มะกันใช้งบก้อนยักษ์ เยียวยาโควิดอย่างไร?


เพิ่มเพื่อน    

       ถ้าอเมริกาคลายจากวิกฤติโควิด-19 และสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม ไทยเราก็จะพลอยได้ประโยชน์ไปด้วย

            น่าสนใจว่างบพิเศษก้อนเบ้อเร่อของประธานาธิบดีโจ  ไบเดนจะถูกใช้ไปทำอะไรบ้าง

            ข้อมูลที่น่าสนใจบอกว่า แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9  ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะกระจายไปช่วยเหลือภาคส่วนต่างๆ ดังนี้

            ณ วันนี้อเมริกามีคนตกงานระยะยาวมากกว่า 11  ล้านคน

            งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่าถึง 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผ่านมติเห็นชอบในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ แล้ว ด้วยคะแนนโหวต 219 ต่อ 212 คะแนน

            ที่ผลออกมาค่อนข้างสูสี เพราะเป็นการต่อสู้กันระหว่างพรรคเดโมแครตของรัฐบาลกับรีพับลิกันของฝ่ายค้าน

            ยังจะต้องผ่านขั้นตอนของวุฒิสภาซึ่งมีเสียง 50-50  อยู่ขณะนี้

            สัปดาห์นี้คงจะรู้ดำรู้แดง

            ไบเดนได้เสนอแผนจะใช้เงินก้อนนี้ช่วยชาวอเมริกัน และกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายรูปแบบและหลากช่องทาง

            เขาใช้ชื่อแผนนี้ว่า "American Rescue Plan" หรือแผนช่วยอเมริกา

            ตั้งแต่โควิดระบาดใหญ่ นี่เป็นโครงการช่วยเหลือครั้งใหญ่เป็นรอบที่ 3

            ยุคของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ งบก้อนนี้เท่ากับ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีองค์ประกอบหลักๆ  เช่น แจกเช็คเงิน 1,400 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 42,000  บาทต่อคน

            ตอนแรกๆ ในการเริ่มต้นการระบาด รัฐบาลเคยให้เงินประชาชนโดยตรง 1,200 ดอลลาร์สหรัฐฯ และอีก 600  ดอลลาร์สหรัฐฯ ช่วงปลายเดือน ธ.ค.

            คนมีสิทธิ์ได้เช็คเงินช่วยเหลือนี้คือคนที่มีรายได้สูงสุดปีละ 75,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือหัวหน้าครอบครัวที่มีรายได้ไม่เกินปีละ 112,500 เหรียญสหรัฐฯ

            ขยายเวลาให้เงินคนว่างงานไปจนถึงสิ้นเดือน ส.ค. เพื่อช่วยคนตกงานระยะยาวที่มีมากกว่า 11 ล้านคน

            พ่อแม่ของเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปีจะได้รับเงินช่วยเหลือรายเดือนเป็นเวลาหนึ่งปี

            เงิน 7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อเพิ่มโครงการตรวจและให้วัคซีนโควิด-19

            ให้เงินช่วยเหลือโรงเรียนและมหาวิทยาลัยให้กลับมาเปิดอีกครั้ง

            ให้เงินช่วยเหลือธุรกิจรายย่อยๆ และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในกลุ่มเป้าหมาย

            ให้ทุนรัฐบาลท้องถิ่น

            เป้าหมายหลักอีกประการของพรรคเดโมแครตคือ การปรับรายได้ขั้นต่ำจาก 7.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อชั่วโมง  ซึ่งเป็นอัตรานี้มาตั้งแต่ปี 2009 ให้เป็น 15 ดอลลาร์สหรัฐฯ  ต่อชั่วโมง

            แต่ต่อมา เอลิซาเบธ แมคโดโน เจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาด้านกระบวนการและขั้นตอนปฏิบัติงานของวุฒิสภา บอกว่ามันน่าจะมีปัญหา

            เพราะการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะทะลุขีดจำกัดทางงบประมาณที่กำหนดไว้ในการใช้มาตรการลักษณะนี้

            ปัญหาอยู่ที่ว่า ร่างกฎหมายแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผ่านมติเห็นชอบในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ไม่ได้รวมถึงประเด็นค่าแรงขั้นต่ำนี้แต่อย่างใด

            จึงต้องลุ้นต่อว่า รัฐบาลจะคลี่คลายปัญหานี้อย่างไรจึงจะสอดคล้องกับกฎหมายและความคาดหวังของประชาชน

            แต่ต้องไม่ลืมว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นนโยบายหาเสียงหลักของพรรคเดโมแครต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกพรรคที่เป็นฝ่ายความคิดก้าวหน้า

            สมาชิกพรรคเดโมแครตบางคนถึงกับเสนอให้มีมาตรการลงโทษนายจ้างที่จ่ายเงินให้ลูกจ้างน้อยกว่า 15  ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อชั่วโมง

            แต่พรรครีพับลิกันมองต่าง เห็นว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะส่งผลกระทบต่อบริษัทต่างๆ ที่กำลังพยายามฟื้นฟูกิจการหลังวิกฤติโควิด-19

            หลังจากไบเดนเข้านั่งทำเนียบขาวเมื่อเดือนมกราคม เขาได้ขอร้องให้ทั้งสองฝักฝ่ายทางการเมืองหันหน้ามาหาทางออกร่วมกัน

            แต่เมื่อผลโหวตมติที่ออกมาสูสีอย่างนี้ก็เท่ากับว่ายังไม่อาจจะหาทางร่วมกันได้อยู่ดี

            พรรครีพับลิกันบอกว่าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจใช้เงินมากไป

            และมีรายละเอียดที่ซ่อนเอาไว้มากมาย ล้วนเป็นเรื่องที่เอื้อทางการเมืองต่อพรรคเดโมแครตที่อยากทำอะไรให้เสร็จโดยเร็วที่สุด

            แต่เอาเข้าจริงๆ ก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการระบาดใหญ่ของโควิด-19 แต่อย่างใด

            กลายเป็นศึกการแย่งชิงคะแนนเสียงระหว่างสองพรรค ที่บางครั้งประชาชนก็ไม่ค่อยจะได้มีส่วนร่วมในการหาทางออกของประเทศชาติมากมายนัก

            ล่าสุด วุฒิสภาสหรัฐฯ มีมติให้ผ่านร่างกฎหมายนี้แล้ว หลังจากมีการต่อรองกันในรายละเอียดบางข้อ ที่แต่ละรัฐจะได้เงินช่วยเหลือเยียวยาเพื่อธุรกิจท้องถิ่นเพิ่มขึ้นกว่าร่างเดิม

            ท้ายสุดก็คือการเมืองเรื่องคะแนนเสียงของแต่ละพรรคนั่นแหละ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"