2 มี.ค.64- รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุข้อความว่า การชุมนุมของเยาวชนตั้งแต่ต้นปีมีแนวโน้มปะทะรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ สาเหตุหลักคือ แนวทางของรัฐที่มุุ่ง "ใช้ความรุนแรงทุกที่ทุกเวลาปราบม็อบให้สิ้นซาก" ฉะนั้น ไม่ว่าการชุมนุมจะเกิดขึ้นที่ไหน รูปแบบใด สันติสักแค่ไหน พยายามหลีกเลี่ยงจุดเสี่ยงและการเผชิญหน้าสักเพียงใด การปะทะก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
การบิดเบือนของฝ่ายรัฐและสื่อหลัก รวมถึงการด่าทอซ้ำเติมของสลิ่มทั้งเหลือง-แดงยังพอเข้าใจได้ แต่ยังมีเสียงตำหนิจากคนที่เห็นใจเยาวชนว่า ผู้ชุมนุมบางส่วนมุ่ง "ใช้ความรุนแรง" "จงใจเดินเข้าไปในจุดเสี่ยงอันตรายเพื่อปะทะ" "ดื้อดึงไม่ฟังผู้จัดการชุมนุม" ฯลฯ เพราะผู้วิจารณ์เอาภาพการชุมนุมปีที่แล้วมาเทียบกับปีนี้
แต่จากปีก่อนถึงปีนี้ เยาวชนมีประสบการณ์เปลี่ยนไป พวกเขาถูกกระทำด้วยกระบวนการยุติธรรมเต็มอัตราตั้งแต่ตำรวจไปถึงอัยการและศาล ด้วยข้อหาอาญาทุกมาตราหลายสิบคดีจนถึงการคุมขัง 4 แกนนำ วันนี้ความคับแค้นเกลียดชังเผด็จการยิ่งรุนแรงกว่า คนจำนวนมากท้อแท้มองไม่เห็นอนาคตจนไม่สามารถมาชุมนุมได้ ส่วนที่ยังมาร่วมก็มาด้วยความโกรธแค้นเต็มอก
อารมณ์ของผู้มาชุมนุมปีนี้จึงเคร่งเครียด คับแค้นและโกรธมาก ต่างจากปีที่แล้วที่พวกเขายังเป็น "เยาวชนมุ้งมิ้ง ใส ๆ" การใช้กำลังรุนแรงจากฝ่ายรัฐบวกกับความโกรธของเยาวชนจึงปะทุเป็นการปะทะบนถนนที่สูญเสียมากขึ้น
ความโกรธของผู้ชุมนุมที่เราเห็นจึงเป็นแค่ "ยอดโผล่เล็ก ๆ" ของภูเขาน้ำแข็งอันมหึมาที่ซ่อนอยู่ข้างล่าง ภูเขาของความโกรธ เกลียด แค้น ท้อแท้ สิ้นหวังของเยาวชน นี่เป็นโจทย์ที่ท้าทายผู้จัดชุมนุมและบรรดาแกนนำที่ยังไม่ถูกคุมขังในวันนี้ว่า จะรับมือกับอารมณ์ความรู้สึกและความต้องการของผู้ชุมนุมที่เปลี่ยนไปอย่างไร
เยาวชนวันนี้กำลังเดินไปบนเส้นทางเดียวกับ "คนเสื้อแดง" ที่สะสมความคับแค้นจากช่วงยุบพรรคพลังปชช.ปี 51 มาถึงเมษาเลือดปี 52 สิ่งที่น่ากังวลคือ พวกเขากำลังเดินไปสู่สถานการณ์เดียวกับการสังหารหมู่คนเสื้อแดงพฤษภา 53 หรือไม่?
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |