3 มี.ค.2564 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ทิศทางฟื้นเศรษฐกิจ ฝ่าวิกฤติโควิด 2564” ว่า คาดการณ์ว่าตัวเลขเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปี 2564 จะขยายตัวได้ที่ 2.8% คงไม่ถึง 4% ตามที่เคยคาดการณ์ไว้ จากปี 2563 ที่ขยายตัวติดลบ 6.1% เนื่องจากดีมานต์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัว นักท่องเที่ยวต่างชาติยังเข้ามาไม่ได้ ซึ่งภาคการท่องเที่ยวคิดเป็น 12% ของจีดีพี รวมถึงการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยในช่วง 1-2 เดือนแรกของปีนี้ต้องชะงักไป จากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยการจำกัดบางพื้นที่ในการเดินทาง ซึ่งส่งผลกระทบกับภาพรวมเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง
ทั้งนี้ จากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ทำให้ในปีนี้รัฐบาลยังมีคามจำเป็นต้องออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นหลัก โดยที่ผ่านมามีหลายมาตรการที่ออกมา ซึ่งเป็นทั้งมาตรการในลักษณะการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมกัน อาทิ มาตรการคนละครึ่ง มาตราการเราชนะ และหลังจากนี้มองว่ารัฐบาลยังมีความจำเป็นต้องออกมาตรการระยะสั้นเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจอยู่
“เศรษฐกิจไทยอาจจะโตไม่ทันใจ โตไปช้าหน่อย แต่ก็เป็นแบบมั่นคงและต่อเนื่อง ผมพูดเสมอว่าจีดีพีของประเทศไทยไม่จำเป็นต้องโต 7-10% ก็ได้ ถ้าทำให้โตได้ที่ระดับ 3-5% แบบนี้ทุกปี ผมคิดว่าภาคเอกชน และภาคธุรกิจก็น่าจะถึงพอใจ สุดท้ายไม่ว่าเศรษฐกิจจะโตกี่เปอร์เซ็น แต่เมื่อมีวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วก็ทำให้อุ่นใจมากขึ้น ส่วนภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะดีมานต์จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังไม่กลับเข้ามานั่น กระทบท่องเที่ยวแน่นอน โดยคาดว่าท่องเที่ยวจะกลับมาโตได้ในปี 2566-2567 ก็อาจจะต้องกลับมาดูว่าจะช่วยอย่างไร เวลานี้ต้องทำอย่างไรให้ภาคการท่องเที่ยวสามารถยืนได้ด้วยตัวเอง ต้องทำควบคู่กันมาตรการช่วยเหลือก็ยังต้องมีต่อ ส่วนภาคธุรกิจเองก็ต้องปรับตัวและปรับโครงสร้างธุรกิจไปพร้อมกัน” นายอาคม กล่าว
นายอาคม กล่าวอีกว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการแก้ไขพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ซอฟท์โลน) วงเงิน 5 แสนล้านบาท ซึ่งมีแนวทางเบื้องต้นคือ การร่าง พ.ร.ก. ขึ้นมาใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหา พ.ร.ก. ฉบับเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ 2 เรื่อง คือ 1. ให้สามารถปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำให้กับธุรกิจขนาดใหญ่ได้ ซึ่งคาดว่าจะใช้วงเงินรวมหลักแสนล้านบาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาหลักเกณฑ์ ว่าจะปล่อยสูงสุดต่อรายที่ 500 ล้านบาท จากเดิมที่รายละ 20 ล้านบาท ส่วนอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 2% หรือมากกว่า
2. พ.ร.ก. ฉบับใหม่นี้จะครอบคลุมมาตรการโกดังเก็บหนี้ (Asset Warehousing) ซึ่งอยู่ระหว่างการสรุปรายละเอียด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มีปัญหาสภาพคล่องจากผลกระทบของโควิด-19 สามารถขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของให้กับสถาบันการเงิน สามารถซื้อขายได้ตามราคาที่ตกลงกันไว้ ไม่ใช่ราคาตลาดโดย คาดว่า พ.ร.ก. ฉบับใหม่นี้ จะใช้เวลาแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน หรือเร็วกว่านี้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |