28 ก.พ. 2564 รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมแจ้งว่าในวันที่ 1 มี.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม จะเป็นประธานพิธีลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้นประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุนโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ
รายงานข่าวจาก สนข. แจ้งว่า สำหรับการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์นั้น ใช้วงเงินค่าจ้างตามสัญญา 67.81 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 30 เดือน หรือเริ่มต้นสัญญาวันที่ 2 มี.ค. 2564-วันสิ้นสุดสัญญาวันที่ 1 ก.ย.66 โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ที่จะมาดำเนินการศึกษา ประกอบด้วย บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ดีเคด คอนซัลแตนท์ จำกัด, บริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด, บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด
"การดำเนินการโครงการแลนด์บริดจ์ ถือเป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจระยะยาว ทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสให้ประเทศ ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่เดินหน้าปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ มุ่งเน้นความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก พร้อมมุ่งที่การลงทุนขนาดใหญ่ จึงได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมไปศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ เพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ นอกเหนือจากการดำเนินโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)"แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้โครงการแลนด์บริดจ์ ยังถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ที่จะช่วยขยายขีดความสามารถการพัฒนาทางเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ สามารถเชื่อมประเทศไทย กับกลุ่มประเทศในอาเซียน จีน อินเดีย ตลอดจนเชื่อมโยงประเทศกลุ่มประเทศตะวันออกไกล เข้ากับกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และสภาพยุโรปให้สะดวกยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการขับเคลื่อนไทยสู่เวทีการค้าโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับการศึกษาโครงการดังกล่าวนั้น จะคำนึงถึงปริมาณของสินค้าที่เดินทางผ่านไทย เพื่อให้ไทยได้รับประโยชน์จากการขนส่งสินค้าข้ามประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า เส้นทางการขนส่งสินค้าทางเรือมีโอกาสผ่านไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบริเวณช่องแคบมะละกา แถบบริเวณภาคใต้ของไทยที่ทำให้สิงคโปร์ได้รับประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว ขณะที่ไทยไม่ได้รับประโยชน์ในการขนส่งสินค้าผ่านแนวเส้นทางดังกล่าว หากสามารถดำเนินโครงการแลนด์บริดจ์ให้เกิดขึ้นในไทยได้ จะทำให้ไทยได้ประโยชน์ในการขนส่งสินค้ามากขึ้น
ทั้งนี้ ในส่วนของรูปแบบการพัฒนาแลนด์บริดจ์นั้น จะประกอบไปด้วย ท่าเรือพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบริเวณปลายทั้ง 2 ด้านของฝั่งทะเล จ.ระนอง และ จ.ชุมพร โดยมีการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าเพื่อเชื่อมโยงท่าเรือทั้ง 2 แห่งด้วยทางรถไฟ และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) คู่ขนานบนเส้นทางเดียวกัน เพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินกับภาคประชาชน ซึ่งในขณะนี้ กรมทางหลวง (ทล.) อยู่ระหว่างจ้างบริษัทที่ปรึกษา เพื่อออกแบบโครงการมอเตอร์เวย์เช่นกัน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |