กรุงนิวเดลีครองแชมป์เมืองหลวงอากาศแย่สุดในโลกปี63


เพิ่มเพื่อน    

ไอคิวแอร์เผยรายงานคุณภาพอากาศทั่วโลก พบหลายสิบประเทศมีระดับค่าฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ที่อันตรายถึงชีวิตในปี 2563 สูงกว่าค่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ แม้มีการล็อกดาวน์เพราะโควิด-19 ก็ตาม  กรุงนิวเดลีของอินเดียครองอันดับ 1 เมืองหลวงมลพิษทางอากาศสูงที่สุดในโลก ส่วน กทม.ติดอันดับ 35

แฟ้มภาพ หมอกควันปกคลุมกรุงนิวเดลีเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2563 (Photo by Sanjeev Verma/Hindustan Times via Getty Images)

    ไอคิวแอร์ กลุ่มวัดคุณภาพอากาศจากสวิตเซอร์แลนด์ เผยรายงานคุณภาพอากาศในเมืองต่างๆ ทั่วโลกในปี 2563 ว่า การระบาดของโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกล็อกดาวน์เต็มรูปแบบหรือบางส่วน ส่งผลให้ระดับเฉลี่ยของค่าฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ลดลง โดยในกรุงปักกิ่งค่าฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ลดลง 11%, นครชิคาโกลดลง 13%, กรุงนิวเดลีลดลง 15%, กรุงลอนดอนและกรุงโซลลดลงเท่ากัน 16%

    รายงานคุณภาพอากาศโลก 2563 ของไอคิวแอร์ที่รวบรวมข้อมูลจากเมืองใหญ่ใน 106 ประเทศทั่วโลก ชี้ด้วยว่า อันดับเมืองที่มีมลภาวะสูงสุด 50 อันดับนั้น มีเมืองจากอินเดียติดอยู่ถึง 35 เมืองในปีที่่ผ่านมา แต่อย่างน้อย 60% ของเมืองต่างๆ ทั่วอินเดียมีสภาพอากาศที่หายใจได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2562 และทุกเมืองมีสภาพอากาศที่สะอาดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561

    แต่รายงานฉบับนี้ระบุว่า มีเพียง 24 ประเทศ จาก 106 ประเทศ ที่จากการตรวจสอบคุณภาพอากาศพบว่ามีคุณภาพอากาศปลอดภัยตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก ในปี 2563 จีนและหลายชาติในเอเชียใต้เผชิญกับฝุ่นพีเอ็ม 2.5 เกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ ในบางภูมิภาคของประเทศเหล่านี้มีค่าฝุ่นพีเอ็ม 2.5 สูงกว่าคำแนะนำ 6-8 เท่า

    บังกลาเทศ, ปากีสถาน, อินเดีย, มองโกเลีย และอัฟกานิสถาน เป็นประเทศที่ติดอันดับประเทศที่มีค่าเฉลี่ยพีเอ็ม 2.5 ปี 2563 สูงสุด โดยมีค่าพีเอ็ม 2.5 ระหว่าง 77-47 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

    สำหรับอันดับของเมืองหลวง กรุงนิวเดลีครองอันดับ 1 เมืองหลวงที่มีมลพิษทางอากาศสูงสุด มีค่าเฉลี่ยพีเอ็ม 2.5 ทั้งปีสูงถึง 84.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยใน 5 อันดับแรก ประกอบด้วย อันดับ 2.กรุงธากาของบังกลาเทศ (77.1), อันดับ 3. กรุงอูลานบาตอร์ของมองโกเลีย (46.6), อันดับ 4. กรุงคาบูลของอัฟกานิสถาน (46.5) และอันดับ 5. กรุงโดฮาของกาตาร์ (44.3)

    ส่วนกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของไทยติดอันดับ 35 มีค่าเฉลี่ยพีเอ็ม 2.5 ที่ 20.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

    องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าค่าฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ในรอบ 24 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยทั้งปีไม่ควรเกิน 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"