หึ่ง!ก๊วนกทม.เซ็งถูกริบรมต.


เพิ่มเพื่อน    

  สะพัด กลุ่ม กทม.พลังประชารัฐฉุนหนักไม่พอใจโผปรับ ครม. เหตุโดนริบโควตาเรียบ หลังหมดยุค "ณัฏฐพล-พุทธิพงษ์" ทั้งที่มี ส.ส.เขต 12 คน ขู่อาจเสียแชมป์ กทม. แต่สอง ส.ส.เขตรีบปฏิเสธพัลวัน ไม่ติดใจหากวืดหมด

    เมื่อวันที่ 14 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคพลังประชารัฐ ถึงความคืบหน้าการปรับคณะรัฐมนตรี ที่เริ่มมีความชัดเจนถึงรายชื่อที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เสนอไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และ รมว.กลาโหม เป็น น.ส.ตรีนุช เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว และนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
    มีรายงานว่า จากข่าวเรื่อง น.ส.ตรีนุช เทียนทอง จะเป็น รมว.ศึกษาธิการ และนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ จะได้เป็น รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) นั้น ได้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ภายในพรรคว่า การเสนอรายชื่อดังกล่าวไม่ตอบโจทย์การเกลี่ยโควตาภาคที่อ้างอิงจำนวน ส.ส.ของแต่ละกลุ่ม ตามที่เคยหารือในการประชุมพรรคที่มี พล.อ.ประวิตรเป็นประธานเมื่อวันที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของ ส.ส.ภาคใต้ ที่รอบนี้ก็ยังไม่ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี รวมไปถึงภาค กทม. ที่เมื่อนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ และนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ หลุดจากตำแหน่งไป ทำให้ไม่เหลือรัฐมนตรีที่เป็นสายตรงของภาค กทม.แม้แต่คนเดียว
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีดังกล่าวทำให้มีการพูดคุยกันในกลุ่ม ส.ส.กทม. ว่าในการประชุมพรรควันที่ 16 มี.ค.นี้ จะมีการเสนอให้ พล.อ.ประวิตรทบทวนการพิจารณาเสนอชื่อ เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการเสียโอกาสการทำพื้นที่ใน กทม. ที่กำลังจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. รวมถึงการเลือกตั้งใหญ่ในอนาคต เนื่องจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา พรรคพลังประชารัฐได้ ส.ส.กทม.มากที่สุด 12 ที่นั่ง และคะแนน ส.ส.เขตของ กทม.ของพรรครวมทุกเขตได้ถึงกว่า 8 แสนคะแนน แม้ความนิยมส่วนหนึ่งมาจากกระแส พล.อ.ประยุทธ์ แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดกระแสนี้ได้คือการจัดตั้งของทีม ส.ก.-ส.ข. และเจ้าของพื้นที่ซึ่งเป็น ส.ส.จากกลุ่ม กทม. กลับกัน บางจังหวัดที่มีรัฐมนตรีไม่สอดคล้องกับฐานคะแนนเสียงของพรรค อาทิ จ.ชลบุรี คะแนนรวมของพรรค 3 แสนคะแนน มี ส.ส. 5 คน แต่มีรัฐมนตรี 2 คน, จ.พะเยา ฐานคะแนน 1.2 แสนคะแนน ส.ส. 2 คน มีรัฐมนตรี 1 คน, จ.สุโขทัย ฐานคะแนน 1.1 แสนคะแนน ส.ส. 2 คน มีรัฐมนตรี 1 คน หรือ จ.สิงห์บุรี ฐานคะแนน 4.8 หมื่นคะแนน ส.ส. 1 คน กำลังจะมีรัฐมนตรี 1 คน เป็นต้น
    "ส.ส.ส่วนใหญ่ไม่ติดใจเรื่องตัวบุคคล แต่อยากให้ผู้ใหญ่คำนึงถึงการทำพื้นที่ที่ควรมีรัฐมนตรีดูแลรับผิดชอบ โดยเฉพาะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.และ ส.ก. ที่จะเลือกในปีนี้ และอีกไม่เกิน 2 ปีก็จะมีการเลือกตั้งใหญ่ หากเป็นเช่นนี้ พรรคพลังประชารัฐอาจเสียแชมป์ ส.ส.กทม." แหล่งข่าวจากพรรคพลังประชารัฐระบุ
    แหล่งข่าวจากพรรคพลังประชารัฐสาย กทม.กล่าวต่อไปว่า วงพูดคุยของ ส.ส.กทม.ยังพูดกันด้วยว่า ถ้าการปรับ ครม.เป็นไปตามกระแสข่าว โดยไม่มีรัฐมนตรีจากสัดส่วน กทม. ย่อมเกิดผลกระทบต่อคะแนนนิยมของรัฐบาลและของพรรคใน กทม.อย่างแน่นอน โดยเฉพาะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในเร็วๆ นี้ ในกลุ่ม กทม.มีความเป็นห่วงว่าพรรคพลังประชารัฐจะสูญเสียคะแนนจัดตั้งเดิมที่เคยช่วยพรรคในการเลือกตั้งใหญ่ แล้วอาจตีกลับไปให้คู่แข่งที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายของพรรค ทั้งพรรคก้าวไกลที่เจาะกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ กลุ่มของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ที่กำลังจะตั้งพรรคใหม่ และกลุ่มการเมืองที่เข้มแข็งใน กทม. หรือแม้กระทั่งตัวเต็งสนามผู้ว่าฯ กทม.อย่างนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รมว.คมนาคม ทั้งหมดนี้ประกาศอย่างชัดเจนว่าไม่มีวันสังฆกรรมกับพรรคพลังประชารัฐมาโดยตลอด หรือกระทั่งพรรคประชาธิปัตย์เองก็กำลังรอโอกาสทวงพื้นที่ กทม.คืน ที่สำคัญต้องไม่ลืมว่า กทม.เป็นเมืองหลวงของประเทศ ผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.จะเป็นเสียงสะท้อนในการตัดสินอนาคตของรัฐบาล และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงต่อการเมืองในระดับชาติอยู่เสมอ เหมือนทฤษฎีที่ว่า "คนชนบทเลือกรัฐบาล คน กทม.ล้มรัฐบาล"
