นิทรรศการสถาปัตยกรรมอยู่ร่วมกัน"บ้านคน-บ้านช้าง"เมืองสุรินทร์ ผงาดโชว์ในงาน"เวนิส เบียนนาเล่ อิตาลี "


เพิ่มเพื่อน    


 13 มี.ค. 64-นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดงานสืบสานงานบุญวันช้างไทยจังหวัดสุรินทร์และ"วิถีชุมชน คนรักษ์ช้าง สร้างชื่อไทย" พร้อมส่งมอบผลงาน"บ้านคน บ้านช้าง " ให้จังหวัดสุรินทร์ ณ ชุมชนคุณธรรมบ้านหนองบัวตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

ดร.วิมลลักษณ์ ชูชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายในงานสืบสานงานบุญวันช้างไทยจังหวัดสุรินทร์ และ “วิถีชุมชน คนรักษ์ช้าง สร้างชื่อไทย”  ว่า สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) ร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ คัดเลือกผลงานของศิลปินไทยเข้าร่วมจัดนิทรรศการสถาปัตยกรรมนานาชาติ เวนิสเบียนนาเล่  ครั้งที่ 17 ณ เมืองเวนิส สาธารณรัฐอิตาลี ซึ่งจะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 22 พ.ค. -21 พ.ย. 2564 โดยในปีนี้ได้รับโจทย์ว่า How will we live together หรือเราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร  ทั้งนี้ คณะกรรมการได้มีการคัดเลือกผลงานโครงสร้างบ้านคน - บ้านช้างของ ผศ. บุญเสริม เปรมธาดา ศิลปินศิลปาธร ประจำปี พ.ศ. 2562  เป็นตัวแทนประเทศไทยไปจัดแสดงผ่านงานศิลปะจัดวางในพื้นที่ในไทยพาวิลเลียน โดยมี รศ.ดร. อภิรดี เกษมศุข เป็น ภัณฑารักษ์ 

ผศ.บุญเสริม เปรมธาดา ศิลปินศิลปาธร ประจำปี พ.ศ. 2562  กล่าวว่า ผลงานศิลปะร่วมสมัย”บ้านคน-บ้านช้าง” ได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชาวกูยใน อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ที่ช้างและคนอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิด  ซึ่งเป็นการต่อยอดจากบ้านไม้ที่เห็นทั่วไป แต่นำบ้านของชาวกูย และบ้านของช้างมาผสมกันเป็นโครงสร้างเดียว เพื่อเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายที่พึ่งพาอาศัยกัน แม้ทั้งคู่มีลักษณะที่แตกต่างกัน แต่ก็อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน นอกจากนี้ พื้นที่นิทรรศการของประเทศไทย ยังนำเสนอการกลับมาอยู่ร่วมกันของคนและช้างในจ.สุรินทร์ จากในอดีตคนและช้างได้ไปเร่ร่อนหารายได้ในเมืองท่องเที่ยว เช่น กรุงเทพมหานคร หรือเมืองพัทยา 

    “ เนื้อหานิทรรศการที่จะไปแสดง ณ เมืองเวนิส อิตาลี จึงเล่าถึงความพยายามของชาวสุรินทร์ ที่ต้องการทำให้การอยู่ร่วมกันของคนและช้างในจ.สุรินทร์ ยั่งยืน คนและช้างมีรายได้ มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ เพื่อที่ทั้งสองฝ่ายไม่กลับไปเร่ร่อนในเมืองท่องเที่ยวอีก  “ ผศ.บุญเสริม กล่าว 


ศิลปินศิลปาธร กล่าวต่อว่า  นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างของความพยายามให้การอยู่ร่วมกันของคนและช้างอย่างยั่งยืนมานำเสนอ ได้แก่ โครงการโลกของช้าง โครงการคชอาณาจักร การฟื้นฟูพื้นที่ป่าและแหล่งอาหารที่เสื่อมโทรม  การฟื้นฟูแหล่งน้ำ การรวมกลุ่มจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การพัฒนาหรือแปรรูปมูลช้างเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น กระถางต้นไม้ กาแฟมูลช้าง กระดาษเป็นต้น โดยการดำเนินงานจะมีการติดตั้งและจัดแสดงโครงสร้างบ้านช้าง – บ้านคน การเสนอเนื้อหาประกอบนิทรรศการ ผ่านบทความ ภาพถ่าย ภาพยนตร์  มุ่งหวังเผยแพร่ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม ที่ต่อยอดจากต้นทุนทางวัฒนธรรมในประเทศไทย สู่ผู้ชมในเวทีระดับนานาชาติ ให้มีความเข้าใจ สร้างภาพลักษณ์และมุมมองที่ดีให้แก่ประเทศไทย 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"