สนข. จ่อชง ครม.ไฟเขียวแผนแม่บทพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน ภายใน พ.ค.นี้


เพิ่มเพื่อน    

 

12มี.ค.64-นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ว่า ในขณะนี้ สนข.ได้ศึกษา TOD เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ระหว่างการเตรียมเอกสารรายละเอียดโครงการฯ รวมถึงจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ เพื่อประกอบในการเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมภายใน เม.ย. 2564 ก่อนเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบในหลักการภายใน พ.ค. 2564 ทั้งนี้ ให้สอดรับกับการเปิดให้บริการโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน อย่างเต็มรูปแบบในช่วง พ.ย. 2564

นอกจากนี้ สนข. ยังอยู่ระหว่างการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) TOD เพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ที่จะดำเนินการ และภาพรวมของโครงการก่อนส่งต่อ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ไปยังหน่วยงานที่จะเข้ามารับผิดชอบตามที่ ครม. มีมติมอบหมาย ขณะที่ ในส่วนของพื้นที่ที่จะนำมาพัฒนา TOD นั้น จะเป็นหน้าที่ของแต่ละท้องถิ่นที่มีความประสงค์จะดำเนินการ จะเป็นผู้กำหนดผังเมืองต่อไป ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์กับเจ้าของพื้นที่ และประชาชนมากที่สุด

นายปัญญา กล่าวต่ออีกว่า รูปแบบของการพัฒนาพื้นที่ TOD จะดำเนินการตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เช่น สถานีรถไฟขอนแก่น ซึ่งเป็น 1 ใน 3 จากผลการศึกษาของ สนข. ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบ เกิดจากความต้องการของเทศบาลเมืองขอนแก่น ที่ต้องการการพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าว เป็นต้น โดยเจ้าของพื้นที่ จะเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ ซึ่ง สนข. จะเป็นผู้กำหนดหลักการ และกฎหมายรองรับ การจัดทำแผนรายละเอียดต่างๆ รวมถึงมีผู้ที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่นั้นๆ

“ตามที่หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า การเดินหน้า TOD ทำเพื่อประโยชน์ของภาคเอกชน ผมยืนยันว่า ไม่ได้ทำเพื่อบริษัทเอกชน แต่เราทำเพื่อประชาชนที่อยู่ในพื้นที่การพัฒนานั้นๆ เพราะการจะพัฒนาพื้นที่ TOD มาจากความต้องการของคนในพื้นที่ ในส่วนว่าจะเห็นการพัฒนาพื้นที่ TOD ได้เมื่อไหร่นั้น จะต้อง พ.ร.บ. TOD มีผลบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรมก่อน” นายปัญญา กล่าว

รายงานข่าวจาก สนข. ระบุว่า จากผลการศึกษาโครงการ TOD ของ สนข. ได้คัดเลือก 3 สถานี ที่มีศักยภาพในการพัฒนาสร้างเมืองต้นแบบ TOD เพื่อต่อยอดผลการศึกษาให้เป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว กรอบวงเงินรวมประมาณ 64,000 ล้านบาท ได้แก่
1.สถานีรถไฟขอนแก่น เป็น TOD ศูนย์ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้เป็นศูนย์กลางเมืองขอนแก่นแห่งใหม่ ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างผสมผสานมีการเชื่อมโยงกันระหว่างพื้นที่ชุมชนเดิมและชุมชนใหม่ เพิ่มพื้นที่สำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เชื่อมกับสถานีรถไฟความเร็วสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.สถานีรถไฟอยุธยา เป็น TOD ศูนย์กลางเมืองภาคกลาง ตัวแทนกลุ่มแนวเส้นทางรถไฟสายเหนือ โดยมีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้สอดคล้องกลมกลืนกัน ระหว่างความเป็นเมืองเก่ากับความทันสมัย เน้นการเชื่อมต่อพื้นที่สถานีความเร็วสูงที่จะเป็นศูนย์กลางเมืองใหม่เข้ากับพื้นที่ชุมชนเมืองเดิมด้วยสะพานทางเดินข้ามแม่น้ำ ท่าเรือข้ามฟาก และระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder) เพิ่มพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ที่เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟความเร็วสูงอย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อมพื้นที่สาธารณะภายในเมืองด้วยโครงข่ายพื้นที่สีเขียว ทางจักรยาน ทางเท้า และทางยกระดับ รักษาสมดุลของการอนุรักษ์และพัฒนา

3.สถานีรถไฟพัทยา เป็น TOD ศูนย์ภูมิภาคตะวันออกและพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟพัทยาให้เป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งใหม่ของพัทยา โดยเชื่อมโยงพื้นที่กับชายทะเลพัทยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญเดิม เพิ่มพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ที่เชื่อมกับสถานีรถไฟความเร็วสูง ทั้งนี้ ล่าสุดได้ปรับขนาดของ TOD ลง เพื่อให้เข้ากับสภาพมรดกท้องถิ่น

นอกจากนี้ จากการศึกษา ยังพบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ที่มีศักยภาพ ในการพัฒนาเป็น TOD จำนวน 177 สถานี ตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง (ไม่นับรวมในเขตกรุงเทพฯ ที่มีความหนาแน่นแตกต่างจากสถานีของภูมิภาค) โดยแบ่งการพัฒนาได้เป็น 5 ประเภท ตามศักยภาพของพื้นที่และบทบาทของสถานี ได้แก่ 1.สถานีศูนย์ภูมิภาค 6 แห่ง 2.สถานีศูนย์กลางเมือง 49 แห่ง 3.สถานีศูนย์เมืองใหม่ 20 แห่ง 4.สถานีศูนย์ชุมชน 84 แห่ง และ 5.สถานีศูนย์แบบพิเศษ 18 แห่ง โดยมี 4 ประเภทย่อย ได้แก่ เมืองชายแดน 8 แห่ง เมืองการบิน 2 แห่ง เมืองท่องเที่ยว 6 แห่ง และเมืองการศึกษา 2 แห่ง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"