลือดอุดตันกับประชาชนยุโรปทั่วไปอีกด้วย "รศ.นพ.นภชาญกล่าว


    การติดเชื้อจริงในธรรมชาติ กับการฉีดวัคซีนแล้วจะทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันต่างกันหรือไม่  รศ.นพ.นภชาญ ตอบประเด็นนี้ว่า   คนติดเชื้อจริงไม่ได้รับแค่แอนติเจนของไวรัสโควิดอย่างเดียว แต่ไวรัสยังไปกระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบมากมาย กระตุ้นกระบวนการแข็งตัวของเลือด เมื่อเกิดขึ้นเมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้น  มีการไปทำลายอวัยวะต่างๆ อีกทั้งไวรัสโควิด ยังจะปล่อยดีเอ็นเอ หรือกระบวนการต่างๆที่ไปกระตุ้นทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดด้วยเช่นกัน  ดังนั้นจึงต่างมากกับการฉีดวัคซีน  ซึ่งฉีดเพื่อให้แอนติเจน เข้าไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย  และไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาวอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ใช่กระบวนการทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันทำงาน  ดังนั้น สรุปได้ว่าการฉีดวัคซีนจึงไม่ไปกระตุ้นกระบวนการแข็งตัวของเลือดแต่อย่างใด    


     ศ.นพ.เกียรติ เสริมในประเด็นนี้ว่าการฉีดวัคซีนโดสต่ำมาก และวัคซีนที่ฉีดยังไม่ได้ทำให้เชื้อแบ่งตัว ดังนั้น การทำให้อักเสบจึงมีโอกาสน้อยมาก  และมีไม่ถึง 1% ของคนที่ฉีดแล้วมีอาการไช้สูง  ดังนั้นคนที่อายุมาก คนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง  ก็จะมีความเสี่ยงตามทฤษฎีหากไม่ได้รับวัคซีน 


    "การอนุมัติวัคซีนในภาวะฉุกเฉิน กับความปลอดภัย องค์การอาหารและยาทั่วโลก รวมทั้งอย.ของเราด้วยไม่มีการรอมชอมเรื่องความปลอดภัย ถ้าข้อมูลมีความเสี่ยง  ซึ่งต้องมีการติดตามดูผลอย่างน้อย 2เดือน  จึงอนุมัติให้มีการฉีด  ย้อนอดีตการทำวัคซีน  ถ้าตัวไหนมีปัญหาส่วนใหญ่เกิดในเวลาไม่เกิน 60 วัน  ตัวตัดความปลอดภัยจึงอยู่ระยะนี้ ถ้าไม่เจออาการข้างเคียงที่น่าเป็นห่วง ก็สามารถใช้ในภาวะฉุกเฉิยนได้  และ 6เดือนวัคซีนมีความปลอดภัย  ก็จะได้รับการขึ้นทะเบียน และอาจมีการอนุญาตให้ฉีดได้ตามโรงพยาบาลต่างๆ เช่นเดียวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่กันทุกปี " ศ.นพ.เกียรติ กล่าว  


     ศ.นพ.เกียรติ กล่าวอีกว่า ส่วนประเด็น คนสับสนวัคซีนมีประสิทธิภาพต่างกัน จะต้องรอวัคซีนที่ประสิทธิภาพสูงๆ นั้น จากการประชุมผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก พบว่า วัคซีนทุกตัวสามารถป้องกันอาการเจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตได้  90-100% ทำให้ไม่เกิดป่วยจนต้องนอนโนโรงพยาบาล จนล้นโรงพยาบาล และข้อมูลจากสหรัฐอเมริกาและอิสราเอล ยังระบุอีกว่า เริ่มเห็นได้ชัดเจนว่า วัคซีนมีผลทำให้เกิดการป้องกันการติดเชื้อ การฉีดเข็มเดียวป้องกันได้ 60-70%  เข็มที่2 มป้องกัน 90%  ดังนั้น การฉีดวัคซีนจะทำให้ร่างกายได้มีโอกาสรู้จักกับผู้ร้ายที่เป็นเชื้อโควิด ซึ่งจะเป็นการได้เปรียบแน่นอน  อย่างไรก็ตาม ในที่สุด มีแนวโน้มว่าเราจะต้องฉีดซ้ำอีก ทุก1-2ปี  เหมือนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"