ช้าง 5 เชือกกินยาฆ่าหญ้าที่อมก๋อยปลอดภัยแล้ว! ทีมสัตวแพทย์ชี้อาการดีขึ้น กลืนผลไม้ได้แล้ว คาดอีก 2 สัปดาห์ให้กลับบ้านได้ วอนเกษตรกรเลิกใช้สารพิษร้ายแรง
ที่โรงพยาบาลช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติฯ (ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย) อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ทีมผู้อำนวยการสถาบันคชบาลฯ พร้อมด้วยทีมสัตวแพทย์ของโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) รวมถึงสมาคมสมาพันธ์ช้างไทย ร่วมกันแถลงข่าวความคืบหน้าอาการบาดเจ็บของช้าง 5 เชือก ซึ่งเป็นช้างบ้านที่กินสารเคมียาฆ่าหญ้า หรือสารพาราควอต ในพื้นที่บ้านโม๊ะผ๊ะโด๊ะ ต.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ วันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา และถูกส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลช้าง ส่วนอีก 2 ตัวเป็นช้างป่า ได้มีการผลักดันให้อยู่ในพื้นที่ ซึ่งอาการบาดเจ็บไม่มากนัก
นายสัตวแพทย์ (นสพ.) ดร.ทวีโภค อังควานิช หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติฯ เปิดเผยว่า ขณะนี้ช้างทั้ง 5 เชือกมีอาการดีขึ้น ตอบสนองต่อยาที่ให้การรักษาดี บางเชือกอนุญาตให้กลับบ้านได้ แต่ต้องการให้รักษาตัวที่โรงพยาบาลก่อนประมาณ 2 สัปดาห์ เพราะเมื่อแผลภายนอกบริเวณในปาก งวง หายแล้ว ต้องมีการตรวจดูภายใน เพราะไม่แน่ใจว่าช้างเชือกไหนที่มีการกลืนสารพิษเข้าไปบ้าง แต่ที่น่าดีใจคือทุกเชือกอาการดีขึ้นทั้งหมด เดิมลูกช้างพลายวิลลี่ เพศผู้ อายุ 1 ปี ที่มีแผลในปาก โดยเฉพาะที่ลิ้น เพดานและรอบปาก ขณะนี้สามารถกลืนผลไม้ได้ อาการดีขึ้น เช่นเดียวกับแม่ คือ พังคำมูล เพศเมีย อายุ 10 ปี อาการดีขึ้นเช่นกัน
ส่วนขั้นตอนการรักษาการให้ยา 4 แนวทาง คือ การให้ยาทางเส้นเลือด การให้สารน้ำเพื่อปรับกรด-เบสในร่างกาย การให้ยากดภูมิ และการให้ยาลดอนุมูลอิสระ เนื่องจากสารพิษที่ช้างกินเข้าไปทำปฏิกิริยาออกซิเจนแล้วไปทำลายอวัยวะภายใน
รศ.นสพ.ดร.ฉัตรโชติ ทิตาราม หัวหน้าศูนย์วิจัยช้างและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มช. กล่าวว่า ที่ผ่านมามีช้างที่โดนสารพิษ 25 เชือก ซึ่งหลังจากสถานการณ์โควิด-19 และช้างต้องกลับบ้าน ภายใน 2 ปีนี้มีถึง 10 เชือก ซึ่งเกิดจากสารพิษ โดยเฉพาะยาฆ่าหญ้า สารเคมีทางการเกษตร ทางทีมสัตวแพทย์ขอสนับสนุนให้มีการบอยคอตการใช้สารเคมีที่นำมาใช้ในการเกษตร เพราะที่ผ่านมาเป็นอันตรายทั้งคน พืชและสัตว์ ซึ่งขณะนี้สัตว์ใหญ่อย่างช้างได้รับอันตรายด้วย และขอให้ดูแลเรื่องนี้ให้มากขึ้น หลังจากที่มีการแบนสารพิษเหล่านี้ไปตั้งแต่ มิ.ย.ปีที่แล้ว แต่สารเหล่านี้ยังคงมีการนำมาใช้ หมายความว่ายังมีร้านค้าแอบขาย หรือเกษตรกรมีหลงเหลือเก็บไว้ใช้งานอยู่ หรือไม่ก็ปล่อยทิ้งไว้ไม่มีการจัดการที่ดี ปล่อยทิ้งขว้างจนสัตว์ที่ไม่รู้ไปพบเห็นอาจจะนำมากินและได้รับอันตราย และควาญช้างอย่าปล่อยให้ช้างกินอยู่ตามธรรมชาติแบบปล่อยทิ้ง ต้องหมั่นเข้าไปดูช้างอย่างสม่ำเสมอ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |