คะแนนรบ.ผ่านฉิวเฉียดฝีมือศก.ห่วย


เพิ่มเพื่อน    

 

 

  โพลสะท้อน 4 ปี คสช.เกือบสอบตก  "ปชช." ให้ 5.42 จากเต็ม 10 คะแนน ผิดหวัง ศก.ปากท้องไม่ดี ข้าวของแพง โครงการรัฐมีคอร์รัปชัน แต่ชื่นชมบ้านเมืองสงบ ไม่มีชุมนุมประท้วง ฝากให้รีบจัดเลือกตั้งโดยเร็ว "โพลนักศึกษา" ส่วนใหญ่ยี้ท็อปบูตบริหารประเทศ อ้างโดนปิดกั้นความคิด "พท." ได้ทีขย่มซ้ำ จี้ปลดล็อกการเมืองคืนความสุขคนไทย

    เมื่อวันอาทิตย์ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่ติดตามการทำงานของรัฐบาล ถึงการครบรอบ 4 ปี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยการนำของ                    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวันที่ 22 พ.ค.2561 จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,346 คน ระหว่างวันที่ 15-19 พ.ค.2561 พบจากคะแนนเต็ม 10 ประชาชนให้รัฐบาล คสช. 5.42 คะแนน
    ส่วนสิ่งที่ประชาชนสมหวังใน 4 ปีรัฐบาล คสช. มากที่สุด ร้อยละ 56.45 เรื่องบ้านเมืองสงบ ไม่มีการชุมนุมประท้วงที่รุนแรง รองลงมาร้อยละ 30.88 คือการใช้กฎหมายเด็ดขาด เช่น ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ยาเสพติด ผู้มีอิทธิพล ตามมาด้วยการจัดระเบียบพื้นที่ต่างๆ เช่น สถานที่ท่องเที่ยว พื้นที่ป่าไม้ ร้อยละ 24.65 การพัฒนาระบบคมนาคม โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ร้อยละ 18.20 และช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เพิ่มเบี้ยยังชีพ ขึ้นค่าแรง ร้อยละ 17.05
    ขณะที่สิ่งที่ประชาชนผิดหวังใน 4 ปีรัฐบาล คสช. อันดับแรก ร้อยละ 41.78 เป็นเรื่องเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น สินค้าแพง ประชาชนเดือดร้อน รองลงมา ร้อยละ 34.22 มีการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการต่างๆ ของภาครัฐ ตามมาด้วยร้อยละ 19.66 การแก้ไขปัญหาล่าช้า ทำงานช้า,   ร้อยละ 15.31 การใช้กฎหมายไม่เป็นธรรม เช่น การใช้มาตรา 44 และร้อยละ 13.23 ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ
    ต่อคำถามที่ว่า สิ่งที่ประชาชนอยากฝากถึงรัฐบาล คสช. ก่อนการเลือกตั้งจะมีขึ้นในปีหน้า ส่วนใหญ่ร้อยละ 32.02 ระบุให้จัดการเลือกตั้งโดยเร็ว หาแนวทางป้องกันการทุจริตเลือกตั้ง ตามด้วยร้อยละ 27.23 อยากให้ตั้งใจทำงาน ซื่อสัตย์ โปร่งใส ไม่เห็นแก่พวกพ้อง, ร้อยละ 23.91 ให้แก้ปัญหาปากท้องของประชาชน พัฒนาเศรษฐกิจให้ดีขึ้น, ร้อยละ 15.38 แก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และร้อยละ 11.23 ให้ใช้อำนาจอย่างเหมาะสม เป็นธรรม ไม่แทรกแซง
     เช่นเดียวกับนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “4 ปี คสช. กับการคืนความสุขให้คนในชาติ” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 46.85 ระบุมีความสุขเท่าเดิม เพราะยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ชีวิตความเป็นอยู่ยังคงเหมือนเดิม การบริหารงานไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิม เศรษฐกิจและค่าครองชีพยังสูงเช่นเดิม รองลงมาร้อยละ 27.69 ระบุมีความสุขเพิ่มขึ้น เพราะไม่มีการชุมนุมและความวุ่นวายทางการเมือง บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อยมากขึ้น คณะทำงาน คสช.มีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการทำงาน ทำให้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันลดลง และร้อยละ 25.46 ระบุมีความสุขลดลง เพราะเศรษฐกิจปากท้องของประชาชนแย่ลง 
    เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ 3 ปี คสช. กับการคืนความสุขให้คนในชาติ ที่ทำการสำรวจเมื่อเดือนพ.ค.2560 พบสัดส่วนของผู้ที่มีความสุขเพิ่มขึ้นมีสัดส่วนลดลง ขณะที่สัดส่วนของผู้ที่มีความสุขเท่าเดิมมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับสัดส่วนของผู้ที่มีความสุขลดลงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น   
    ต่อความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารราชการแผ่นดินครบรอบ 4 ปีของ คสช. ในประเด็นต่าง ๆ ที่ทำให้มีความสุขมากที่สุด พบส่วนใหญ่ร้อยละ 52.99 ระบุเป็นเรื่องของบ้านเมืองสงบเรียบร้อยไม่มีความวุ่นวายทางการเมือง รองลงมา ร้อยละ 16.76 ระบุ ไม่มีประเด็นใดที่ทำให้มีความสุข, ร้อยละ 9.66 ระบุว่า เป็นการมุ่งแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน, ร้อยละ 6.15 ระบุ  เป็นการจัดระเบียบสังคม เช่น การจัดระเบียบทางเท้า การจัดระเบียบชายหาด, ร้อยละ 4.95 ระบุเป็นการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพประชาชน 
    ถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารราชการแผ่นดินครบรอบ 4 ปีของ คสช. ในประเด็นต่างๆ ที่ยังไม่สามารถทำให้มีความสุข พบประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 30.81 ระบุเป็นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในภาพรวม รองลงมา ร้อยละ 15.08 ระบุเป็นการแก้ไขปัญหาปากท้องเกษตรกร, ร้อยละ 11.89 ระบุเป็นการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพประชาชน, ร้อยละ 11.49 ระบุ เป็นการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน 
    วันเดียวกัน เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) แถลงข่าวและอภิปรายผลการสำรวจความคิดเห็นทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัย จากนักศึกษา 2,175 คน 19 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ พบว่า ร้อยละ 72.6 มองการรัฐประหารแก้ปัญหาไม่ได้ ขณะที่ร้อยละ 27.4 มองว่าแก้ปัญหาได้ 
    ส่วนเรื่องผลการทำงานของรัฐบาล คสช.ในรอบ 4 ปี พบส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.6 มองว่าแย่ถึงแย่มาก ขณะที่ร้อยละ 29.4 มองว่าดีถึงดีเยี่ยม ส่วนคำถามว่าทหารที่ยึดอำนาจสามารถบริหารประเทศได้ดีกว่านักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งหรือไม่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.2 มองว่าไม่เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 13.8 มองว่าเห็นด้วย ส่วนการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.9 ระบุว่าจะไปเลือกตั้ง, ร้อยละ 21.6 ระบุว่ายังไม่ตัดสินใจ และร้อยละ 4.2 ระบุว่าไม่ไป 
    ในเรื่องนายกฯ คนนอก ร้อยละ 75.2 ไม่เห็นด้วยที่จะมีนายกฯ คนนอก, ร้อยละ 24.8 เห็นด้วยที่จะมีนายกฯ คนนอก ส่วนคนที่อยากให้เป็นนายกฯ นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.6 ไม่ระบุเจาะจงใคร โดยในส่วนนี้แยกเป็นร้อยละ 35 ระบุว่าเลือกใครก็ได้ที่ไม่ใช่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองลงมาร้อยละ 6.8 เลือกนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ, ร้อยละ 5.7 เลือกนายทักษิณ ชินวัตร, ร้อยละ 4.1 เลือกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, ร้อยละ 1.9 เลือก พล.อ.ประยุทธ์ และนายพริษฐ์ วัชรสินธุ หรือไอติม เป็นต้น ส่วนการเลือกพรรคใดนั้น พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 22.7 เลือกพรรคประชาธิปัตย์, ร้อยละ 21.6 เลือกพรรคที่เป็นทางเลือกใหม่ๆ, ร้อยละ 20.3 เลือกพรรคเพื่อไทย เป็นต้น
     นายสามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลทำอยู่นี้เป็นการปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ เพราะผลโพลระบุว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความสนใจทางการเมืองในระดับปานกลาง แต่การมีส่วนร่วมทางการเมืองน้อย เพราะที่ผ่านมาทหารเข้าไปคุกคามนักศึกษาอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการทำกิจกรรมต่างๆ ของนักศึกษา ซึ่งจะทำให้ถอยหลังไปสู่การเมืองแบบเก่า เพราะผู้สูงอายุผูกขาดการบริหารบ้านเมือง และปิดกั้นการคิดเชิงวิพากษ์ของคนรุ่นใหม่ 
    "ความเชื่อมั่นเรื่องคุณธรรมจริยธรรมของรัฐบาลนั้นนักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่น เพราะหลายๆ ปัญหาทั้งการปราบโกง การคุ้มครองประชาชน แก้คอร์รัปชันนั้น นักศึกษาไม่เชื่อว่าจะสามารถปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ขณะเดียวกันความเชื่อมั่นของทหารในการบริหารประเทศก็ลดลงตามไปด้วย" นายสามชายระบุ
    ด้านนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง 4 ปี คสช.กับการคืนความสุขให้คนในชาติว่า จากการสำรวจไม่เห็นว่าการคืนความสุขของ คสช.นั้น ประชาชนได้รับความสุขมากขึ้น 4 ปีหลังรัฐประหารผ่านไป ความสุขคนไทย มีแต่ทรงกับทรุด ดังนั้นอยากให้ คสช.รับฟังความคิดเห็นของประชาชน นักวิชาการ หรือแม้แต่นักการเมือง ไม่ควรมีทัศนคติเป็นลบว่าเป็นความเห็นจากฝ่ายที่เป็นศัตรูกัน หรือมองความเห็นเหล่านั้นอย่างมีอคติ อย่างน้อยเวลาที่เหลือ 8-9 เดือน
    "ก่อนการเลือกตั้ง ถ้าได้ฟังเสียงสะท้อนเหล่านี้นำไปปรับปรุงการทำงาน เปิดพื้นที่เสรีภาพในการแสดงความเห็นที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เปิดพื้นที่เสรีภาพ ปลดล็อกทางการเมือง คนไทยที่มีความปรารถนาดีต่อกันจะได้ออกมาช่วยกันนำบ้านเมืองเดินไปข้างหน้าร่วมกัน" รักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าว.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"