23 พ.ค. ศาล รธน.ชี้ขาด โรดแมป 'เลื่อน-ไม่เลื่อน'


เพิ่มเพื่อน    

    แม้ฝ่ายรัฐบาลและ คสช. รวมถึงคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะการันตีไว้แล้วว่า ไม่ว่าผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่จะนัดลงมติในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่สำคัญ 2 ฉบับ เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งคือ ร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส. และ ร่าง พ.ร.บ.การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ในวันพุธที่ 23 พ.ค.นี้จะออกมาอย่างไร จะไม่มีผลกระทบต่อโรดแมปการเลือกตั้งให้ขยับออกไปไกลเกินกว่ากุมภาพันธ์ 2562
    แต่การการันตีดังกล่าวประเมินไว้ก่อนคำวินิจฉัยจะออกมา ซึ่งไม่แน่ศาล รธน.อาจลงมติว่าไม่ขัดรธน.ดังกล่าวก็ได้ หรืออาจจะลงมติว่าขัด รธน.ก็ได้เช่นกัน
    โดยหากผลออกมาอย่างหลัง คือศาลวินิจฉัยว่าบางมาตราในร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับมีเนื้อหาขัด รธน. ก็ต้องดูว่าแล้วผลจากนั้นจะเป็นอย่างไร จะต้องแก้ไขเฉพาะมาตราที่มีปัญหาหรือว่าต้องกลับไปเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่ แล้วขั้นตอนดังกล่าวจะต้องใช้เวลาอีกนานแค่ไหน ตรงนี้ก็ยังไม่มีใครประเมินได้ แม้ฝ่ายรัฐบาลจะบอกว่าได้เผื่อเวลาเอาไว้ทั้งหมดแล้ว แม้กระทั่งหากต้องกลับไปแก้ไขร่างใหม่ ถึงอย่างไรเลือกตั้งก็ไม่เกิน ก.พ.62 แน่นอน
    ทั้งนี้ ประเด็นที่ สนช.ยื่นเรื่องให้ศาลวินิจฉัย คือประเด็นที่เกิดขึ้นหลัง มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.ได้ทักท้วงมายังประธาน สนช.ว่าร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับที่ผ่าน สนช.มาอาจมีปัญหา อันแยกเป็นประเด็นได้ดังนี้
    1.ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.
    ประเด็นที่เห็นว่ามีปัญหาคือ 1.วิธีการสมัครที่แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การสมัครด้วยตนเองกับการสมัครด้วยการแนะนำจากองค์กร และ 2.การเลือกในระดับอำเภอ จังหวัด และประเทศ โดยให้ผู้สมัครแต่ละวิธีแยกกันเลือกเป็นบัญชี 2 ประเภท
     โดย มีชัย เห็นว่าเนื้อหาดังกล่าวทำให้ผลการเลือกไม่ใช่การเลือกกันเองระหว่างผู้สมัครทั้งหมด  เพราะเป็นการแบ่งโควตาระหว่างผู้สมัครอิสระกับองค์กรแนะนำ ซึ่งการให้องค์กรเป็นผู้กลั่นกรองก่อนนั้น ทำให้ประชาชนไม่สามารถเลือกสมัครได้อย่างเสรีทุกกลุ่ม จึงไม่ตรงตามเจตนารมณ์มาตรา 107  ของรัฐธรรมนูญ ที่มุ่งให้ผู้สมัครเลือกกันอย่างเท่าเทียมภายใต้กฎเดียวกัน และไม่ได้มุ่งหมายให้แยก ประเภท จึงไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ หากมีผู้ร้องเรียนภายหลังจะทำให้การเลือกวุฒิสภาต้องเสียไปทั้งหมด
    2.ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.
    ทักท้วงใน 2 ประเด็น คือ 1.มาตรา 35 การตัดสิทธิ์เป็นข้าราชการการเมืองหากไม่ไปเลือกตั้ง  เพราะการที่ผู้ใดจะเข้ารับตำแหน่งไม่ใช่สิทธิ แต่เป็นเสรีภาพ จึงกังวลว่าเป็นการเขียนเกินขอบเขตการจำกัดสิทธิตามมาตรา 95 วรรค 3 ของรัฐธรรมนูญ
    2.การให้บุคคลอื่นหรือกรรมการประจำหน่วยลงคะแนนแทนผู้พิการ และให้ถือเป็นการออกเสียงโดยตรงและลับ เรื่องนี้ กรธ.กังวลว่าจะขัดต่อมาตรา 85 ของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ ส.ส.มาจากการลงคะแนนโดยตรงและลับ
    ข้อทักท้วงดังกล่าวของมีชัยและ กรธ.ข้างต้น จึงนำมาสู่การที่ สนช.เข้าชื่อยื่นเรื่องดังกล่าวให้ศาล รธน.วินิจฉัย
    ทั้งนี้ วันที่ 23 พ.ค.ที่จะถึงนี้ นอกเหนือจากศาลจะนัดฟังคำวินิจฉัยร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส.และร่าง พ.ร.บ.การได้มาซึ่ง ส.ว.แล้ว ยังนัดฟังคำวินิจฉัยกรณีผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231 (1) ว่าร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองมาตรา  140 และมาตรา 141 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 53/2560 เรื่องการดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 25, 26, 27 และมาตรา 45 หรือไม่
    ที่ก็ไม่แน่ ไฮไลต์สำคัญของคำวินิจฉัยศาล รธน.ในวันที่ 23 พ.ค.นี้อาจไม่ได้อยู่ที่ร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. แต่อาจอยู่ที่การวินิจฉัยคำสั่งหัวหน้า คสช.ดังกล่าว
    ที่มีสาระสำคัญคือเรื่องการให้พรรคการเมืองยื่นเรื่องจดแจ้งชื่อพรรคในช่วง 1-30 มี.ค. และการให้สมาชิกพรรคการเมืองเดิมที่จัดตั้งตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2550 ยืนยันการเป็นสมาชิกพรรคในช่วง 1-30 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่ถูกมองว่าคำสั่งดังกล่าวทำให้พรรคการเมืองเก่าเสียเปรียบทางการเมือง เช่น ทำให้หลายพรรคยอดสมาชิกหายไปจำนวนมากเพราะไม่สะดวกมายืนยันการเป็นสมาชิกพรรค
    คำร้องดังกล่าวเกิดขึ้นหลังผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาแล้วมีความเห็นว่าคำสั่งหัวหน้า คสช.มีสถานะเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231 (1) และบทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้รับรองและคุ้มครองการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 ประกอบมาตรา 45 อีกทั้งยังมีลักษณะเป็นการเพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 26 และเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ซึ่งขัดกับหลักความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 ได้รับรองและคุ้มครองไว้ จึงเสนอเรื่องพร้อมความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าคำสั่งหัวหน้า คสช.ดังกล่าวมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 25, มาตรา  26, มาตรา 27 และมาตรา 45 หรือไม่
    โรดแมปการเลือกตั้งจะเลื่อนหรือไม่เลื่อน และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/2560 ที่ไปแก้ พ.ร.บ.พรรคการเมืองที่ประกาศใช้ไปแล้วจะมีปัญหาหรือไม่ หรือทุกอย่างจะราบรื่นสะดวกโยธิน ศาลรธน.คือผู้ให้คำตอบวันที่ 23 พ.ค.นี้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"