พลันศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยปมปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 11 มี.ค. “โดยมติเสียงข้างมากวินิจฉัยว่า รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชนลงมติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้ง”
ปมประเด็นรัฐสภามีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ เรื่องนี้กระจ่างชัด แต่พอถึงหัวข้อ การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องถามประชาชนก่อน และเมื่อมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) แล้ว ต้องทำประชามติอีกรอบ ตรงประเด็นนี้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง
พรรคการเมือง นักการเมือง ต่างจับประเด็นตีความไปคนละทิศ คนละทาง ต่างฝ่ายต่างเปิดตำรากฎหมาย วินิจฉัยตามความเห็นของตัวเอง สุดท้ายเลยยังไม่แน่ชัด 17-18 มี.ค. ตามที่ ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา นัดประชุมร่วมรัฐสภา พิจารณาวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสามารถโหวตได้หรือไม่
ส.ว.บางคนฟันธง รัฐธรรมนูญที่เคยแก้มาตั้งแต่วาระ 1-2 โมฆะหรือไม่ ก็ต้องทำประชามติก่อนที่จะมีการโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 พรรคร่วมรัฐบาล พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ ต่างเร่งประชุม ถกเถียงกันเคร่งเครียดเหมือนกัน ขณะที่ฝ่ายค้าน พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย เปิดตำราทางกฎหมาย ต่างยืนยันไปในทิศทางเดียวกัน สามารถโหวตวาระ 3 ได้ จากนั้นค่อยไปทำประชามติ เข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ แล้วค่อยทำประชามติสอบถามประชาชนอีกรอบ
พรรคร่วมรัฐบาล พรรคร่วมฝ่ายค้าน สมาชิกวุฒิสภา ต่างตีความคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญไปคนละมุม เกิดข้อถกเถียงอย่างกว้างขวาง เป็นเหตุให้นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ต้องนัดหมาย 3 ฝ่าย ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ฝ่ายสมาชิกวุฒิสภา ส่งตัวแทนมาร่วมถกหาทางออกในคำวินิจฉัย ในวันที่ 16 มี.ค. ก่อนจะถึงวันลงมติจริง
ขณะที่ ศาลรัฐธรรมนูญทราบถึงกระแสสังคมที่ตีความไปคนละมุม เตรียมประชุมจัดทำคำวินิจฉัยกลางออกมาก่อนถึงวันประชุมร่วมรัฐสภา 17-18 มี.ค. เพื่อให้เคลียร์ชัด คลายข้อสงสัยของสังคมและนักการเมืองให้แน่ชัด สุดท้ายแล้วสิ่งที่สงสัย โดยเฉพาะเรื่องการทำประชามติ ต้องทำก่อนโหวตวาระ 3 หรือหลังโหวตวาระ 3 กันแน่
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อดูปฏิกิริยาความเคลื่อนไหวในซีกของพรรคร่วมฝ่ายค้าน มีทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ในประเด็นเห็นด้วย ทุกคนต่างเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2560 ที่บังคับใช้มีปัญหาจริง
เพียงแต่เมื่อลงไปในรายละเอียด การแก้ไขหมวด 1-2 แม้แต่ในซีกฝ่ายค้าน ยังมองต่างมุม ซีกเพื่อไทย ส.ส.หลายคนต่างเห็นด้วยที่จะไม่มีการแก้ไขในหมวด 1-2 รวมไปถึง กลุ่มสร้างไทย ที่แม้จะประกาศแยกตัวออกไปแล้ว ก็ยืนยันในหลักการเดียวกัน ที่ไม่ขอแตะในหมวดนี้ ทว่าพรรคก้าวไกลมองอีกมุม มี ส.ส.บางคนให้ความเห็น กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ในชั้นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ไม่ควรไปกำหนดกฎเกณฑ์ว่าหมวดใด มาตราใด ควรจะได้รับการแก้ไข หรือไม่แก้ไข
เพื่อไทย ในฐานะอยู่ในสนามการเมืองมานาน มองการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามความเป็นจริง ยากที่จะมีการแก้ไขใหญ่เกือบทั้งฉบับ แต่ที่ไม่ขวางก้าวไกลที่มีความคิดไปไกล กลัวว่าจะเกิดศึกกระทบกระทั่งกันเอง เลยปล่อยเลยตามเลย แต่ในเบื้องลึกเซียนการเมืองในเพื่อไทยต่างมองออกตั้งแต่แรกแล้วว่า รัฐธรรมนูญจะไม่ได้รับการแก้ไข หรืออย่างดีที่สุด มีการแก้ไขเพียงแค่เล็กน้อย บางมาตราเท่านั้น
ตั้งเป้า รื้อเล็ก แก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราที่มีปัญหา ส่งผลกระทบ อาทิ บัตรเลือกตั้ง การคิดคะแนนเพื่อให้ได้มาซึ่ง ส.ส. อำนาจ ส.ว. เป็นต้น โดยไม่ต้องการเข้าไปแตะเชิงโครงสร้างอำนาจมากนัก ตรงกันข้ามกับก้าวไกล แนวร่วมกลุ่มม็อบ 3 นิ้ว ที่ยืนยันในทิศทางเดียวกัน นอกจากรัฐธรรมนูญต้องได้รับการแก้ไขแล้ว ปัญหาในเชิงโครงสร้างอำนาจ ตามที่พวกเขาได้เคยเคลื่อนไหวเรียกร้องมา ต้องได้รับการแก้ไข
บทสรุปรัฐธรรมนูญจะลงเอยอย่างไร ออกได้สามหน้า 1.ไม่ได้รับการแก้ไข 2.แก้ไขได้ แก้ไขใหญ่ เกือบทั้งฉบับ ซึ่งกระบวนการต้องใช้เวลายาวนานเกือบสองปี หรือ 3.วกกลับมาแก้ไขได้ เพียงแต่เป็นรายมาตรา ดูเฉพาะปมประเด็นที่เป็นปัญหาจริงๆ
ไม่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะถูกโหวตคว่ำ แก้ไขเล็ก แก้ไขใหญ่ เพื่อไทยที่อยู่เป็น เย็นพอ รอได้ เตรียมทางออก พร้อมกำหนดจังหวะเดินเอาไว้แล้ว ทุกทาง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |