แนวรับคลื่นเศรษฐกิจ


เพิ่มเพื่อน    

วิกฤติโควิดเป็นวิกฤติคู่ขนานระหว่าง “วิกฤติสาธารณสุข” และ “วิกฤติเศรษฐกิจ” เป็นวิกฤติคู่ที่เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน  ผลจากวิกฤติต่อภาคเศรษฐกิจเริ่มแสดงตัวที่ ภาคตลาดเงิน ตลาดทุน ที่อ่อนไหวต่อสถานการณ์และข่าวสาร หลังการระบาดของไวรัสโควิด-19 ลามข้ามพรมแดน ข้ามทวีปไปทั่วโลก

วันที่ 12 มีนาคม ตลาดหุ้นผันผวนสุดๆ จนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ตัดสินใจงัดมาตรการ หยุดซื้อ-ขายหุ้นชั่วคราว (circuit breaker) ขึ้นมาควบคุมสถานการณ์ จากที่เคยใช้ครั้งสุดท้ายในช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2551  แต่หลังเปิดให้มีการซื้อ-ขายอีกครั้งแรงเทขายยังกระหน่ำเข้ามา ดัชนีไหลลงลึก  ไปหยุดที่ 1,095.37 จุด ลดลง 154.32 จุด หรือ 12.36%  ทำสถิติดัชนีต่ำที่สุดในรอบ 8 ปีกับ 1เดือน และดัชนีปิดตลาดที่ 1,114.91 จุด ลดลง 134.98 จุด หรือ 10.80 %

คาบเกี่ยวกันนั้นในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนมีนาคมนักลงทุนเริ่มขายคืนหุ้นกู้อย่างหนักและต่อเนื่อง กระทั่ง บลจ. ทหารไทย ตัดสินใจ เลิกกองทุน ทหารไทยธนเพิ่มพูน กองทุนเปิดธนไพบูลย์ กองทุนเปิดทหารไทย ธนพลัส และกองทุนเปิดทหารไทย ธนไพศาล เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ลงทุน

ความปั่นป่วนในตลาดหุ้นกู้ ที่มีขนาดถึง 3.6 ล้านล้านบาทหรือประมาณ 20 % ของจีดีพี  และมากกว่า 70 % ถือครองโดยภาคเอกชน ทำให้แบงก์ชาติต้องออกมาตรการเข้ามาดูแล  เช่นมาตรการเพิ่มสภาพคล่องให้กองทุนรวมผ่านแบงก์พาณิชย์ และออก พ.ร.ก.การสนับสนุนสภาพคล่องเพื่อดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน วงเงินรวม 4 แสนล้านบาท หรือ พ.ร.ก.หุ้นกู้ 4 แสนล้านบาท เพื่อเป็นหลังพิงให้กับตลาดหุ้นกู้  เพราะเกรงว่าหากตลาดหุ้นกู้ไร้เสถียรภาพ จะส่งแรงกระเพื่อมถึงภาคการเงิน ดร.วิรไท สันติประภพ  ผู้ว่าการแบงก์ชาติขณะนั้น เปรียบมาตรการดูแลตลาดหุ้นกู้ว่า เหมือนโรงพยาบาลสนามเพื่อดูแลคนป่วยโรคโควิด-19

แต่ในขณะที่ตลาดหุ้น และหุ้นกู้ปั่นป่วน การค้าทองคำในช่วงวิกฤติโควิดกลับคึกคัก เนื่องจากนักลงทุนหันมาถือสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงโควิดระบาด  ราคาทองคำทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่องและ ราคาทองคำขึ้นไปสูงสุดของปี 30,400 บาท

ในวันที่ 7 สิงหาคม 2653  ทำสถิติสูงสุดใหม่ในรอบ 9 ปี

ส่วนภาคเศรษฐกิจจริง อุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างหนักจากตลาดที่หายไป และระบบขนส่งโลจิสติกส์ มีปัญหาในช่วงล็อกดาวน์จนค่ายรถยนต์ใหญ่ ต้องหยุดสายการผลิตชั่วคราวในช่วงปลายเดือนมีนาคม ต่อเนื่องเมษายน 2563

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจากที่เคยทำรายได้เข้าประเทศ 3 ล้านล้านบาท รายได้หายไปกว่า 80 % ส่วนภาคส่งออกในช่วงล็อกดาวน์เดือนมิถุนายนมูลค่าส่งออกติดลบถึง 23 % และกระทรวงพาณิชย์คาดส่งออกปี 2563 ติดลบ 6-7 %

เพื่อรับมือกับคลื่นเศรษฐกิจที่ถาโถมเข้ามา รัฐบาลได้ออกมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด ด้วยการออก พ.ร.ก. 3 ฉบับ คือ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

และสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 หรือ พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 หรือ พ.ร.ก. ซอฟต์โลน 5 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.หุ้นกู้ 4 แสนล้านบาท  เพื่อขับเคลื่อนมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ      

นอกจากมาตรการทางการคลังแล้ว แบงก์ชาติได้ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายโดยลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้ง ลงเหลือ 0.5 % ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ร่วมกับแบงก์พาณิชย์ และธนาคารของรัฐลดภาระลูกหนี้ผ่านมาตรการพักหนี้

ทั้งนี้ไตรมาส 3 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานจีดีพีติดลบ 6.4 % ติดลบน้อยกว่าไตรมาส2 เนื่องจากการทยอยคลายล็อก และมาตรการดูแลเศรษฐกิจที่รัฐบาลขับเคลื่อนออกมา

   

สนับสนุนโดย:กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ส่วนหนึ่งของโครงการจัดทำหนังสือ “ถอดบทเรียนไทยสู้โควิด”                                

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"