“บ้านคน- บ้านช้าง”สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น"กูย"สุรินทร์สู่เวนิส


เพิ่มเพื่อน    

ผลงานโครงสร้างบ้านคน-บ้านช้าง ติดตั้งและจัดแสดงที่ จ.สุรินทร์

 

 

     นิทรรศการสถาปัตยกรรมนานาชาติ เวนิสเบียนนาเล ที่จัดขึ้นเมืองเวนิส สาธารณรัฐอิตาลี เป็นเวทีระดับโลกในการโชว์ไอเดีย มุมมอง นวัตกรรมทางสถาปัตยกรรมทุกๆ 2 ปี มีสถาปิก ศิลปินจากนานาประเทศร่วมแสดงผลงาน สำหรับประเทศไทยเข้าร่วมนิทรรศการครั้งแรกเมื่อปี 2553  
    ปี 2564 นิทรรศการสถาปัตยกรรมนานาชาติ เวนิสเบียนนาเล ครั้งที่ 17 วันที่ 22 พ.ค. ถึงวันที่ 21 พ.ย. ภัณฑารักษ์ของผู้จัดนิทรรศการเวนิสเบียนนาเลตั้งโจทย์ว่า How will we Live together? หรือ เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร? ให้เหล่าศิลปินแสดงแนวคิดผ่านพื้นที่นิทรรศการของตน โดยพื้นที่นิทรรศการนี้กระจายตัวอยู่ทั่วเมืองเวนิส แต่มีจุดหลักภายในสวนสาธารณะ Giardini และอาคารเก่า Arsenale  
    ในส่วนพื้นที่นิทรรศการตัวแทนประเทศไทย (Thai Pavilion) โดยความร่วมมือของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม และสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แต่งตั้ง รศ.ดร.อภิรดี เกษมศุข เป็นภัณฑารักษ์ และศิลปินผู้ออกแบบพื้นที่นิทรรศการเลือก ผศ.บุญเสริม เปรมธาดา ศิลปินศิลปาธร ปี 2562 ซึ่งผลงานศิลปะร่วมสมัยที่จะเผยแพร่สู่สายตาผู้ชมในเวนิสเบียนนาเล ศิลปินไทยตั้งใจนำเสนอวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันระหว่างชาวกูยใน จ.สุรินทร์ กับช้าง ผ่านงานศิลปะจัดวางในพื้นที่ในลักษณะโครงสร้างบ้านคน-บ้านช้าง

 

ส่งมอบผลงาน "บ้านคน-บ้านช้าง" สัญลักษณ์การพึ่งพาอาศัยกันที่สุรินทร์ 


    ก่อนผลงานโครงสร้างบ้านคน-บ้านช้าง จะสู่สายตาชาวโลก ได้เผยแพร่นิทรรศการให้ผู้ชมในประเทศไทยได้รับรู้และภาคภูมิใจในวิถีวัฒนธรรมที่ผูกพันกับช้าง มีการติดตั้งผลงาน ณ ชุมชนคุณธรรมต้นแบบบ้านหนองบัว ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ พร้อมส่งมอบ "บ้านคน-บ้านช้าง” เมื่อวันช้างไทย 13 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยนายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วย รมว.วัฒนธรรม เป็นประธาน พร้อมด้วย ดร.วิมลลักษณ์ ชูชาติ ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ร่วมงาน

 

ดร.วิมลลักษณ์ ชูชาติ เผยนิทรรศการตัวแทนไทยในเวนิสเบียนนาเล 

 


    ดร.วิมลลักษณ์กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก สศร.พิจารณาร่วมกับคณะกรรมการอำนวยโครงการฯ ปรับรูปแบบการเผยแพร่ผลงาน "บ้านคน-บ้านช้าง” ที่ได้รับเลือก จากเดิมศิลปินจัดสร้างผลงานที่ประเทศไทยและนำไปจัดแสดงที่เมืองเวนิส แต่ให้ดำเนินการใน 2 พื้นที่ ได้แก่ จ.สุรินทร์ เพื่อให้คนในท้องถิ่นและคนไทยมีโอกาสชื่นชมผลงาน ขณะเดียวกันจะจัดส่งผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม "บ้านคน-บ้านช่าง” เพื่อติดตั้งและจัดแสดงที่เมืองเวนิส อิตาลี ภายในนิทรรศการยังมีบทความ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่น จ.สุรินทร์ รวมถึงช้างและคนอยู่ด้วยกันใกล้ชิด ผู้เข้าร่วมแสดงผลงานจาก 60 ประเทศ นักท่องเที่ยว ผู้ชมงานศิลปะอีกหลายแสนคนจะได้เห็นความงดงามของวัฒนธรรมไทย ลดภาพจำการใช้แรงงานช้างหรือนำช้างไปเร่ร่อนในเมือง อีกทั้งชวนคนมาเที่ยวสุรินทร์หลังโควิดคลี่คลาย  
    “ สศร.จะร่วมกับจังหวัดสุรินทร์ หาแนวทางกระตุ้นท่องเที่ยววัฒนธรรม เชื่อมโยงกับการเยี่ยมชมงานศิลปะ "บ้านคน-บ้านช้าง" ซึ่งในพื้นที่มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ ได้แก่ หมู่บ้านช้าง สุสานช้างที่วัดป่าอาเจียง บ้านตากลาง สถาบันคชศึกษา คชอาณาจักร มีโรงงานทำกระดาษสาจากมูลช้าง รวมถึงพิพิธภัณฑ์โครงการโลกของช้าง และหอชมวิว ออกแบบโดย ผศ.บุญเสริม เปรมธาดา ทั้งหมดนี้เกิดจากแนวคิดอนุรักษ์ช้าง และต้องการต่อยอดทุนวัฒนธรรม คนและช้างมีรายได้ที่ยั่งยืน" ผอ.สศร.กล่าว

ผศ.บุญเสริม เปรมธาดา ศิลปินศิลปาธร ผู้ออกแบบ
 


    ด้าน ผศ.บุญเสริม เปรมธาดา ศิลปินศิลปาธรผู้ออกแบบ เผยแรงบันดาลใจ "บ้านคน-บ้านช้าง" ว่า นำบ้านของชาวกูยและบ้านของช้างมาผสมกันเป็นโครงสร้างเดียว แสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างในหมู่บ้านชาวกูย จ.สุรินทร์ โครงสร้างผลงานมี 2 ส่วน หลังคาทรงจั่วหลังเตี้ยเป็นบ้านคน ส่วนที่เป็นหลังคาเสาเดี่ยวเหมือนบ้านช้าง หากเดินในหมู่บ้านจะเห็นสองสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นนี้กระจัดกระจายอยู่เต็มพื้นที่ ย้ำให้เห็นสองฝ่ายพึ่งพาอาศัยกันอย่างมีความสุข เป็นการสืบสานวัฒนธรรมด้วยศิลปะร่วมสมัย เราส่งข้อความและชวนผู้คนกลับมาทบทวนความหมาย How will we Live together?
    “ ผลงาน "บ้านคน-บ้านช้าง” ทั้งในไทยและที่จะเกิดขึ้น ณ อิตาลี นำเสนอสถาปัตยกรรมบริสุทธิ์ ไม่ต้องหรูหรา สื่อสารให้โลกรับรู้จิตวิญญาณการอยู่ร่วมกันโดยไม่แบ่งแยก ทั้งคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม จะเป็นสัญลักษณ์รวมจิตใจคนและช้าง" ศิลปินศิลปาธรบอกถึงผลงานที่ต่อยอดทุนวัฒนธรรมในไทยสู่เวทีนานาชาติ


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"