บอร์ดอีอีซีเร่งผลักดันโครงการระเบียงผลไม้หนุนรายได้เกษตรกรเพิ่ม30%


เพิ่มเพื่อน    

 

1 มี.ค. 2564 นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 1/2564 โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่าที่ประชุมได้ได้รับทราบ และพิจารณาความก้าวหน้า การดำเนินงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้ความคืบหน้าโครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออ(อีเอฟซี) โดยล่าสุด สกพอ. ได้ร่วมกับ อบจ.ระยอง เตรียมจัดทำระบบสมาชิก ชาวสวนผลไม้ และกลุ่มสหกรณ์ ที่พร้อมเข้าร่วมโครงการ โดยระยะแรกจะคัดเลือกจากกลุ่มชาวสวนทุเรียนที่ได้รับมาตรฐานสากลสำหรับส่งออก (GAP) ในเบื้องต้นโครงการอีเอฟซี ตั้งเป้าสร้างรายได้ให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มขึ้น 20 - 30%

ทั้งนี้ กรอบการขับเคลื่อนโครงการ จะดำเนินการ 4 แนวทางหลัก ได้แก่ 1.ศึกษาความต้องการตลาด เน้นศึกษาความต้องการ รสนิยม การบริโภคทุเรียน มังคุด และผลไม้ภาคตะวันออก เริ่มจากตลาดประเทศจีน 2.วางระบบการค้าใหม่ ผ่านการค้าออนไลน์(e-commerce) และการประมูลออนไลน์(e-Auction)พร้อมพัฒนาลงทุนบรรจุภัณฑ์ เพื่อขยายการส่งทางอากาศสู่ตลาดโลก เกษตรกรได้รับรายได้ตรงไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง 3.จัดทำระบบห้องเย็น รักษาคุณภาพผลไม้ให้ส่งขายตลอดปี และ 4.จัดระบบสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องใช้เทคโนโลยีพัฒนาผลผลิตให้ได้มาตรฐาน ตรงความต้องการตลาด

ขณะเดียวกันที่ประชุมเห็นชอบการเร่งเครื่อง สร้างเชื่อมั่นนักลงทุน ดึงดูดการลงทุนใน อีอีซี เพิ่มขึ้นเท่าตัว โดยจะเร่งให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงเพิ่มความสะดวกในการประกอบธุรกิจ อาทิ การจัดระบบบริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ One Stop Service และ Single Window อำนวยความสะดวกพิธีการศุลกากรต่างๆ การกำหนดอัตราภาษีที่ชัดเจนสำหรับอุตสาหกรรมและธุรกิจใหม่ เร่งดำเนินการเรื่องสนธิสัญญาระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน ให้เกิดการลงทุนรวมอุตสาหกรรมใหม่

นอกจากนี้ที่ประชุมยัง รับทราบ แนวทางการดำเนินงานผลักดันการใช้ประโยชน์จาก 5G และการลงทุนพัฒนาระบบ 5G ในพื้นที่ อีอีซี โดยมีแนวทางที่สำคัญ ดังนี้ 1.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน : จากสัญญาณ สู่ข้อมูลกลาง ติดตั้งแล้วเกิน 80% ของพื้นที่ ส่วนของสัญญาณ ได้ติดตั้ง ท่อ เสา สาย และสัญญาณ โดยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ (สดช.) และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ประสานให้เกิดต้นทุนต่ำสุด

ด้วยการใช้เสาอัจฉริยะร่วมกัน และการลงทุนเสาเพิ่มเพื่อให้เช่า รวมทั้งกำหนดราคาต่ำสุด เพื่อให้สะท้อนความสามารถการแข่งขันของธุรกิจ รวมถึงด้านข้อมูลกลาง ร่วมกับ สดช. กำหนดให้ข้อมูลภาครัฐ รวมอยู่ใน คลาวด์ภาครัฐโดย อีอีซี จะสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ข้อมูล และร่วมกับกระทรวงดิจิทัลฯ ปรับข้อกฎหมาย นำข้อมูลคลาวด์ภาครัฐ และภาคเอกชน เฉพาะข้อมูลที่เปิดเผยได้ จัดทำข้อมูลกลางเพื่อธุรกิจในอนาคต

2.ด้านการใช้ประโยชน์ : ก้าวสู่ดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยเพิ่มผู้ใช้ 5G ในภาคการผลิต ผลักดันภาคธุรกิจโรงงานใน อีอีซี 10,000 แห่ง โรงแรม 300 แห่ง หน่วยราชการ สถานศึกษา โรงพยาบาล กลุ่มเอสเอ็มอี ให้มาใช้ 5G พร้อมเริ่มนำร่องใช้ 5G บริเวณสัตหีบ สนามบินอู่ตะเภา นิคมฯ มาบตาพุด และบ้านฉาง ขณะเดียวกันจะนำ 5G สร้างประโยชน์ชุมชน ให้ชุมชนใช้ประโยชน์ 5G สูงสุด ผลักดันให้บ้างฉาง ก้าวสู่ต้นแบบชุมชนอนาคต รวมทั้งนำ 5G มาใช้ประโยชน์ในแผนพัฒนาภาคเกษตร เกิดระบบเกษตรอัจฉริยะ และสนับสนุนการใช้ดิจิทัลเพื่อดูแลสุขภาพชุมชน  รวมถึงการสร้างธุรกิจใหม่จาก 5G ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ 5G ในการพัฒนาหุ่นยนต์ และระบบออโตเมชั่น

3.ด้านการพัฒนาบุคลากร เยาวชนไทย คือหัวใจ 5G โดยได้ผลักดันเอกชน และสนับสนุนให้ทุกบริษัทที่จะมาลงทุนด้านดิจิทัล ให้เข้ามาร่วมลงทุนการพัฒนาคน โดยเน้นผลิตบุคลากรที่มีทักษะตามความต้องการของเอกชน ตั้งเป้าหมาย 3 ปี (2564 – 2566) รวม 115,282 คน ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 8,392 คน มีแผนในปี 2564 - 2565 จำนวน 62,890 คน และประสานกับบริษัทชั้นนำ เช่น Huawai, HP ผลิตบุคลากรร่วมกันอย่างน้อย 44,000 คน และ 4.ด้านการมีส่วนร่วม และประชาสัมพันธ์  สร้างการมีส่วนร่วมให้แก่ทุกภาคส่วน ให้เกิดการรับรู้การใช้ประโยชน์จาก 5G และร่วมพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน  


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"