กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษออกคำแนะนำด้านการเดินทางแก่พลเมืองชาวอังกฤษในเมียนมา ขอให้รีบเดินทางออกจากประเทศอาณานิคมเก่าของอังกฤษแห่งนี้ อ้างความวิตกที่รัฐบาลทหารใช้ความรุนแรงในการปราบปรามมากขึ้น
แฟ้มภาพ การคุมเชิงกันระหว่างตำรวจปราบจลาจลที่ปิดถนนกับผู้ประท้วงในเมืองย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2564
เมียนมาเข้าสู่ภาวะสับสนวุ่นวายทางการเมืองนับแต่ทหารก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และจับกุมผู้เห็นต่างแล้วมากกว่า 2,000 คน การใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมยังส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 70 คนแล้ว
ในวันศุกร์ที่ 12 มีนาคม เว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษออกคำแนะนำด้านการเดินทาง เตือนว่า เกิดความไม่สงบและความตึงเครียดทางการเมืองอย่างกว้างขวางนับแต่กองทัพยึดอำนาจเข้าปกครองประเทศอาณานิคมเก่าของอังกฤษแห่งนี้ และระดับความรุนแรงก็กำลังเพิ่มมากขึ้น
"สำนักงานการต่างประเทศ, เครือจักรภพ และการพัฒนา แนะนำในชาวอังกฤษเดินทางออกจากประเทศนี้ด้วยช่องทางพาณิชย์ เว้นแต่ว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนให้อยู่ต่อ" คำแถลงของกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษกล่าว
คำแนะนำของอังกฤษมีออกมาภายหลังผู้จัดทำรายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติเตือนว่า รัฐบาลทหารเมียนมามีแนวโน้มที่จะ "ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" เพื่อพยายามรักษาอำนาจไว้ต่อไป
ในการชี้แจงต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเมื่อวันพฤหัสบดี โทมัส แอนดรูวส์ ผู้จัดทำรายงานพิเศษของยูเอ็นว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในเมียนมา กล่าวว่า ประเทศนี้ถูกควบคุมโดยระบอบที่ฆ่าคนและผิดกฎหมาย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ การก่ออาชญากรรมของพวกเขารวมถึง "การฆ่าคนตาย, บังคับสูญหาย, การข่มเหงรังแก และการทรมาน" ที่กระทำโดยที่พวกผู้นำอาวุโสรับรู้ ซึ่งหมายรวมถึงพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารชุดนี้
ผู้เชี่ยวชาญของยูเอ็นรายนี้ย้ำว่า ถึงแม้การกระทำความผิดเหล่านี้จะชี้ขาดได้โดยศาลยุติธรรมเท่านั้น แต่ก็มีหลักฐานชัดเจนว่า การก่ออาชญากรรมโดยรัฐบาลทหารเมียนมาเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์อย่างสอดประสาน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |