โลกเปลี่ยนไปไว
สมัยก่อนการโฆษณาชวนเชื่อ ใช้วิทยุ AM ต้องมีเสียงซ่า บางทีมีเสียงในฟิล์มเป็นภาษาจีน ไม่ก็เวียดนาม ถ้าไม่ซ่า ไม่แทรก ไม่ใช่ของแท้
หรือไม่ก็เขียนข้อความใส่กระดาษแล้วติดกาวแปะตามฝาบ้าน ตามกำแพง
ทั้งฝ่ายรัฐ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ ต่างก็ใช้วิธีเดียวกัน
ดึงของอีกฝ่ายออกหรือไม่ก็แปะทับมันไปเลย
ต่างกันแค่ ฝ่ายรัฐแปะกลางวัน
ส่วนคอมมิวนิสต์แปะกลางคืน
นั่นคือสงครามข่าวสารที่คนรุ่นใหม่ไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้จัก
มาสมัยนี้ สงครามข่าวสาร การโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อล้างสมองคน ฉับไวราวติดจรวด
อาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เผยแพร่ชุดข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อผลทางจิตวิทยามวลชน
วันก่อนสำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน อ้างคำกล่าวของหัวหน้าฝ่ายนโยบายความมั่นคงด้านไซเบอร์ของเฟซบุ๊กระบุว่า
...นี่เป็นครั้งแรกที่เราดำเนินการกับสิ่งที่เชื่อมโยงกับกองทัพไทย เฟซบุ๊กพบเห็นความเชื่อมโยงอย่างชัดเจนระหว่างปฏิบัติการนี้กับ กอ.รมน. และยังระบุด้วยว่าเครือข่ายดังกล่าวใช้เงินราว ๓๕๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อโฆษณาบนเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม
บัญชีที่ถูกระงับเนื่องจาก "มีพฤติกรรมการใช้งานคล้ายบัญชีปลอม" แบ่งออกเป็น บัญชีส่วนตัว ๗๗ บัญชี, ๗๒ เพจ และ ๑๘ กลุ่ม รวมถึงอีก ๑๘ บัญชีบนอินสตาแกรม...
สิ้นเสียงเฟซบุ๊ก กลุ่มที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตย พากันถล่มกองทัพว่า IO ต่อประชาชน
นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์),
น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านการเงิน นักเขียน และนักแปล,
นายวิญญู วงศ์สุรวัฒน์ หรือจอห์น พิธีกร/ผู้จัดรายการ
๓ คนนี้ยื่นฟ้องกองทัพบก (ทบ.) ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ต่อศาลปกครอง ถ.แจ้งวัฒนะ
เพื่อขอให้ศาลสั่ง ทบ.ยุติปฏิบัติการ IO ต่อประชาชนเพื่อหวังผลทางการเมือง พร้อมลบข้อมูลของประชาชนฝ่ายเห็นต่างจากรัฐที่ถูกจัดให้อยู่ใน "บัญชีเป้าหมาย" ออกจากสารบบของ ทบ.
เอกสารประกอบคำฟ้องของทั้ง ๓ คน ประกอบด้วย หลักฐานที่ปรากฏทั้งจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ๒ ครั้ง
รายงานเปิดเผยเครือข่ายข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมโยงกับรัฐของทวิตเตอร์, รายงานของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด รวมทั้งข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนแขนงต่างๆ
ฟังดูเป็นเรื่องเป็นราวดี
IO คืออะไร
(ไอโอ) ย่อมาจาก Information Operation
คือ ยุทธการทางข้อมูลข่าวสาร
คือ การสร้างข้อมูลขึ้นมาเพื่อสร้างกระแสให้เกิดความน่าเชื่อถือ ทำให้ฝ่ายตนเองได้เปรียบอีกฝ่าย
ในขณะเดียวกันก็ปล่อยข่าวเท็จขึ้นมาเพื่อสร้างผลกระทบต่อความคิด การตัดสินใจ และเป็นการยุยงปลุกปั่นให้ผู้คนเกิดความเกลียดชังฝ่ายตรงข้าม
IO เกิดมาตั้งแต่ช่วงสงครามเย็นระหว่างค่ายอเมริกากับสหภาพโซเวียต มีการปล่อยข้อมูลข่าวสารออกมาเพื่อสร้างความได้เปรียบแก่ฝ่ายตนเอง และใส่ร้ายฝ่ายตรงข้าม
IO ถูกนำมาใช้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างอิทธิพลในการตัดสินใจของฝ่ายตรงข้าม โดยการควบคุมข้อมูลข่าวสารที่ศัตรูได้รับ
รวมทั้งการหว่านพืชหวังผลการข่าว ปลุกกระแสมวลชน ยึดครองอำนาจและประโยชน์
ดังนั้นมันจึงไม่ใช่สิ่งใหม่
แต่เป็นกลยุทธ์ที่เคียงคู่กับการสู้รบในโลกมานานแล้ว
ช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระหว่างโดนัลด์ ทรัมป์ กับฮิลลารี คลินตัน เมื่อปี ๒๐๑๖ โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน นำข้อมูลที่รั่วไหลจากเฟซบุ๊กมาใช้ในแคมเปญหาเสียง (ผ่านบริษัทเอกชน Cambridge Analytica) จนชนะ ฮิลลารี คลินตัน ตัวเต็งจากพรรคเดโมแครตไปได้ในท้ายที่สุด
ถือเป็นการใช้ IO เป็นเครื่องมือในการหาเสียงที่ได้ผล
ในไทย IO ถูกตีความอย่างแคบในกลุ่มที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตย
อ้างว่า IO คือการโฆษณาชวนเชื่อจากฝ่ายรัฐเท่านั้น และเป็นชุดข้อมูลเท็จ
ส่วนข่าวเท็จจากฝ่ายมวลชนต่อต้านรัฐบาล ไม่มีการพูดถึง
ยกตัวอย่างชัดๆ จากกลุ่มที่ไปร้องศาลปกครองข้างต้น
ส่องเฟซบุ๊ก Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล พบว่ามีพฤติกรรมสร้างชุดข้อมูลโจมตีฝ่ายตรงข้ามอยู่บ่อยครั้งเช่นกัน
เช่น ....พม่า: ปกครองด้วยความเกลียด ไทย: ปกครองด้วยความกลัว...
ถ้ากลัวจริง รัฐบาลคงไม่ถูกด่าเป็นหมาเป็นหมูทุกวันแบบนี้
ลามไปถึงโจมตีสถาบันเบื้องสูง ส่องคอมเมนต์ในเพจ Sarinee Achavanuntakul ก็พบข้อมูลโจมตีสถาบันอยู่ไม่น้อย
หรือโพสต์ที่บอกว่า
...สองสามวันที่ผ่านมาเห็นอดีตผู้ชุมนุม กปปส. หลายคนออกมาแสดงความเสียใจที่แกนนำติดคุกและเปรยว่า ถ้าเป็นอย่างนี้ใครจะอยากทำดีเพื่อชาติอีก ฯลฯ
ก็เข้าใจว่าทำไมเสียใจ แต่มาถึงจุดนี้แล้ว ควรตระหนักได้แล้วนะว่า ๑) การออกไปปิดคูหาเลือกตั้ง กีดกันไม่ให้พลเมืองด้วยกันได้ใช้สิทธิ ไม่มีทางเป็นการ “ทำดีเพื่อชาติ” ได้เลย ไม่ว่าเหตุผลคืออะไร และ ๒) “ความเชื่อ” ว่าตัวเองกำลังทำดี อาจเป็นแค่ความหลงผิด และตัวเองอาจ “ถือดี” มากกว่า “ทำดี” อยู่ก็เป็นได้....
สฤณี อาชวานันทกุล ทำเหมือนเข้าใจหัวอกของมวลชน กปปส. แล้วไปสรุปว่า สิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามทำคือการหลงผิด ถือดี ในขณะที่คดีเพิ่งจะผ่านศาลชั้นต้น
แต่กับคนที่ไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยหนีไปต่างประเทศ สฤณี อาชวานันทกุล แทบไม่พูดถึงคนเหล่านั้นในแง่ลบ
สฤณี อาชวานันทกุล เคยทำถึงขนาดโพสต์ข้อความชักชวนคนโทร.ไปด่า นายกฯ ระหว่างจัดรายการพิเศษ ขอรับบริจาค "ร่วมใจพี่น้องไทย ช่วยภัยน้ำท่วม" ทางสถานีโทรทัศน์ MCOT HD
สุดท้ายต้องลบโพสต์ ด้วยข้อว่า
"ปกติไม่เคยลบโพสต์ตัวเองนะคะ แต่ลบโพสต์ประชดเมื่อวานออกไปแล้ว เพราะคนรอบตัวเครียดจากการนำเสนอข่าวของสื่อ
เอาเป็นว่า ขออภัยถ้าใครไม่เข้าใจว่าประชด และในอนาคตก็จะหาทางเขียนให้ชัดกว่านี้นะ"
นี่คืออาการหลงผิด หรือถือดี
แต่ปัญหาใหญ่จริงๆ อยู่ที่วุฒิภาวะ
คนมีความรู้แต่อีคิวเขลา ไร้วุฒิภาวะ คือปัญหาใหญ่ของสังคมไทย
นี่....จะเข้าข่ายไอโอหรือเปล่าก็ไม่รู้
ดัชนี Global COVID-19 Index (GCI) ที่ใช้ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ที่ดูภาพรวมในมิติต่างๆ ตั้งแต่ ยอดผู้ติดเชื้อ การรักษาหาย จำนวนการตรวจเชื้อ ฯลฯ จัดอันดับล่าสุด นับตั้งแต่เกิดการระบาดเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๖๓ ยกให้ประเทศไทย มีการฟื้นตัวเร็วที่สุด
ข้อมูล ณ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เป็นอันดับ ๔ ของโลก
ประเทศไทยได้รับการประเมินให้ได้คะแนนดีที่สุด จาก ๑๘๔ ดินแดนทั่วโลก
ด้วยคะแนน ๘๒.๙๒%
๑๐ อันดับดินแดน และประเทศที่จัดการโควิด-19 ได้ดีที่สุด จากการจัดอันดับของ GCI มีดังนี้
สิงคโปร์ ฮ่องกง เดนมาร์ก ไทย ไต้หวัน ไอซ์แลนด์ เกาหลีใต้ ภูฏาน นิวซีแลนด์ และแคนาดา
ข้อมูลนี้ถ้าเป็น IO
ก็ถือว่าโคตร IO.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |