พาณิชย์ยกทัพบุกโมซัมบิกหวังขยายการค้าร่วมกัน


เพิ่มเพื่อน    

ปลัดพาณิชย์ นำทัพผู้แทนไทย เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า  ไทย-โมซัมบิก หวังหารือแนวทางขยายการค้าระหว่างกัน 

นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า มีกำหนดจะนำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ไทย-โมซัมบิก (ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส) ครั้งที่ 2 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 21-23 พฤษภาคม 2561 ณ กรุงมาปูโต สาธารณรัฐโมซัมบิก โดยจะเป็นประธานร่วมกับ นางคาร์ลา โซโต้ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ของโมซัมบิก โดยการเยือนโมซัมบิกครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจตามนโยบายของกระทรวงพาณิชย์และเป็นโอกาสอันดีที่จะได้กระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ หารือแนวทางขยายการค้าระหว่างกัน รวมถึงโอกาสการขยายการลงทุนของไทยในโมซัมบิกในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ รวมทั้งจะร่วมหาแนวทางเสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในสาขาต่าง ๆ เช่น อัญมณี การเกษตร ประมง พลังงาน และการท่องเที่ยว เป็นต้น 

ทั้งนี้ โมซัมบิกเป็นประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นพื้นที่เป้าหมายการลงทุนของไทยในแอฟริกา ทั้งยังมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ สามารถเป็นแหล่งวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมการผลิตของไทย

นางนันทวัลย์ กล่าวว่า โมซัมบิกถือเป็นประเทศที่มีความสำคัญต่อไทยทางด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาคแอฟริกา ปัจจุบันไทยลงทุนในโมซัมบิกมูลค่ากว่า 6,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ในสาขาสำคัญ เช่น พลังงาน การก่อสร้าง และโรงแรม เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นประเทศที่ไทยมีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในแอฟริกา ทั้งนี้ โมซัมบิกมีที่ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่ดี เป็นสะพานเชื่อมไปสู่ประเทศอื่นๆ ในทวีปแอฟริกาที่ไม่มีทางออกทางทะเล ได้แก่ มาลาวี ซิมบับเว แซมเบีย และสวาซิแลนด์ อีกทั้งมีทรัพยากรทั้งทางบกและทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยเฉพาะด้านเหมืองแร่ และพลังงาน โดยโมซัมบิกเป็นแหล่งวัตถุดิบอัญมณีที่สำคัญของโลก ทับทิมกว่าครึ่งของโลกถูกขุดขึ้นในเหมืองโมซัมบิก และยังมีสปิเนลสีชมพู (Pink Spinel) ทัวร์มาลีน (Tourmaline) และพลอยชนิดอื่นๆ อีกจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีแหล่งพลังงานมหาศาล โดยมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองมากเป็นอันดับ 11 ของโลก 

ผู้บริโภคชาวโมซัมบิกและแอฟริกาส่วนใหญ่มีความชื่นชอบสินค้าและบริการของไทย เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค และธุรกิจบริการ อาทิ โรงแรม สปา นวดแผนไทย และร้านอาหารไทย การเดินทางเข้าร่วมการประชุม JTC ครั้งนี้ จึงมุ่งเน้นหารือถึงแนวทางการขยายโอกาสการค้าสินค้าและบริการของไทยในตลาดโมซัมบิก ตลอดจนผลักดันการอำนวยความสะดวกทางการค้าการลงทุน และแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ นอกจากนี้ ชาวโมซัมบิกยังมีความรู้สึกที่ดีต่อประเทศไทย โดยเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2561 รัฐบาลไทยได้บริจาคข้าวสารจำนวน 1 ล้านกิโลกรัม เพื่อช่วยเหลือโมซัมบิกที่ประสบปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ในปี 2560 โมซัมบิกเป็นคู่ค้าอันดับที่ 75 ของไทยในตลาดโลก และเป็นอันดับ 11 ในภูมิภาคแอฟริกา โดยการค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 219.84 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 37.9% จากปีก่อนหน้า โดยไทยส่งออกมูลค่า 204.05 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 37.8% จากปีก่อนหน้า และนำเข้ามูลค่า 15.79 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 39.3% จากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2561 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 49.50 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า  7.55% เมื่อพิจารณาศักยภาพในฐานะแหล่งวัตถุดิบแล้ว มูลค่าการค้าสองฝ่ายยังสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกมาก

สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปโมซัมบิก ได้แก่ ข้าว เม็ดพลาสติก รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ปูนซีเมนต์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และผ้าผืน สินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากโมซัมบิก ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สินแร่โลหะ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"