18 พ.ค. 61 - นางปิยนุช โคตรสาร ตัวแทนเครือข่ายการสังเกตการณ์และบันทึกการชุมนุมสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่า การรวมตัวกันของเครือข่ายมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวและความชอบธรรมของผู้สังเกตการณ์ว่ามิได้เป็นส่วนหนึ่งของการชุมนุม ต้องการบันทึกข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยอิงจากตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชน และเสริมทักษะการเฝ้าสังเกตการณ์การชุมนุมอย่างมืออาชีพ
“หลักการสำคัญของเครือข่ายคือ ผู้สังเกตการณ์จะต้องไม่แสดงความคิดเห็นถึงการชุมนุมสาธารณะ ไม่ส่งเสริมหรือทำลายขวัญกำลังใจของผู้ที่ประสงค์จะมาร่วมชุมนุม และที่สำคัญคือผู้สังเกตการณ์จะต้องไม่มีส่วนร่วมหรือมีความเกี่ยวข้องใดๆ ต่อการชุมนุม การดำเนินกิจกรรมจะทำโดยเข้าไปสังเกตการณ์ จดบันทึกและรวบรวมข้อมูลที่บันทึกได้จัดทำเป็นเอกสารสำหรับรายงานต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป”
นางปิยนุช กล่าวด้วยว่า เสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้รับการคุ้มครอง รวมทั้งเสรีภาพในการแสดงออก การรวมตัวและสมาคม ซึ่งรัฐบาลของประเทศที่เป็นประชาธิปไตยต้องไม่จำกัดเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบ เพราะสิทธิเหล่านี้ได้รับการรับรองภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
โดยทางเครือข่ายแจ้งว่าการสังเกตการณ์การชุมนุมครั้งแรกจะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคมนี้ที่บริเวณแยกราชประสงค์เนื่องในวันครบรอบการสลายการชุมนุมเมื่อ 8 ปีที่แล้ว โดยสมาชิกเครือข่ายจะมีการแขวนป้ายและใส่เสื้อสีเขียวเหลือง ซึ่งมีคำว่า “ผู้สังเกตการณ์” ระบุไว้อย่างชัดเจน เพื่อแยกว่าผู้สังเกตการณ์มิได้เป็นส่วนหนึ่งของผู้ชุมนุม
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |