'อัษฎางค์'งัดที่มาหลักการ'The king can do no wrong'สอนอาจารย์ส้มเน่า


เพิ่มเพื่อน    


5 มี.ค.64 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
"The king can do nothing" มาๆๆ จากไหน?
ผมมีคำตอบ!
............................................................................
“The king can do no wrong”
พระมหากษัตริย์ทรงกระทำผิดมิได้ หรือ พระมหากษัตริย์ไม่สามารถกระทำความผิดได้”
สาเหตุที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถกระทำความผิดได้ เพราะพระมหากษัตริย์ไม่มีพระราชอำนาจอยู่จริง ไม่มีพระราชอำนาจที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยพระองค์เอง ต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
เช่นการออกกฎหมายหรือแต่งตั้งรัฐบาล ข้าราชการ ฯ ล้วนต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
หรืออธิบายด้วยภาษาชาวบ้านได้ว่า ความจริงผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ คือผู้ที่มีอำนาจตัวจริง
เช่นกฎหมายที่พระราชบัญญัติที่ผ่านสภา ประธานรัฐสภาก็เป็นรับสนองพระบรมราชโองการ
กฎหมายที่พระราชกำหนดที่ผ่านคณะรัฐมนตรี ก็มีนายกรัฐมนตรีเป็นรับสนองพระบรมราชโองการ
ซึ่งโองการที่ว่า มิได้ออกมาจากพระราชประสงค์ส่วนพระองค์ แต่มาจากสมาชิกรัฐสภา หรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย
แต่ด้วยความที่ประเทศมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข เราจึงถวายพระเกียรติว่าเป็นพระราชโองการ และมีข้าราชการเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
............................................................................
“The King Can Do No Wrong” นี่เองที่เป็นที่มาของกฎหมายมาตรา 6  ด้วยเหตุผลว่าพระมหากษัตริย์ทรงกระทำผิดมิได้ จึงมีกฎหมายเพื่อคุ้มครองกษัตริย์ ห้ามมิให้บุคคลฟ้องพระมหากษัตริย์ได้
นอกจากนี้ยังเป็นกฎหมายที่มีไว้เพื่อกำกับควบคุมพระราชอำนาจอีกด้วย
เพราะฉะนั้นถ้าใครคิดจะล้ม กฎหมายมาตรา 6  เพราะหวังจะหาเรื่องฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ อาจไม่รู้ว่า กำลังจะยกเลิกกฎหมายกำกับควบคุมพระราชอำนาจอีกด้วย
............................................................................
หลักการ The King Can Do No Wrong  มิใช่ของใหม่ที่เพิ่งปรากฏในยุคปัจจุบัน แต่มีมาตั้งแต่สามวันหลังจากอภิวัฒน์สยามแล้ว และคณะราษฎร์ผู้ตรากฎหมายนี้ก็มิได้คิดขึ้นมาเอง แต่เลียนแบบมาจากประเทศอังกฤษ ต้นแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
อาจารย์ปรีดีได้เคยอธิบายหลักการ “The king can do no wrong” เอาไว้ในหนังสือ คำอธิบายกฎหมายปกครอง ตั้งแต่สมัยที่อาจารย์ยังเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่โรงเรียนกฎหมายก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
............................................................................
***โดยอาจารย์ปรีดีได้อธิบายไว้ว่า “‘The king can do no wrong’ นี้ใช้กับระบอบที่พระเจ้าแผ่นดินไม่มีอำนาจในการบริหารแผ่นดินนอกจากอำนาจในทางพิธีการและลงพระนามและยอมให้อ้างพระนามในกิจการต่าง ๆ แต่ไม่ได้ใช้อำนาจด้วยพระองค์เอง แต่ตกอยู่ที่คณะเสนาบดี
............................................................................
ดังเช่นระบบการปกครองของประเทศอังกฤษที่มีสุภาษิต “The king can do no wrong” ว่าเพราะเหตุที่กษัตริย์ทรงทำอะไรไม่ได้นี่เอง กษัตริย์จึงไม่อาจทำผิด”
จึงเป็นเหตุผลให้เกิดการออกกฎหมายมาตรา 6 ที่บัญญัติไว้ว่า “กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญายังโรงศาลไม่ได้”
...........................................................................
และด้วยหลักการที่อาจารย์ปรีดีได้ให้ไว้ว่า “The king can do no wrong” ว่าเป็นเพราะเหตุที่พระมหากษัตริย์ทรงทำอะไรไม่ได้นี่เอง
ที่อาจารย์นักสำเร็จความใคร่ทางวิชาการ บิดเบือนคำอธิบายของอาจารย์ปรีดี เอาไปสอนกฎหมายผิดๆ ให้กับลูกศิษย์และคนไทย เอามาแปลกลับไปเป็นภาษาอังกฤษว่า
"The king can do nothing" หรือ “พระมหากษัตริย์ทรงทำอะไรไม่ได้ หรือ กษัตริย์ไม่ทรงทำอะไรเลย"
แล้วสาวกที่มีการศึกษาแต่ไม่มีสติ ก็แห่ตามกันไป เอาไปพูดทุกทีทุกเวลาว่า "The king can do nothing"
ซึ่งประโยคคำพูดนี้ และหลักการนี้ไม่เคยมีปรากฎที่ใดในโลกเลยนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
อาจารย์ส้มเน่าได้สำเร็จความใคร่ทางวิชาการแล้วส่งต่อให้สาวกได้สำเร็จความใคร่ทางวิชาการต่อๆ กันไปอย่างเมาส์และภาคภูมิใจ
............................................................................
อัษฎางค์ ยมนาค

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"