10 มี.ค.2564 - รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า ผู้สนับสนุนม็อบ 3 นิ้ว ต่างดาหน้ากันออกมาเรียกร้องให้ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวแกนนำม็อบ 3 นิ้วที่ต้องคดี ตามมาตรา 112 และ 116 ด้วยเหตุผลว่า เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาและจำเลยทุกคน และตามหลักยุติธรรมสากล ต้องถือว่าผู้ถูกจับกุมเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อน จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดจริง
ไม่น่าเชื่อว่า ผู้ที่ออกมาเรียกร้อง หลายคนก็เป็นนักกฎหมาย แต่กลับอ้างข้อมูลทางกฎหมายที่ไม่ครบถ้วน พูดเสมือนหนึ่งว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลย ตราบใดที่การพิจารณาดียังไม่ถึงที่สุด ศาลจะต้องอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวทุกรายไป การพูดเช่นนี้ แม้ไม่ได้พูดตรงๆแบบผู้ที่อยู่ในม็อบ และใน social media แต่ก็มีนัยยะว่าศาลไม่ได้ให้ความเป็นธรรมแก่จำเลยที่เป็นแกนนำเหล่านี้
ล่าสุด อ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ก็โพสต์ facebook ความตอนหนึ่งว่า “การได้รับการประกันตัวในคดีอาญา หรือที่กฎหมายใช้คำว่า ปล่อยตัวชั่วคราว นั้นเป็นสิทธิตามกฎหมายของผู้ต้องหาและจำเลยทุกคน ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บัญญัติไว้ในมาตรา 107 ว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ....”
อ.ปริญญา กลับไม่ได้ให้ข้อความในมาตรา 107 ให้ครบถ้วน เพราะในมาตรา 107 มีการระบุต่อจากนั้นอีกว่า “ ....พึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 108 มาตรา 108/1 ...”
ในที่นี้จึงได้คัดลอกข้อความที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 107 มาตรา 108 และมาตรา 108/1 มาให้อ่านกันแบบไม่ตัดทอนดังนี้
มาตรา ๑๐๗ เมื่อได้รับคำร้องให้ปล่อยชั่วคราว ให้เจ้าพนักงานหรือศาลรีบสั่งอย่างรวดเร็วและผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๘ มาตรา ๑๐๘/๑ มาตรา ๑๐๙ มาตรา ๑๑๐ มาตรา ๑๑๑ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๓ และมาตรา ๑๑๓/๑ คำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าวโดยทันที
มาตรา ๑๐๘ ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบ (๑) ความหนักเบาแห่งข้อหา (๒) พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด (๓) พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร (๔) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด (๕) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่ (๖) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่ (๗) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทก์ หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้
มาตรา ๑๐๘/๑ การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี ๒) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน (๓) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น (๔) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ (๕) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล คำสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวต้องแสดงเหตุผล และต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยและผู้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว
จะเห็นว่า ข้อความที่ว่า “ ผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว” จึงไม่ใช่เป็นการอนุญาตให้ปล่อยตัวโดยอัตโนมัติ แต่ศาลจะต้องวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยตัวโดยพิจารณาเงื่อนไขตามมาตรา 108 การไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว จะทำได้หากมีเหตุอันควรเชื่อ 5 ข้อ ตามมาตรา 108/1
สรุปสั้นๆคือ การได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจำเลย เป็นสิทธิที่พึงได้รับ แต่ศาลต้องวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราว ตามเงื่อนไขตามมาตรา 108 และศาลอาจจะไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวก็ได้หากมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งใน 5 เหตุ ตามมาตรา 108/1
ยังดีที่ อ.ปริญญาระบุต่อมาในโพสต์ว่า “แม้ว่าศาลจะมีดุลพินิจสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้ .....” แต่ก็ได้เปิดประเด็นใหม่ขึ้นมาอีกประเด็นคือ รัฐธรรมนูญมาตรา 29 บัญญัติว่า ก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าบุคคลใดกระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ดังนั้น ตามข้อวินิจฉัยของอ.ปริญญา การนำผู้ต้องหาหรือจำเลย ไปขังไว้ในที่เดียวกันกับนักโทษอื่นๆ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 29 เพราะเป็นการปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำผิด ทั้งที่คดียังไม่ถึงที่สุด
อยากรู้ว่าหากในที่สุด แกนนำ กปปส. 8 คน ไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว อ.ปริญญาจะพยายามค้นคว้าหาข้อกฎหมาย และออกมาแสดงความเห็นแบบนี้เหมือนกันหรือไม่ รวมทั้งคดีอื่นๆที่ผ่านมาอีกกี่หมื่นคดีที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยเล่า ทำไมไม่เคยออกมาแสดงความเห็นแบบนี้บ้าง
ดูเหมือนจะเป็นวันเดียวกันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ออกแถลงการณ์ ซึ่งผมหวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นแถลงการณ์ปลอม เพราะแค่เห็นหัวเรื่องก็ไม่น่าเชื่อว่า จะเป็นแถลงการณ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เสียแล้ว แถลงการณ์ฉบับนี้ใช้หัวเรื่องว่า “ขอให้คำนึงถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของผู้ถูกจับกุม” อย่าลืมว่าผู้ที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวคือศาล ไม่ใช่ตำรวจ ไม่ใช่รัฐบาล หัวเรื่องอย่างนี้ย่อมเป็นการสื่อความว่า ศาลไม่ได้คำนึงถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของผู้ถูกจับกุม ไม่ต่างจากที่ผู้สนับสนุนม็อบทั้งหลายที่ออกมาเรียกร้อง
ในแถลงการณ์ยังระบุว่า นักศึกษาที่ถูกจับกุมดำเนินคดี ก็เพราะเกี่ยวข้องกับการชุมนุม และแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ตามความเป็นจริง ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในรอบแรก 4 คน ในรอบนี้อีก 3 คน ที่เหลือศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวทั้งหมด ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวทั้งหมด ไม่ได้ถูกจับกุมเพียงเพราะไปร่วมชุมนุม และแสดงความคิดเห็นทางการเมือง แต่ได้กระทำผิดกฎหมายตามมาตรา 112 เป็นความผิดคนละหลายต่อหลายกระทง มีพยานหลักฐานที่แน่นหนา เป็นคลิปวีดิโออย่างครบถ้วน และได้กระทำแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เชื่อได้เลยว่า หากได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ก็จะกระทำอีก
การแสดงความห่วงใย และช่วยเหลือนักศึกษาที่ถูกจับกุมดำเนินคดีเป็นสิ่งที่สมควรทำ แต่การออกแถลงการณ์ที่ตัดทอนข้อเท็จจริงบางประการออก เพื่อเป็นคุณกับนักศึกษาที่จะอย่างไรก็ทำผิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง ไม่น่าจะใช่วิถีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่ว่าในยุคใดสมัยใด
แม้ผมไม่ใช่ศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ แต่ผมมีความรักและผูกพันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่น้อยไปกว่าศิษย์เก่าแต่ความเที่ยงตรงในข้อมูลและข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ดังนั้นจึงยังคงมีความหวังว่า แถลงการณ์ของมหาวิทยาลัยฉบับนี้จะไม่ใช่แถลงการณ์จริง แม้ความหวังของผมจะเป็นเพียงความหวังอย่างลมๆ แล้งก็ตาม
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |