วันนี้ (1 มีนาคม 2564) เวลา 9.00 น. จังหวัดปทุมธานีร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนที่รุกล้ำลำคลองและเยี่ยมให้กำลังใจประชาชนในโครงการ “ปทุมธานีโมเดล” ที่ชุมชนไทยมุสลิมสามัคคี ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี และโครงการในที่ดินราชพัสดุ 30 ไร่ ตรงข้าม ม.ธรรมศาสตร์รังสิต โดยมีนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นายสุพัฒน์ จันทนา ผู้อำนวยการภาคกรุงเทพฯ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ และเครือข่ายองค์กรชุมชนในจังหวัดปทุมธานีและกรุงเทพฯ เข้าร่วมกว่า 100 คน
ชุมชนไทยมุสลิมสามัคคี ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ก่อสร้างบ้านเสร็จตั้งแต่ปี 2560 มีผู้อยู่อาศัย 100 ครอบครัว
‘โครงการปทุมธานีโมเดล’ เป็นนโยบายในยุครัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เริ่มดำเนินการในปี 2559 เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดรุกล้ำลำน้ำสาธารณะในจังหวัดปทุมธานี และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเฉพาะที่บริเวณคลองหนึ่ง อ.คลองหลวง ซึ่งมีชาวบ้านปลูกบ้านเรือนรุกล้ำลำคลองมานานหลายสิบปี จำนวน 16 ชุมชน รวม 1,433 ครัวเรือน
โดยรัฐบาลในขณะนั้นมอบหมายให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย จัดทำโครงการ “ปทุมธานีโมเดล” เพื่อรองรับประชาชนที่ต้องรื้อย้ายบ้านเรือนออกจากคลองหนึ่งจำนวน 2 โครงการ คือ 1.โครงการบ้านมั่นคงไทยมุสลิมสามัคคี หรือชุมชนแก้วนิมิตรเดิม จำนวน 100 ครอบครัว และ 2.โครงการสหกรณ์เคหสถานปทุมธานีโมเดล จำกัด เนื้อที่ 30 ไร่เศษ เป็นที่ดินราชพัสดุ(เดิมเป็นที่ดินสาธารณะ คสช.ใช้มาตรา 44 เพิกถอนเพื่อรองรับชาวบ้านที่ต้องรื้อย้ายออกจากพื้นที่ริมคลอง) ตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต จำนวน 258 ครอบครัว ปัจจุบันทั้ง 2 โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จและประชาชนเข้าอยู่อาศัยแล้ว
โครงการสหกรณ์เคหสถานปทุมธานีโมเดล จำกัด เนื้อที่ 30 ไร่เศษ เป็นที่ดินราชพัสดุตรงข้าม ม.ธรรมศาสตร์รังสิต จำนวน 258 ครอบครัว
นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ปทุมธานีโมเดลคือโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยเพื่อคนยากจนที่บุกรุกที่ดินสาธารณะริมคลองหนึ่ง และเป็นการสร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม จังหวัดปทุมธานีขอขอบพระคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ที่มาร่วมกันดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยเพื่อคนยากจน
นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
“โครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยเพื่อคนยากจนที่บุกรุกที่ดินสาธารณะจังหวัดปทุมธานี หรือ ‘ปทุมธานีโมเดล’ เป็นโครงการตามนโยบายของรัฐบาลที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ โดยตระหนักถึงเป้าหมายของการสร้างความมั่นคงยั่งยืนด้านที่อยู่อาศัย และการคืนคลองสวยน้ำใส เกิดภูมิทัศน์ที่ดีแก่ประชาชนในพื้นที่ โดยได้รับความร่วมมือในการขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนในพื้นที่ และสร้างที่อยู่อาศัยได้อย่างเป็นรูปธรรม” นายชัยวัฒน์กล่าว
นายสุพัฒน์ จันทนา ผู้อำนวยการภาคกรุงเทพฯ พอช.
นายสุพัฒน์ จันทนา ผู้อำนวยการภาคกรุงเทพฯ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ ‘พอช.’ กล่าวว่า โครงการปทุมธานีโมเดลเป็นการแก้ปัญหาการปลูกบ้านรุกล้ำลำคลองสาธารณะ โดย พอช.ดำเนินการร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาและจัดสร้างบ้านมั่นคงรองรับชาวบ้านริมคลอง รวม 16 ชุมชน จำนวน 1,433 ครัวเรือน โดย พอช. ดำเนินการจัดทำโครงการบ้านมั่นคง 2 โครงการ คือ 1.ชุมชนแก้วนิมิตร จัดซื้อที่ดิน 5 ไร่เศษ ไม่ไกลจากชุมชนเดิม ก่อสร้างบ้านใหม่จำนวน 100 ครัวเรือน และ 2.โครงการสหกรณ์เคหสถานปทุมธานีโมเดล จำกัด ในที่ดินราชพัสดุบริเวณคลองเชียงรากใหญ่ ตรงข้าม ม.ธรรมศาสตร์รังสิต เนื้อที่ 30 ไร่ รองรับประชาชน 258 ครัวเรือน
นายนรายุทธ เขียนจัตุรัส เลขานุการสหกรณ์บ้านมั่นคงไทยมุสลิมสามัคคี จำกัด กล่าวว่า เดิมชาวบ้านอาศัยอยู่ที่ชุมชนแก้วนิมิตร ริมคลองหนึ่ง ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เมื่อรัฐบาลมีโครงการแก้ไขปัญหาชุมชนที่รุกล้ำลำคลองสาธารณะในจังหวัดปทุมธานี โดยเฉพาะในบริเวณริมคลองหนึ่ง ชุมชนแก้วนิมิตรเป็นชุมชนแรกที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ‘ปทุมธานีโมเดล’ โดยรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ตั้งแต่ปี 2558 และในเวลาต่อมาได้จัดตั้งเป็นสหกรณ์เคหสถาน ใช้ชื่อว่า ‘สหกรณ์บ้านมั่นคงไทยมุสลิมสามัคคี จำกัด’ มีสมาชิกจำนวน 100 ครัวเรือน จัดซื้อที่ดินแปลงใหม่ขนาด 5 ไร่ 42 ตารางวา ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากชุมชนเดิมประมาณ 5 กิโลเมตร และก่อสร้างบ้านใหม่จำนวน 98 หลังคาเรือน (100 ครอบครัว) แล้วเสร็จ และชาวบ้านเข้าอยู่อาศัยตั้งแต่ปี 2560
ผู้ว่า จ.ปทุมธานีกับชาวชุมชนไทยมุสลิมฯ
ส่วนแบบบ้านมีทั้งหมด 3 แบบ คือ 1.บ้านแฝดสองชั้น ขนาด 56 ตารางเมตร 2. บ้านแฝดสองชั้น ขนาด 63 ตารางเมตร และ 3. บ้านแฝดสองชั้น ขนาด 77 ตารางเมตร ราคาก่อสร้างพร้อมที่ดินต่อหลังประมาณ 272,000 - 295,000 บาท ระยะเวลาผ่อนส่ง 15 ปี อัตราผ่อนส่งเดือนละ 2,500 - 3,000 บาท
นายไพศาล ฉิมช้าง ที่ปรึกษาสหกรณ์เคหสถานปทุมธานีโมเดล จำกัด กล่าวว่า การสร้างบ้านมั่นคงในพื้นที่ 30 ไร่ในที่ดินราชพัสดุ (ตรงข้าม ม.ธรรมศาสตร์รังสิต) ได้รับสัญญาเช่าจากกรมธนารักษ์ ระยะเวลา 30 ปี โดยชาวบ้านได้ร่วมกันจัดตั้งสหกรณ์เคหสถานฯ ขึ้นมา มีชาวบ้านจาก 13 ชุมชนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 258 ครัวเรือน เป็นอาคารสูง 3 ชั้น เนื้อที่ ห้องละ 26 ตารางเมตร จนถึง 45 ตารางเมตรตามขนาดของครอบครัว และบ้านแฝด 2 ชั้น เริ่มก่อสร้างบ้านในปี 2559 ปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว 1 อาคาร จำนวน 23 ห้อง มีชาวบ้านเข้าอยู่อาศัยแล้ว ส่วนที่เหลือตามแผนงานจะแล้วเสร็จทั้งหมดในช่วงกลางปีนี้
ชุมชนสหกรณ์เคหสถานปทุมธานีโมเดลฯ ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 อาคาร
สภาพชุมชนเดิมที่รุกล้ำคลองหนึ่ง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |