7 มี.ค.64- ที่โรงพยาบาลช้างสถาบันคชบาลแห่งชาติ(ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย) อ.ห้างแฉัตร จ.ลำปาง ทีม ผอ.สถาบันคชบาลฯ พร้อมด้วยทีมสัตว์แพทย์ ของโรงพยาบาล และ มช. รวมถึงสมาคมสมาพันธ์ช้างไทย ได้ร่วมกันแถลงข่าวความคืบหน้าอาการบาดเจ็บของช้างทั้ง 5 เชือกซึ่งเป็นช้างบ้านที่กินยาฆ่าแมลงในพื้นที่บ้านโม๊ะผ๊ะโด๊ะ ต.อมก่อย จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่5 มีนาคม และถูกส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ส่วนอีก2 เชือกเป็นช้างป่าได้มีการผลักดันให้อยู่ในพื้นที่ซึ่งอาการบาดเจ็บไม่มากนักโดยทีมสัตว์แพทย์ได้แถลงขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแรก หลังได้รับแจ้ง การเดินทางไปยังพื้นที่ จนถึงการควบคุมดูแลช้างออกจากพื้นที่เกิดเหตุมาถึงโรงพยาบาล ที่ค่อนข้างลำบาก แต่ก็ด้วยความร่วมมือของหลายส่วนที่เข้าไปช่วยเหลือ ทำให้การเคลื่อนย้ายช้างออกจากพื้นที่ที่เกิดเหตุมาโรงพยาบาลในครั้งนี้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว เรียบร้อย และเมื่อมาถึงโรงพยาบาลทีมสัตว์แพทย์ซึ่งได้มีการเตรียมทีมงานไว้พร้อมแล้ว ก็สามารถทำการรักษาช้างได้ทันที
นายสัตวแพทย์ ดร.ทวีโภค อังควานิช หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติ กล่าวว่าในขณะนี้ช้างทั้ง5เชือก มีอาการดีขึ้นตอบสนองยาที่ให้การรักษาดี บางเชือกอนุญาตให้กลับบ้านได้ แต่ทั้งนี้ต้องการให้รักษาตัวทีโรงพยาบาลก่อนประมาณ2สัปดาห์ เพราะเมื่อแผลภายนอกบริเวณในปาก งวง หายแล้วต้องมีการตรวจดูภายในเพราะไม่แน่ใจว่าช้างเชือกไหนที่มีการกลืนสารพิษเข้าไปบ้าง แต่ที่น่าดีใจคือทุกเชือกอาการดีขึ้นทั้งหมด เดิมลูกช้างพลายวิลลี่ เพศผู้ อายุ 1 ปี แผลในปาก โดยเฉพาะที่ลิ้น เพดานและรอบปากบ้าง ซึ่งขณะนี้ก็สามารถกลืนผลไม้ ได้ อาการดีขึ้น เช่นเดียวกับแม่ คือ พังคำมูล เพศเมีย อายุ 10 ปี อาการก็ดีขึ้นเช่นกัน ส่วนขั้นตอนการรักษาการให้ยา4แนวทาง คือ การให้ยาทางเส้นเลือด การให้สารน้ำเพื่อปรับกรด-เบส ในร่างกาย การให้ยากดภูมิ และ การให้ยาลดอนุมูลอิสระ เพราะสารตัวนี้ไปทำปฎิกิริยาอ๊อกซิเจนแล้วไปทำลายอวัยวะภายใน
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ฉัตรโชติ ทิตาราม หัวหน้าศูนย์วิจัยช้างและสัตว์ป่า คณะสัตว์แพทย์ศาสตร์ มช. กล่าวว่า ในกรณีที่เกิดขึ้นจะพบว่าที่ผ่านมามีช้างที่โดนสารพิษ25 เชือก และหลังจากสถานการณ์โควิดและช้างต้องกลับบ้านได้เกิดเหตุการณ์นี้ภายใน2ปี มีถึง 10 เชือก ซึ่งเกิดจากสารพิษโดยเฉพาะยาฆ่าหญ้า สารเคมีทางการเกษตร ทางทีมสัตว์แพทย์ขอสนับสนุน บอยคอตการใช้สารเคมีที่นำมาใช้ในการเกษตรเพราะที่ผ่านมาก็จะเห็นว่าเป็นอันตรายทั้งคน พืช และสัตว์ และขณะนี้สัตว์ใหญ่อย่างช้างก็ได้รับอันตรายด้วย และขอให้ดูแลเรื่องนี้ให้มากขึ้นหลังจากที่มีการแบน สารพิษเหล่าไปตั้งแต่มิถุนายนปีที่แล้วก็ยังพบว่ามีสารเหล่านี้ยังคงมีนำมาใช้นั้นหมายความว่ายังมีร้านค้าแอบขาย หรือเกษตรกรมีหลงเหลือเก็บไว้ใช้งานอยู่ หรือไม่ก็ปล่อยทิ้งไว้ไม่มีการจัดการที่ดี ปล่อยทิ้งขวางจนสัตว์ที่ไม่รู้ไปพบเห็นก็อาจจะนำมากินและได้รับอันตราย และควาญช้างอย่าปล่อยให้ช้างกินอยู่ตามธรรมชาติแบบปล่อยทิ้ง ต้องหมั่นเข้าไปดูช้างอย่างสม่ำเสมอ
ทางด้านนายธีรภัทร ตรังปราการ นายกสมาคมสหพันธ์ช้างไทย ได้กล่าวว่าในพื้นที่ภาคเหนือขณะนี้ที่มีการนำช้างมาใช้ในสถานประกอบการนำเที่ยว แต่หลังจากสถานการณ์โควิดต้องนำช้างกลับบ้าน ในภาคเหนือมีถึง400-500 เชือก ที่กระจายอยู่ที่แม่แจ่ม ขุนยวม และจังหวัดตากก็เยอะ และรอยต่อเชียงใหม่กับตาก คือพื้นที่ บ้านแม่ตื่น ที่เกิดปัญหาขณะนี้จะมีช้างอยู่ประมาณ30เชือก และโดนสารพิษ7เชือก เป็นช้างบ้าน5เชือก ช้างป่า2ตัว ซึ่งสภาพความเป็นอยู่สมัยก่อนของควาญที่คุ้นชิน กับสมัยนี้ที่ช้างไม่คุ้นชิน บางเชือกเกิดในปาง ไม่เคยสัมผัสป่า และแม้แต่ควาญเองที่เึคยเห็นสภาพป่าเดิมกับปัจจุบันก็ไม่เหมือนกัน ซึ่งปัจจุบันสภาพกึ่งการเกษตรกึ่งป่า.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |