สภาเดือด!คว่ำรธน. พปชร.ส่งซิกงดออกเสียงฝ่ายค้านลุยโหวตวาระ3


เพิ่มเพื่อน    

 “ประยุทธ์” โยนรัฐสภาชี้ชะตาวาระ 3 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ สุดมึน! วิษณุบอกคำวินิจฉัยเรื่องแก้หมวด 15/1 มีนัยสำคัญ แต่ต้องเดินหน้าโหวต พร้อมส่งซิกให้งดออกเสียง “ชวน” เรียกประชุมวิป 3 ฝ่ายพ่วงฝ่ายกฎหมาย สุดท้ายไร้บทสรุปให้รอลุ้น 17 มี.ค. สภาสูงชี้ร่างแก้ไขเป็นโมฆะแล้ว “พปชร.” ส่อเค้านั่งนิ่ง ส่วน “ปชป.” รอดูทิศทางลม แต่ย้ำยกมือทางเดียวกัน “ฝ่ายค้าน” ท่องคาถาโหวต ผวา! รัฐธรรมนูญถูกฝังลงหลุมยาว

ในวันพุธที่ 17 มีนาคม รัฐสภาได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมร่วมของรัฐสภา ครั้งที่ 1 (สมัยวิสามัญ) เพื่อพิจารณาลงมติในวาระ 3 ของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช.... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1) แม้ศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่คำวินิจฉัยกลางที่ 4/2564 เรื่องประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 256 (1) เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนที่ 18 ก เมื่อวันที่ 15 มี.ค.แล้ว
โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ว่า ได้ฟังคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ซึ่งวันนี้ก็เป็นการหารือของนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา โดยจะเป็นการหารือระหว่างวิปรัฐบาล ซึ่งนายกฯ ก็ทำหน้าที่ของนายกฯ แล้ว คือการนำเข้าสู่การพิจารณาของสภา จากนั้นก็เป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร
    “ผมก็สนับสนุนตามนโยบายของรัฐบาล ส่วนจะแก้หรือไม่แก้ หรือแก้กันอย่างไร อยู่ที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ถ้ามีปัญหาอะไรก็ไปถึงฝ่ายตุลาการ ผมก้าวล่วงอะไรใครไม่ได้เลย ยืนยันรัฐบาลเจตนารมณ์มุ่งมั่นในการสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนจะแก้ได้อย่างไรก็ไปทำกันมาก็แล้วกัน อย่ามากล่าวอ้างว่าผมไปมีคำตอบ มีการเซ็น มีอะไรของผมไป ผมสั่งอะไรไม่ได้อยู่แล้วเรื่องนี้อันตราย” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
    ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ กล่าวในช่วงเช้าว่า ได้อ่านแล้ว และเชื่อว่าทุกคนได้อ่านแล้ว โดยเฉพาะหน้า 10 หน้า 11 และ 2 ย่อหน้าสุดท้าย ไปอ่านเสียให้เข้าใจ และเชื่อว่าควรเข้าใจได้ ส่วนรัฐสภาสามารถโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ได้หรือไม่นั้น ไม่ทราบ และไม่กล้าตอบ แต่ตนเองเข้าใจเรื่องแล้ว และเชื่อว่า สมาชิกรัฐสภาอ่านแล้วก็คงเข้าใจ เพราะพวกท่านไม่ใช่กระรอก ไม่จำเป็นต้องชี้โพรง