    อย่างไรก็ตาม ข่าวดังกล่าว ทางด้าน ส.ส.กทม.พลังประชารัฐ ก็ออกมาปฏิเสธทันที
    โดยนายจักรพันธ์ พรนิมิตร ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานภาค ส.ส.กทม. กล่าวว่า ได้อ่านข่าวว่ามีกลุ่ม ส.ส.กทม.เรียกร้องให้มีการแต่งตั้งรัฐมนตรีมาจากตัวแทนกลุ่ม ส.ส.กทม.แล้วทำให้รู้สึกไม่สบายใจ เพราะข่าวนี้ไม่เป็นความจริง กลุ่ม ส.ส.กทม.เห็นด้วยที่จะให้หัวหน้าพรรคเป็นผู้คัดเลือกและส่งรายชื่อรัฐมนตรีเพื่อให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา โดยไม่ต้องคำนึงถึงโควตากลุ่ม กทม.หรือกลุ่มจังหวัดใดๆ ทั้งสิ้น เพราะเชื่อมั่นในหัวหน้าพรรค ว่าจะคัดเลือกคนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานให้บ้านเมือง และ ส.ส.พลังประชารัฐทุกคนมีความรักความสามัคคีกัน ไม่ได้มีการแบ่งแยกเป็นกลุ่มภาคหรือกลุ่มจังหวัด ทุกคนพร้อมที่จะทำงานร่วมกันกับรัฐมนตรีทุกคน  
    นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ส.ส.กทม.ไม่เคยมีปัญหาในเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ และไม่ได้เรียกร้องให้มีการแต่งตั้งรัฐมนตรีในโควตา กทม. ส.ส. กทม.ทุกคนเชื่อมั่นว่าพวกเราและพรรคพลังประชารัฐพร้อมที่จะทำงานรับใช้ชาวกรุงเทพฯ โดยไม่จำเป็นต้องมีรัฐมนตรีในโควตาของ กทม. ตามที่มีแหล่งข่าวนำมากล่าวอ้าง
    ด้านนายภราดร ปริศนานันทกุล โฆษกพรรคภูมิใจไทย และ ส.ส.อ่างทอง กล่าวถึงบทลงโทษสำหรับ 6 ส.ส.กลุ่มดาวฤกษ์ พรรคพลังประชารัฐ ที่โหวตญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจสวนทางกับวิปพรรคร่วมรัฐบาลว่า จนถึงขณะนี้พรรคภูมิใจไทยยังรอผลการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารพรรคว่าบทลงโทษสำหรับ 6 ส.ส.กลุ่มดาวฤกษ์จะถูกดำเนินการอย่างไร
     “เราต้องการความชัดเจนจากพรรคแกนนำรัฐบาลว่าจะมีบทลงโทษอย่างไรกันแน่ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลสั่นคลอน เพราะนั่นคือความศักดิ์สิทธิ์ของมติพรรคร่วมรัฐบาล หากมีคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งทำได้ ต่อไปก็จะมีกลุ่มอื่นๆตามมา พรรคแกนนำจึงควรจะมีมาตรการทำโทษที่ชัดเจนออกมาเป็นแนวทาง เรายังรอผู้บริหารพรรคพลังประชารัฐ ว่าจะมีมติอย่างไร แล้วแจ้งกลับมาให้พรรคภูมิใจไทย หลังจากนั้นพรรคภูมิใจไทยจะมีการแนวทางต่อไป” นายภราดรกล่าว
    วันเดียวกันนี้ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชนเรื่อง “ทำไม พรรคประชาธิปัตย์พ่ายเลือกตั้งซ่อมนครศรีธรรมราช” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในภาคใต้
จำนวน 1,317 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสาเหตุที่พรรคประชาธิปัตย์พ่ายเลือกตั้งซ่อมจังหวัดนครศรีธรรมราช
    จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงสาเหตุที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งซ่อมที่นครศรีธรรมราช (7 มีนาคม 2564) พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 46.62 ระบุว่าประชาชนเบื่อ/ไม่ชอบวิธีการดำเนินงานทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ รองลงมา ร้อยละ 18.53 ระบุว่ากระแส/ผลงานพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในภาคใต้ ทำให้พรรคพลังประชารัฐชนะการเลือกตั้ง, ร้อยละ 16.17 ระบุว่ากระแส/ผลงานนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ในภาคใต้ ยังไม่แข็งแกร่งเพียงพอ
    เมื่อถามถึงสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ควรทำเพื่อให้ภาคใต้ยังคงเป็นฐานเสียงหลักของพรรค พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 45.94 ระบุว่า    ส.ส. อดีต ส.ส. และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคควรลงพื้นที่ดูแลประชาชนให้มากขึ้น รองลงมา ร้อยละ 41.38 ระบุว่าผู้บริหารพรรคควรทุ่มเทและแสดงผลงานให้เด่นชัดมากขึ้น, ร้อยละ 33.86 ระบุว่าพรรคควรปรับวิธีการดำเนินงานและยุทธศาสตร์ทางการเมืองของพรรค และร้อยละ 9.72 ระบุว่าควรเปลี่ยนหัวหน้าพรรค.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"