ถอดบทเรียน


เพิ่มเพื่อน    

 

หลายสถาบันจัดอันดับให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับต้นๆ ของกลุ่มประเทศที่ประสบความสำเร็จในการรับมือการระบาดของไวรัสโควิด-19 อาทิ สำนักข่าวบลูมเบิร์ก จัดให้ไทยอยู่อันดับ 4 ของประเทศที่จัดการกับโควิดได้ดี ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจกำลังพัฒนา 75 ประเทศ สภาผู้เชี่ยวชาญระดับวิชาชีพในระดับนานาชาติ ให้ไทยเป็นประเทศที่ฟื้นตัวจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ดีที่สุดอันดับหนึ่ง 1 จาก 184 ประเทศองค์การอนามัยโลกเลือกไทยกับนิวซีแลนด์ถ่ายทำสารคดีเกี่ยวกับการรับมือการระบาดของไวรัสโควิด-19 สถาบันโลวีจากออสเตรเลีย จัดอันดับให้ไทยเป็นประเทศที่รับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ดีที่สุดอันดับ 4 ของ โลกเป็นต้น

 

เบื้องหลังความสำเร็จในการรับมือกับสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบแรกมาจากหลายปัจจัย ในมุมของ “อาจารย์ยง” ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิตและหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า “ระบบสาธารณสุขของเราค่อนข้างดี เรามีระบบที่แยกลงไปลึกสุด อสม.(อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน)ในต่างจังหวัด การเฝ้าระวังการเกิดการระบาดในบ้านเราทำได้ค่อนข้างดี”

 

นอกจาก “ระบบสาธารณสุขที่ดีแล้ว” อาจารย์ยง ยังกล่าวด้วยว่า ความมีวินัย (ประชาชน) ทั้งเรื่องสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ นโยบาย (การรับมือกับสถานการณ์ระบาด) ที่ตัดสินใจตามนักวิชาการไม่ใช่นักการเมือง “เราซัคเซส(ประสบความสำเร็จ)เพราะเรามีนักวิชาการไปช่วยกันค่อนข้างมากในช่วงเวฟแรก” (การระบาดระลอกแรกระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม2563) รวมถึงการมีแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม     มุมมองอีกด้านจาก ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองและการต่างประเทศ วิเคราะห์ว่า สาเหตุที่ประเทศไทยหรือเอเชียอีกหลายๆประเทศประสบความสำเร็จในการรับมือกับการระบาด  มากกว่ายุโรปและสหรัฐอเมริกามาจากหลาย ปัจจัยๆ แรกคือ กลุ่มประเทศในยุโรปไม่ว่า สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี หรือ อังกฤษ ประมาทเมื่อเกิดการระบาด (ไวรัสโควิด-19) ใหม่ มองเป็นเรื่องของเอเชีย เรื่องของจีน ปัจจัยที่สอง คือระบบสาธารณสุขของยุโรป สหรัฐฯ ไม่เหมือนบ้านเรา คือเวลาอยู่ในยุโรปการพบแพทย์เป็นเรื่องยากมาก แต่เมืองไทยเป็นเรื่องอัศจรรย์ที่หมอเยอะมีคลินิกมากมาย ปัจจัยที่สาม คือสถานการณ์ระบาดมาเร็วจนทุกประเทศตั้งตัวไม่ทัน ในช่วงแรก ขาดแคลนทั้งหน้ากากอนามัย เตียงไม่พอ เครื่องช่วยหายใจไม่พอ และปัจจัยสุดท้ายคือวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน หากรัฐบาลขอให้ กักตัวอยู่บ้าน สวมหน้ากากในที่สาธารณะ คนในยุโรป สหรัฐฯมักไม่ให้ความร่วมมือ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมยุโรปหรือสหรัฐฯสถานการณ์ระบาดจึงรุนแรงทั้งที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางสาธารณสุข

 

ทางด้าน นพ.ธนรักษ์  ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขขณะนั้น ได้สรุปปัจจัยหลักที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการรับมือการระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบแรกว่า มาจาก 7 ปัจจัยคือ หนึ่ง ประเทศไทย เริ่มปฏิบัติการด้านสาธารณสุขทันที ที่มีข่าวระบาดตั้งแต่ปลายปี 2562 สอง ไทยมีระบบควบคุมโรคที่เข้มแข็งอยู่ในอันดับต้นของเอเชียและโลก สาม ใช้ความรู้ทางวิชาการเป็นตัวนำนโยบาย สี่ มีภาวการณ์นำในทุกระดับ ห้า มีความร่วมทุกภาคส่วน หก การสื่อสาร(สู่ประชาชน)ดี และ เจ็ด ความร่วมมือร่วมใจของคนไทยทุกคนมุมมองที่ลำดับมาข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยๆ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการรับมือการระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบแรกให้อยู่ในวงจำกัดและไทยอยู่ในกลุ่มประเทศแรกๆ ที่เริ่มแง้มประตูรับนักท่องเที่ยว นักลงทุนให้เข้าประเทศ     

 

ทั้งนี้การที่คนไทยอยู่กับ “วิกฤติโควิด” มากว่า 1 ปี  การสวมหน้ากากในที่สาธารณะ ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง 2 เมตร จนกลายเป็นพฤติกรรมปกติ เช่นเดียวกับระบบธุรกิจที่การทำงานที่บ้าน ไม่ใช่เรื่องแปลกของคนทั่วไปอีกต่อไป  แนวโน้มดังกล่าวเป็นปัจจัยเพิ่มอัตราเร่งในการปรับตัวเข้าสู่ยุค 4.0 ที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวนำทั้งของคนและองค์กร ซึ่งจะนำไปสู่ ชีวิตวิถีใหม่ .

 

สนับสนุนโดย: กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ส่วนหนึ่งของโครงการจัดทำหนังสือ “ถอดบทเรียนไทยสู้โควิด”                                              


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"