    ต่อมาในช่วงบ่าย นายวิษณุกล่าวในเรื่องนี้อีกครั้งว่า แล้วแต่รัฐสภาว่าจะโหวตหรือไม่ แต่จากการอ่านคำวินิจฉัยกลาง มีประโยคที่เพิ่มเติมขึ้นมาจากคำวินิจฉัยแรกที่ระบุว่า การแก้หมวด 15/1 เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งประโยคนี้ถือว่ามีนัยและมีความหมาย
    เมื่อถามว่า การระบุว่ามีความหมายนั้น หมายความว่าถ้าโหวตผ่านวาระ 3 แล้วจะมีปัญหาใช่หรือไม่ นายวิษณุพยักหน้า พร้อมกล่าวว่า ใช่ครับ แต่ก็ต้องโหวตวาระ 3 อยู่ดี  
    ถามย้ำว่า ถ้าไม่อยากให้มีปัญหาให้โหวตงดออกเสียงใช่หรือไม่ รองนายกฯ กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า “ไม่ขอพูดแล้วล่ะ เดี๋ยวหาว่าส่งซิก”
แพลมแก้ไขรายมาตรา
      พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวเช่นกันว่า ได้อ่านคำวินิจฉัยแล้ว ส่วนจะให้ลูกพรรคโหวตวาระ 3 หรือไม่นั้น พรรค พปชร.พร้อมแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไรก็ได้ แต่หากจะโหวตวาระ 3 จะผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้จะนำไปหารือในที่ประชุมพรรค
“จะไปยื้อได้อย่างไร เพราะมันเป็นเรื่องที่ผิดทำไม่ได้ ศาลรัฐธรรมนูญบอกไว้ หากจะสถาปนาทั้งฉบับต้องไปถามประชาชนก่อนว่าให้แก้หรือเปล่า แต่การไปแก้ไขแล้วตั้ง ส.ส.ร.อย่างนี้มันทำไม่ได้” พล.อ.ประวิตรกล่าวต่อข้อถามว่ามีกระแสพรรค พปชร.ต้องการยื้อการแก้รัฐธรรมนูญ
เมื่อถามอีกว่า มีแนวโน้มให้พรรค พปชร.จะโหวตวาระ 3 ให้ตกไปก่อนหรือไม่ พล.อ.ประวิตรตอบทันทีว่า ไม่มีๆ เมื่อถามอีกว่าจะเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราหรือไม่ พล.อ.ประวิตรตอบว่า “ได้เลย เพราะเป็นเรื่องของรัฐสภาอยู่แล้ว และในการแก้รายมาตรารัฐสภาก็แก้ได้อยู่แล้ว”  
       ถามอีกว่า พรรคร่วมรัฐบาลยืนยันจะเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญต่อไป พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ก็แล้วแต่พรรคร่วม เพราะเป็นเรื่องของแต่ละพรรคจะพิจารณา จะไปเดินหน้าได้อย่างไร การแก้ไขต้องตั้ง ส.ส.ร.เพื่อแก้ไขทั้งฉบับจะไปทำได้อย่างไร
    มีรายงานว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายอนุชา นาคาศัย รมต.ประจำสำนักนายกฯ ในฐานะรัฐมนตรีประสานงานวิปรัฐบาล ได้รายงานคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงการประชุมรัฐสภาที่จะบรรจุวาระการโหวตวาระ 3 ไว้ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ได้ระบุว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของรัฐสภา ปล่อยให้รัฐสภาเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้สอบถามนายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ถึงความชัดเจนในการทำประชามติภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาแบบนี้ แต่นายปกรณ์ปฏิเสธให้ความเห็น โดยระบุว่าเป็นเรื่องของสภาเช่นกัน ขณะที่นายวิษณุได้สอบถามผู้อำนวยการสำนักงบประมาณว่าได้กันงบไว้สำหรับการทำประชามติหรือไม่ ซึ่งได้รับคำตอบว่ามีงบกลางอยู่ ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์พูดขึ้นมาว่า ถ้าไม่มีก็ต้องหาให้มี ถ้าต้องทำ
     ที่รัฐสภา มีการประชุมวิป 3 ฝ่าย ที่มีนายชวนเป็นประธาน เพื่อหารือถึงคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งยังไม่ได้มีข้อยุติเกี่ยวกับการโหวตวาระ 3 ในวันที่ 17 มี.ค. โดยนายชวนได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายไปพิจารณาอีกครั้งในช่วงบ่าย   
    นายชวนแถลงว่า เดิมตามมติของวิป 3 ฝ่ายยืนยันให้ลงมติวาระ 3 แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยกลางออกมาเมื่อวันที่ 15 มี.ค. แนวโน้มก็ต้องเปลี่ยนแปลง เพราะศาลมองว่าการแก้ไขครั้งนี้เป็นการจัดทำฉบับใหม่ ซึ่งแนวทางที่รัฐสภาจะปฏิบัติ คือ หนึ่งต้องยึดตามกฎหมาย และสองคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กร ซึ่งเราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ต้องปฏิบัติตาม
    ด้านนายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค พปชร. ในฐานะประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ได้สอบถามสภาและ ส.ว.แล้วยังมีความเห็นเป็น 2 ทางคือ ถ้าให้ลงมติก็อาจขัดคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ และถ้าไม่ลงมติในวาระ 3 แล้วจะเดินกันอย่างไร เพราะจะนำร่างแก้ไขออกจากระเบียบวาระก็ทำไม่ได้ หรือถ้าถอนออกเรื่องนี้ก็ยังคาอยู่ และพร้อมบรรจุในระเบียบวาระใหม่ได้ ดังนั้น ต้องรอนายชวนหารือกับฝ่ายกฎหมายของสภา และ ส.ว. เพื่อหาแนวทางที่เป็นจุดร่วมกันก่อน
    “วันนี้เราเห็นคำวินิจฉัยกลางในข้อที่เดินไม่ได้ แต่สิ่งที่เราจะเดินต่อไปให้พิธีกรรมทั้งหมดครบถ้วนถูกต้องตามตุลาการ เราจึงยังไม่มีการตัดสินอย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้น” นายวิรัชกล่าว
ส.ว.ลั่นร่างแก้ไขเป็นโมฆะแล้ว
     นายสมชาย แสวงการ ส.ว. ในฐานะเลขานุการวิปวุฒิฯ กล่าวว่า ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่จะลงมติวาระ 3 ในวันที่ 17 มี.ค.นี้ ถือว่าเป็นโมฆะเรียบร้อยแล้ว เพราะถ้าดูจากคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญ จะเห็นว่าศาลวินิจฉัยชัดเจนว่าเป็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งทำไม่ได้ และศาลยังย้ำถึง 2 ครั้งให้รัฐสภาปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด หรือถ้าจะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ต้องให้ไปทำประชามติก่อน ดังนั้นทางออกขณะนี้คือหาวิธีให้ร่างแก้ไขดังกล่าวเป็นโมฆะ ตกไปโดยสมบูรณ์ โดยอาจใช้วิธีเสนอเป็นญัตติให้ที่ประชุมรัฐสภาโหวตให้ร่างดังกล่าวตกไปเลยตามคำวินิจฉัยของศาล หรือให้ประธานรัฐสภาใช้ดุลยพินิจชี้ขาดให้ร่างดังกล่าวตกไป ขึ้นอยู่กับที่ประชุมรัฐสภาจะหารือกัน แต่ไม่สามารถใช้วิธีแช่แข็งร่างแก้ไขให้ค้างวาระไว้ แล้วไปรอทำประชามติ เพราะร่างดังกล่าวเป็นโมฆะไปแล้ว ถึงอย่างไรก็ต้องตกไป  
    นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า วิป 3 ฝ่าย ให้ฝ่ายกฎหมายสภาไปหาทางออก ซึ่งถ้าฝ่ายกฎหมายให้โหวตวาระ 3 ได้ก็เดินหน้าโหวตต่อ แต่ถ้าเห็นว่าไม่สามารถโหวตวาระ 3 ได้ เชื่อว่าจะมีสมาชิกบางส่วนเสนอให้ถอนวาระออกจากวาระประชุมในวันที่ 17 มี.ค. โดยใช้มติของที่ประชุมรัฐสภา แต่ฝ่ายค้านจะสู้เต็มที่ เพื่อให้เดินหน้าโหวตร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญวาระ 3 ไม่เห็นด้วยให้ถอนวาระ
“หากให้ถอนร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแล้ว จะดำเนินการอย่างไรต่อ จะยกร่างใหม่ได้หรือไม่ และใครจะเป็นคนยกร่างใหม่ ถ้ายกร่างใหม่จะยกร่างใหม่ทั้งฉบับหรือเป็นรายมาตรา ที่สำคัญกลัวว่าเมื่อถอนเรื่องไปแล้วจะอ้างอิงรัฐธรรมนูญบทใดมายกร่างใหม่ ถ้าไม่มีใครให้คำตอบได้ แสดงว่าการแก้รัฐธรรมนูญจบ ไม่สามารถเดินได้ ทั้งการยกร่างใหม่ทั้งฉบับและรายมาตรา” นายสุทินกล่าว
นายสุทินกล่าวอีกว่า ฝ่ายค้านยังเชื่อโดยสุจริตใจว่า คำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญที่ระบุให้ทำประชามติก่อนนั้น หมายถึงให้ทำประชามติหลังจากที่มี ส.ส.ร.แล้ว ไม่ใช่ทำประชามติก่อนยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ทำอยู่ในขณะนี้ ฝ่ายค้านยืนยันให้เดินหน้าโหวตวาระ 3 เชื่อว่าเรื่องนี้จะมีการถกเถียงในที่ประชุมรัฐสภา วันที่ 17 มี.ค.อย่างเข้มข้นแน่นอน  
ต่อมาในเวลา 18.15 น. นายชวนให้สัมภาษณ์หลังประชุมวิป 3 ฝ่ายและฝ่ายกฎหมายว่า เป็นการประมวลสรุปความเห็นแต่ละฝ่าย โดยฝ่ายกฎหมายได้เจาะลึกในถ้อยคำว่า ความประสงค์ของศาลรัฐธรรมนูญคืออะไร  
เมื่อถามว่า มีการสรุปหรือไม่ว่าในวันที่ 17 มี.ค.จะเดินหน้าโหวตวาระ 3 หรือไม่ นายชวนตอบว่า ระเบียบวาระยังไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะลงมติได้หรือไม่ ไว้ว่ากันในวันที่ 17 มี.ค. เมื่อถึงจุดจุดหนึ่งก็ต้องอธิบายให้สมาชิกฟังว่าเรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร เมื่อผลคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญออกมาตอนแรก ฝ่ายกฎหมายสภาว่าอย่างไร และฝ่ายกฎหมายไม่ได้มีผลประโยชน์เข้าไปเกี่ยวข้องเรื่องนี้ น้ำหนักความเห็นของฝ่ายกฎหมายสภาจะมีความหมายมาก จึงต้องรายงานให้ที่ประชุมทราบ จากการนำข้อแนะนำต่างๆ ของหลายฝ่ายมากลั่นกรองก็ไม่ตรงกันสักคน   
เมื่อถามว่า จะโหวตอย่างไรในวันที่ 17 มี.ค. นายชวนตอบว่า ไว้รอดูวันที่ 17 มี.ค.
        น.ส.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม. ในฐานะโฆษกพรรค พปชร. แถลงภายหลังประชุม ส.ส.ของพรรคว่า เบื้องต้นต้องรอทางฝ่ายสภาพิจารณาหารือก่อนว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อ หากมีการลงมติในวันที่ 17 มี.ค. จะขัดกับหลักกฎหมายหรือไม่อย่างไร ต้องติดตามการประชุมในวันที่ 17 มี.ค.อีกครั้ง ซึ่งที่ประชุมได้พูดคุยถึงความเป็นไปได้ในกรณีที่หากมีการลงมติ เพื่อเป็นการเคารพคำวินิจฉัยของศาลและดำเนินการให้ถูกต้อง ไม่ให้ขัดกับหลักกฎหมาย พรรค พปชร.อาจของดออกเสียง
“ยังยืนยันว่าพรรคพร้อมสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งนี้ก็ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย และเราก็ต้องเคารพตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยด้วย ทั้งนี้ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไรในส่วนของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้กระบวนการต่างๆ สมบูรณ์และถูกต้องตามหลักกฎหมาย” น.ส.พัชรินทร์กล่าว
“พปชร.”จ่องดออกเสียง
มีรายงานจากพรรค พปชร.แจ้งว่า ในที่ประชุมได้แสดงความกังวลในการลงมติหากจะโหวตผ่านหรือไม่เห็นด้วยอย่างมาก ส.ส.บางส่วนจึงเสนอว่าจะขอแค่เข้าไปลงชื่อเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ร่วมโหวต แต่ที่ประชุมเห็นว่าเมื่อเป็น ส.ส. พรรครัฐบาลควรต้องไปลงมติ แต่หากกังวลว่าจะมีความผิด ก็เห็นตรงกันว่าควรงดออกเสียง
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะรองหัวหน้าพรรค กล่าวถึงผลประชุมพรรคในเรื่องนี้ว่า พรรคยังไม่มีข้อยุติแต่อย่างใด โดย ส.ส.แบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าให้รอการหารือของฝ่ายกฎหมายรัฐสภาก่อน ขณะเดียวกันอีกฝ่ายเห็นว่าให้ยึดจุดยืนของพรรค ปชป.ที่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยหากสภาให้โหวตวาระ 3 ส.ส.พรรคก็ควรต้องโหวตเห็นชอบ ทั้งนี้ ผู้ใหญ่ของพรรค เช่น นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.บัญชีรายชื่อและประธานที่ปรึกษาพรรค ได้แสดงความคิดเห็นว่า เห็นด้วยว่าควรรอฝ่ายกฎหมายของสภาก่อน แต่ความเห็นส่วนตัวคิดว่าพรรคต้องยึดถือจุดยืน คือเดินหน้าโหวตเห็นชอบวาระ 3
ทั้งนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรค ปชป. ได้กล่าวในที่ประชุมพรรคว่า ยังคงมีจุดยืนเดิม คือเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญจนสุดทางเท่าที่รัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ดำเนินการ และการลงมติครั้งนี้พรรคต้องลงมติไปในทิศทางเดียวกัน
    ขณะที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่อยู่ระหว่างการพิจารณา ไม่ใช่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในตัวเอง ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องยกเลิกกระบวนการทั้งหมดเพื่อไปเริ่มถามประชามติประชาชนก่อน ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเพียงว่ารัฐสภามีอำนาจหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ แต่ไม่ได้ระบุข้อจำกัดและเงื่อนไขว่ารัฐสภาต้องดำเนินการด้วยตนเอง ดังนั้น จึงอยู่ที่รัฐสภาจะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ภายใต้เงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 255 และ 256 ซึ่งการตั้ง ส.ส.ร.เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงสามารถทำได้ และที่ผ่านมารัฐสภาก็เคยดำเนินการในลักษณะดังกล่าวมาแล้วในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ปี 2540
     นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เชียงราย พรรค พท. กล่าวว่า เชื่อว่าสุดท้ายรัฐบาลจะลงมติไปในทิศทางเดียวกันคือคว่ำญัตติ  เพราะไม่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยซื้อเวลาให้นานที่สุด และหากไม่สามารถยื้อเวลาได้ ก็พร้อมยุบสภาก่อนที่กระบวนการ ส.ส.ร.จะเริ่มต้น เพื่อตัดตอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญในที่สุด
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. กล่าวว่า สถานการณ์ในการโหวตวาระที่ 3 แน่นอนที่สุดก็ถูกคว่ำ จึงขอเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ทำตามคำมั่นสัญญาที่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อเดินมาถึงขณะนี้นายกฯ ต้องแอ่นอกรับผิดชอบ จะอยู่แบบลอยๆ ไม่ได้ หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน นายกฯ ต้องรับผิดชอบลาออก.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"