14 มี.ค.2564 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ครอบครัวไทยในยุคโควิด-19” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,184 คน สำรวจวันที่ 9 – 12 มีนาคม 2564 พบว่า ในยุคโควิด-19 ปัญหาครอบครัวที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาหนี้สิน ร้อยละ 75.41 หากมองในแง่บวกเห็นว่าโควิด-19 ทำให้ระมัดระวังในการใช้ชีวิตมากขึ้น ร้อยละ 70.28 พฤติกรรมครอบครัวไทยที่เพิ่มขึ้น คือ การดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว ร้อยละ 75.17 พฤติกรรมที่ลดลง คือ การเดินทางท่องเที่ยว ร้อยละ 63.77 ปัญหาหนักอกเกี่ยวกับครอบครัว คือ รายรับไม่พอกับรายจ่าย ร้อยละ 44.27
ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังมีโควิด-19 ปัญหาครอบครัวไทยก็ยังเป็นเรื่องปากท้อง รายได้ หนี้สิน ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีเรื่องเศรษฐกิจก็ยังเป็นปัญหาหลักของคนไทย ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะมองเห็นปัญหาระดับจุลภาคนี้หรือไม่ และจะมีแนวทางในการแก้ไขทั้งในระดับประเทศและระดับครัวเรือนอย่างไร เพราะครอบครัวนั้นเป็นหน่วยเริ่มต้นของสังคม ถ้าทุกครอบครัวอยู่ดีมีเงินใช้ก็ย่อมส่งผลให้ภาพรวมคุณภาพชีวิตของคนไทยนั้นดีมีความสุขนั่นเอง
ผศ.ดร.พิมพ์มาดา วิชาศิลป์ คณบดีโรงเรียนท่องเที่ยวและการบริการมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จากผลการสำรวจของสวนดุสิตโพล เรื่องครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 นั้น พบว่าผลกระทบเชิงลบหลักที่เกิดขึ้นเป็นประเด็นเศรษฐกิจ คือ ปัญหาการตกงาน ว่างงาน ส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ก่อให้เกิดหนี้สินตามมาและเกิดสภาวะความเครียด ซึ่งความเครียดนั้นมิได้มีเพียงแค่ปัญหาปากท้องเท่านั้น แต่มีความเครียดที่มาจากความกังวลใจในเรื่องของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วย จะเห็นได้ว่าผู้คนติดตามข่าวสารและสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่สุ่มเสี่ยง ส่งผลให้การเดินทางท่องเที่ยวลดลงไปอย่างมีนัยสำคัญ
อย่างไรก็ตาม ในสภาวการณ์แพร่ระบาดนี้ ข้อดีที่เห็นได้ชัดคือการที่ครอบครัวได้อยู่ร่วมกันพร้อมหน้าพร้อมตาร่วมดูแล ให้กำลังใจซึ่งกันและกันเพื่อก้าวข้ามผ่านสภาวการณ์เช่นนี้ไปได้ด้วยพลังใจที่เข้มแข็ง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |