คมนาคมเดินหน้า'แลนด์บริดจ์'สร้างท่าเรือ-ทางคู่-มอเตอร์เวย์หนุนจีดีพีใต้โตแสนล้าน


เพิ่มเพื่อน    

1 มี.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษา ความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุนโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land bridge) ว่าปัจจุบันการขนส่งสินค้าระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศทางด้านมหาสมุทรอินเดีย ต้องเปลี่ยนถ่ายสินค้าทั้งนำเข้าและส่งออกผ่านช่องแคบมะละกา (สิงคโปร์) ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางที่อ้อมและมีระยะไกล การจราจรทางน้ำคับคั่ง มีความหนาแน่นของปริมาณเรือสูงถึง 100,000 ลำ/ปี และคาดว่าในปี 2567 การรองรับปริมาณเรือของช่องแคบมะละกาจะเต็มศักยภาพ

อย่างไรก็ตามคาดการณ์ว่าปี 93 ปริมาณเรือที่ผ่านจะมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าหรือ 400,000 ลำ/ปี จึงให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาโครงการดังกล่าววงเงิน 68 ล้านบาท ระยะเวลา 30 เดือน เริ่ม 2 มี.ค.64-1 ก.ย.66

 สำหรับโครงการดังกล่าว กระทรวงคมนาคมจะบูรณาการรูปแบบการขนส่งเชื่อมโยง 2 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือระนองแห่งใหม่ และท่าเรือชุมพร โดยออกแบบให้เป็นท่าเรือที่ทันสมัย (Smart Port) ควบคุมการบริหารจัดการด้วยระบบออโตเมชั่น รวมทั้งการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) และรถไฟทางคู่ ตลอดจนวางระบบการขนส่งทางท่อ โดยทำการก่อสร้างไปพร้อมกันในพื้นที่เดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องตามแผนบูรณาการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเชื่อมต่อแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ (MR-MAP) ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินของภาคประชาชน เบื้องต้นวงเงินลงทุนทั้งโครงการ ประมาณ 100,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นรูปแบบให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนกับภาครัฐ (PPP)

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า เมื่อผลการศึกษาแล้วจะเสนอรูปแบบการลงทุนโครงการนี้รวมกันเป็นแพ็คเก็จ ทั้งการสร้างท่าเรือ สร้างรถไฟทางคู่ และมอเตอร์เวย์ ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา เพื่อดำเนินการก่อสร้างพร้อมกัน คาดว่า ใช้เวลาสร้าง 3 ปี ซึ่งรูปแบบหาเอกชนลงทุนคาดว่าจะเป็นการประกวดราคานานาชาติ (International Bidding) เบื้องต้นสัดส่วนในการลงทุนสำหรับรัฐบาลกำหนดให้ต่างชาติเข้ามาลงลงทุน 30% ขณะที่กระทรวงคมนาคมกำหนดให้ต่างชาติลงทุน 50% ซึ่งคาดว่าผู้ที่มาลงทุนจะเป็นเอกชนรายกลุ่มที่รวมตัวกันเป็นรายเดียว

อย่างไรก็ตาม หลังจากศึกษาแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย รัฐบาล และกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางประชาสัมพันธ์โครงการในต่างประเทศ (Road Show) เพื่อดึงนักลงทุนจากต่างประเทศมาร่วมลงทุน ทั้งนี้ ในเบื้องต้นมีในโครงการดังกล่าว

ทั้งนี้ในส่วนของพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ ที่ จ.ชุมพร และ จ.ระนอนนั้น บริษัทที่ปรึกษาจะศึกษาความเหมาะสม พร้อมทั้งประสานกับพื้นที่ที่จะก่อสร้าง ทั้งนี้ ในเบื้องต้นมีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมหลายแห่ง ขณะที่ระบบการขนส่งทางท่อนั้น จะทำการศึกษาไว้ให้ แต่เอกชนที่จะมาลงทุนกระทรวงพลังงานต้องเป็นผู้ดำเนินต่อไป ซึ่งจะแยกโครงการต่างหาก

อย่างไรก็ตามเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม สร้างมูลค่าเพิ่มในเรื่องผลิตภัณฑ์มวลรวมรายภาคและจังหวัด (Gross Provincial Products : GPP) ในส่วนของภาคใต้ปัจจุบันอยู่ที่ 2% หรือ 24,000 ล้านบาท ให้เป็น 10% หรือ 120,000 ล้านบาท ภายใน 10 ปีหลังจากโครงการแล้วเสร็จหรือในปี 79 ลดระยะเวลาการขนส่งทางเรือลงได้ถึง 2 วัน ช่วยเปลี่ยนโฉมการเดินทางทางน้ำในเรื่องโลจิสติกส์ทางน้ำของโลก สามารถดำเนินโครงการเชื่อมต่อรถไฟรางคู่ขนส่งสินค้าไปยังหลุ่มทางภาคเหนือ เพื่อ เชื่อมไป สปป.ลาว จีน และรัฐเซียได้

ขณะที่ภาคใต้เชื่อมไปยังมาเลเซียและสิงคโปร์ รวมทั้งภาคตะวันออกเชื่อมไปยังกัมพูชา และเวียดนามด้วย ตลอดจนช่วยยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำของภูมิภาค เปิดเส้นทางเดินเรือแห่งใหม่ของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ช่วยสร้างโอกาส สร้างงานและรายได้เพิ่มขึ้น 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"