8 มี.ค.64-ตามที่มีการนำเสนอข้อมูลในทำนองว่าเหตุใด สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) จึงจ่ายเช็คให้กับเจ้าหนี้ขององค์การค้าของ สกสค. โดยตรง ในเมื่อ สกสค.ให้องค์การค้าของ สกสค.กู้เงินไปแล้วก็ควรเอาเงินไปให้องค์การค้าของ สกสค. และให้องค์การค้าของ สกสค. เป็นผู้จ่ายเช็คให้กับเจ้าหนี้เอง หรือเพราะอาจจะมีการเรียกเปอร์เซ็นต์อะไรกันหรือไม่นั้น
นายอดุลย์ บุสสา ผู้อำนวยการองค์การค้าของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (ผอ.องค์การค้าของ สกสค.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาองค์การค้าของ สกสค. มีปัญหาสภาพคล่องของการเงินที่ไม่มีเงินจ่ายให้กับเจ้าหนี้จำนวนมาก โดยเฉพาะโรงพิมพ์ที่รับพิมพ์ตำราเรียน จนเจ้าหนี้หลายรายยื่นฟ้ององค์การค้าของ สกสค.ให้ใช้หนี้ที่ติดค้าง และศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดองค์การค้าของ สกสค. ชำระหนี้จำนวนมากและหลายคดี อีกทั้งในบางช่วงที่อยู่ในช่วงเวลาการจัดพิมพ์หนังสือโรงพิมพ์เจ้าหนี้ ได้ยื่นเงื่อนไข จะไม่พิมพ์ตำราให้หากไม่ชำระหนี้ที่ติดค้างก่อน ที่แย่ไปกว่านั้นบางคดี เจ้าหนี้ได้ทำการอายัดบัญชีเงินฝากของ สกสค. เนื่องจาก สกสค. เป็นนิติบุคคล ที่มีองค์การค้าของ สกสค.อยู่ในสังกัด ดังนั้นการฟ้องคดี เจ้าหนี้จึงยื่นฟ้อง สกสค. เป็นจำเลย ไม่ใช่ฟ้ององค์การค้าของ สกสค. ดังนั้นเมื่อองค์การค้าของ สกสค. ยืมเงิน จาก สกสค. เพื่อชำระหนี้ ให้แก่ เจ้าหนี้ สกสค. จึงไม่ได้โอนเงินที่ให้กู้แก่องค์การค้าของ สกสค. แต่เพื่อให้เงินดังกล่าวส่งถึงมือเจ้าหนี้โดยตรง สกสค. จึงประสานกับองค์การค้าของ สกสค. ให้แจ้งเจ้าหนี้มารับชำระหนี้ในเงินที สกสค.โดยตรง ซึ่งวิธีการดังกล่าวเคยมีการปฏิบัติกันมาก่อนตั้งแต่ปี 2551 ดังนั้นที่มีการระบุว่าการชำระหนี้ด้วยวิธีการที่กล่าวไม่ถูกต้อง และน่าที่จะมีการทุจริตนั้น ไม่เป็นความจริงแต่ประการใด
นายอดุลย์ กล่าวต่อว่า ส่วนในประเด็นเรื่องของราคากลางที่องค์การค้าของ สกสค.กำหนด ในการจัดหาโรงพิมพ์นั้น ในการจัดพิมพ์ตำราเรียนขององค์การค้าของ สกสค.ที่ได้รับสิทธิจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นั้น สพฐ.ได้มีการกำหนดราคาปกหนังสือ (ราคาจัดจำหน่าย) และราคาทุน โดยราคาปก คือ ราคาที่ระบุไว้ที่หน้าปก ว่า หนังสือเรียนดังกล่าว จะจำหน่ายที่ราคาเท่าไหร่ ส่วนราคาทุน คือ ราคาที่ประกอบไปด้วย วัตถุดิบ ค่าพิมพ์ ค่าบริหารจัดการ ค่าลิขสิทธ์ ส่วนลดทางการค้า และกำไร ซึ่งจะเห็นได้ว่า รายละเอียดของทั้ง ราคาที่จำหน่าย และ ต้นทุนทั้งหมด องค์การค้าของ สกสค.ไม่มีสิทธิที่จะกำหนดขึ้นได้เอง รายละเอียดของราคาขายและต้นทุน จะต้องอยู่ในกรอบที่ สพฐ.กำหนด ทั้งนี้ ในราคาขาย จะต้องระบุให้ตรงกับที่ สพฐ. กำหนด ส่วนต้นทุน องค์การค้าของ สกสค. สามารถบริหารจัดการให้ต่ำกว่าที่ตัวเลขที่ สพฐ.กำหนดได้ แต่ไม่มีสิทธิกำหนดสูงกว่าที่ สพฐ กำหนด ที่สำคัญราคากลางในต้นทุนทั้ง 3 ส่วนดังกล่าว เป็นราคากลางที่กำหนดโดยกรมบัญชีกลาง
นายอดุลย์ กล่าวอีกว่า สำหรับการจ้างโรงพิมพ์เอกชนเข้ามาพิมพ์ตำราเรียนของ องค์การค้าของ สกสค. นั้น องค์การค้าของ สกสค.มีการจัดซื้ออุปกรณ์การพิมพ์ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2525 ซึ่งถือว่าในขณะนี้ทันสมัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่เคยซื้อใหม่ มีการใช้งานมาต่อเนื่องชำรุดทรุดโทรมเพราะมีการใช้งานมานาน และเครื่องตกยุคไปแล้ว ประกอบกับองค์การค้าของ สกสค.ไม่ได้เป็นผู้ผูกขาดการจัดพิมพ์นับตั้งแต่ปี 2542 ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นับแต่นั้นมา กิจการขององค์การค้าของ สกสค. เริ่มประสบปัญหาขาดทุนในการดำเนินการ โดยเริ่มชัดเจน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 จนถึงปี พ.ศ.2562 ที่มีผลขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การพัฒนาของรูปแบบตำราเรียนเปลี่ยนแปลงไป ทั้งกระดาษ รวมถึงกรรมวิธีในการจัดพิมพ์ทั้งหมด เครื่องพิมพ์ที่องค์การค้าของ สกสค.มีอยู่ ไม่สามารถรองรับภาระกิจดังกล่าวได้ทั้งหมด องค์การค้าของ สกสค.จึงจำเป็นต้องจ้างโรงพิมพ์เอกชนทำการพิมพ์ตำราเรียนเป็นส่วนใหญ่ โดยเครื่องพิมพ์ขององค์การค้าของ สกสค.จะพิมพ์เฉพาะในส่วนงานที่สามารถดำเนินการได้เป็นเพียงส่วนน้อย เช่น การพิมพ์หน้าปก การพิมพ์แบบ ปพ. เป็นต้น
ผอ.สกสค.กล่าวอีกว่า ส่วนที่มีการระบุว่าการจ้างเอกชนพิมพ์ตำราเรียนขององค์การค้าของ สกสค.มีราคาแพงกว่าที่องค์การค้าจัดพิมพ์เองนั้น วิธีที่ผู้ผลิตและจำหน่าย จ้างเอกชนอื่นที่มีหน้าที่ผลิตสินค้าโดยตรง เป็นวิธีที่ใช้โดยทั่วไปของทุกๆ ธุรกิจ รวมถึงการผลิตและจำหน่ายตำราเรียนด้วย การดำเนินการโดยวิธีนี้ ถือว่าเป็นการประหยัดต้นทุนของผู้ผลิตและจำหน่าย ที่จะไม่ต้องรับผิดชอบในเครื่องจักรที่ใช้ รวมถึงค่าบำรุงรักษาและบุคลากรที่จะมีรายจ่ายตลอดปี การที่องค์การค้าฯ ใช้วิธีจ้างโรงพิมพ์เอกชน ทำการพิมพ์ตำราเรียน โดยโรงพิมพ์ของ องค์การค้าฯ ทำการผลิตเฉพาะที่เครื่องจักรและลูกจ้าง ที่มีอยู่สามารถทำได้ เช่น พิมพ์หน้าปก แบบพิมพ์บางส่วน ถือเป็นการลดค่าใช้จ่าย อย่างเป็นนัยยะสำคัญ ทั้งในเรื่องเครื่องพิมพ์ ค่าบำรุงรักษา เงินเดือน และ ค่าล่วงเวลา
" ส่วนการเลิกจ้างพนักงานองค์การค้าของ สกสค.นั้น เราดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด มีพนักงานได้รับเงินชดเชยดังกล่าวตั้งแต่ 500,000 ถึง 4,000,000 บาทเศษ มีพนักงานมารับค่าชดเชยไปแล้วจำนวน 643 คน เป็นเงิน 1,323,113,593 บาท ส่วนที่เหลืออีก 318 คน ไม่ยินยอมมารับเงินชดเชย โดยอยู่ระหว่างการยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง"นายอดุลย์กล่าว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |