เนื่องในโอกาสวันอ้วนโลก (World Obesity Day) เมื่อเร็วๆ นี้ “ศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย Smart Life Antiaging Center โรงพยาบาลพญาไท 1” ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่พนักงาน เพื่อให้ตระหนักถึงผลของโรคอ้วนต่อสุขภาพ
พญ.ธิศรา วีรสมัย หัวหน้าศูนย์สุขภาพสตรีและหัวหน้าศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย กล่าวว่า ปัจจุบัน "อ้วน" จัดเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอ้วนลงพุงจัดเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ซึ่งเป็นโรคที่ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต และหากการดําเนินโรคต่อเนื่องไม่ได้รับการรักษาจะนําไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง หรือเพิ่มอัตราการเสียชีวิตได้ การจัดงานในโอกาสช่วงของวันอ้วนโลก (World Obesity Day) ในปีนี้เรามีแนวคิดเพิ่มเติมขึ้นอีกว่า คนไข้โรคอ้วนไม่ได้มีเฉพาะในคลินิกโรคอ้วน แต่มีในทุกๆ คลินิก และในทุกๆ วอร์ดผู้ป่วย เพียงแต่หลายคนอาจยังไม่ตระหนักถึงความสําคัญในการดูแลรักษาสุขภาพ
ดังนั้นการอบรมบุคลากรในโรงพยาบาลทุกแผนกจึงมีความสําคัญ เพราะทุกคนจะสามารถนำความรู้ไปแนะนําคนไข้ที่บุคลากรทางการแพทย์แต่ละคนได้ร่วมดูแลให้ตระหนักถึงการรักษาโรคอ้วน ก่อนที่จะเกิดโรคต่างๆ ตามมา นอกจากนี้ยังมีบุคลากรหลายคนที่เราได้ให้การรักษาลดน้ำหนักได้ผล และส่งผลดีตามมามากมายต่อสุขภาพทั้งสุขภาพกายและใจ เขาก็จะสามารถส่งต่อประสบการณ์และเป็นแรงบันดาลใจทั้งต่อเพื่อนร่วมงานและคนไข้ที่ดูแลให้หันมาใส่ใจรักษา ปรึกษาแพทย์ดูแลแบบองค์รวม เพื่อการลดน้ำหนักอย่างถูกต้องและป้องกันการเกิดโรคต่อไป
"ในฐานะที่เป็นสูติแพทย์ต้องบอกว่า ความอ้วนยังเป็นปัญหาใหญ่ในคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในขณะตั้งครรภ์ได้ 14-20 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์และการรับประทาน ขณะตั้งครรภ์มีคุณแม่ท้องหลายคนที่กลายเป็นโรคอ้วนหลังจากคลอดบุตร ส่งผลต่อสุขภาพตามมา การดูแลโภชนาการที่ถูกต้องขณะตั้งครรภ์ ร่วมกับการตรวจอัลตราซาวด์ ดูวงจรเจริญเติบโตของลูกในครรภ์ จะช่วยให้รู้ถึงน้ำหนักที่ควรขึ้นอย่างเหมาะสมและการดูแลหลังคลอด รวมทั้งการดูแลเรื่องโภชนาการ การออกกําลังกาย และรักษาด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงตามปัญหาสุขภาพโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยให้คุณแม่ลดน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย คืนความมั่นใจให้กลับมาเป็นคุณแม่ที่สวยสมวัย และมีความสุขกับการเลี้ยงลูกด้วย" พญ.ธิศรากล่าว
คุณสุภาสินี ศิลป์สาคร นักกำหนดอาหารวิชาชีพ โรงพยาบาลพญาไท 1 เผยว่า “สำหรับรูปแบบอาหารสำหรับการควบคุมน้ำหนัก ได้แก่ เมดิเตอร์เรเนียนไดเอต (MEDITERRANEAN DIET) คือวัฒนธรรมการบริโภคอาหารในกลุ่ม 15 ประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เน้นการบริโภคอาหารในท้องถิ่นตามทรัพยากรที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เป็นอาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อย เน้นการบริโภคธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้ ถั่วต่างๆ เน้นปลาเป็นโปรตีนสำคัญ จำกัดการบริโภคเนื้อแดง เลือก รับประทานไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acid) เช่น น้ำมันมะกอก รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณพอเหมาะ
เมดิเตอร์เรเนียนไดเอตเป็นแนวทางการเลือกรับประทานอาหารที่มีจุดเด่นคือ มีสัดส่วนของไขมันสูง แต่เป็นไขมันชนิดที่ดี มีสัดส่วนคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนอยู่ในระดับปานกลาง ทำให้ร่างกายได้รับวิตามินและสารอาหารต่างๆ ครบถ้วน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ โรคเรื้อรังต่างๆ ช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกาย รวมถึงช่วยส่งเสริมในเรื่องของการควบคุมน้ำหนัก ซึ่งมีการันตีจากผลงานวิจัยวารสารทางการแพทย์หลายฉบับ เป็นการลดน้ำหนักแบบยั่งยืน และค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากไม่ต้องอดอาหาร ใช้หลักการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย พอเหมาะและหลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งจะทำให้การลดน้ำหนักมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สำหรับหลักการของโลว์คาร์โบไฮเดรต ไดเอต (Low-carbohydrate) หรือการลดน้ำหนักโดยพร่องแป้ง คือการจำกัดปริมาณของคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานในแต่ละวัน โดยให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหารประเภทโปรตีนและไขมันในสัดส่วนที่สูงขึ้น กล่าวคือ การจำกัดปริมาณการรับประทานอาหารประเภทข้าว แป้ง และน้ำตาล เลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ ข้าวไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีต โปรตีนคุณภาพดี ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่ไม่มีไขมัน อกไก่ เนื้อหมูปลา ไข่ไก่ และไขมันชนิดที่ดี การบริโภคแป้งและน้ำตาลในปริมาณที่น้อยจะทำให้ร่างกายจำเป็นต้องดึงไขมันที่สะสมมาใช้เป็นพลังงานทดแทน ส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลงได้ อาหารโลว์คาร์โบไฮเดรตจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการลดน้ำหนักและไขมันในร่างกาย แต่จำเป็นต้องได้รับโปรตีนและไขมันอย่างเพียงพอ รวมถึงการออกกำลังกายที่เหมาะสม และการจำกัดอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |