เปิดเวทีสัมมนาเสริมสร้างศักยภาพผู้นำองค์กรชุมชนภาคเหนือ 15 จังหวัด


เพิ่มเพื่อน    

เชียงราย / เวทีสัมมนาเสริมสร้างศักยภาพผู้นำองค์กรชุมชนภาคเหนือ 15 จังหวัด  ใช้พื้นที่เตรียมประกาศเขตอุทยานฯ ภูชี้ฟ้าแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพราะจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการทำมาหากินของชาวบ้านกว่า 50,000 คน  ขณะที่ผู้นำชาวม้งยืนยันชาวบ้านรักษาป่าเองได้  โดยไม่ต้องประกาศเขตอุทยานฯ  พร้อมใช้สภาองค์กรชุมชนเป็นเครื่องมือวางแผนแก้ปัญหาความเดือดร้อน

ระหว่างวันที่ 16-18  พฤษภาคม 2561  คณะกรรมการเสริมสร้างศักยภาพผู้นำองค์กรชุมชนภาคเหนือร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  สำนักงานภาคเหนือ  จัดเวทีสัมมนาการพัฒนาศักยภาพผู้นำองค์กรชุมชนภาคเหนือ 15  จังหวัด ‘การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนพึ่งตนเอง’ ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวภูชี้ฟ้า  ต.ตับเต่า  อ.เทิง  จ.เชียงราย  โดยมีผู้นำชุมชน  ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ พอช.สำนักงานภาคเหนือ   และวิทยากรที่มีประสบการณ์ด้านงานพัฒนาขบวนองค์กรชุมชนเข้าร่วมงานประมาณ  140 คน

นายประนอม  เชิมชัยภูมิ   คณะกรรมการเสริมสร้างศักยภาพผู้นำองค์กรชุมชนภาคเหนือ  กล่าวว่า  การจัดการสัมมนาครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้นำขบวนองค์กรชุมชน  15 จังหวัดภาคเหนือสามารถจัดทำแผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาในชุมชนท้องถิ่นของตนเองได้  นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้นำชุมชนสามารถใช้พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน  เนื่องจากที่ผ่านมา  ผู้นำชุมชนหลายแห่งรับรู้ว่ามี พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนฯ  หรือจัดตั้งสภาฯ แล้ว  แต่ยังไม่รู้วิธีการที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

“การเลือกพื้นที่สัมมนาที่ภูชี้ฟ้าในครั้งนี้  เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว  ทางราชการ  โดยเฉพาะกระทรวงเกษตรฯ มีเป้าหมายที่จะประกาศเขตอุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า  จากเดิมที่เป็นเขตวนอุทยานฯ มีพื้นที่ประมาณ  2,000 ไร่  เมื่อประกาศเขตอุทยานฯ แล้วจะมีพื้นที่ประมาณ 200,000 ไร่  ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการทำมาหากินของชาวบ้านกว่า 50,000 คนในพื้นที่ดังกล่าว  ดังนั้นการจัดงานสัมมนาที่ภูชี้ฟ้าจะทำให้ผู้นำชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ที่เตรียมประกาศเขตอุทยานฯ มีความตื่นตัวและร่วมกันจัดทำแผนงานขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหา  โดยใช้สภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นเครื่องมือ  ส่วนผู้นำจากจังหวัดต่างๆ ก็จะได้เรียนรู้ประสบการณ์ไปพร้อมกัน”  นายประนอมกล่าว

ทั้งนี้พื้นที่ที่เตรียมประกาศเขตอุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า ครอบคลุมพื้นที่ดอยยาว  ดอยผาหม่น  และภูชี้ฟ้า  อยู่ติดกับชายแดนประเทศลาว  ในเขตอำเภอเชียงของ  ขุนตาล  เวียงแก่น  และเทิง  รวมทั้งหมด  8 ตำบล  เนื้อที่ประมาณ  200,000 ไร่  มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการทวงคืนพื้นที่ป่าทั่วประมาณ 40 % ของพื้นที่ทั้งหมดที่ถูกบุกรุก  รวมทั้งการประกาศเขตอุทยานฯ  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าทั่วประเทศด้วย

นายพูลสวัสดิ์  ยอดมณีบรรพต อายุ 69 ปี  อดีตผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย   อาศัยอยู่ที่  ต.ปอ  อ.เวียงแก่น  จ.เชียงราย  ตัวแทนชาวม้งกล่าวว่า  พื้นที่ที่เตรียมประกาศเขตอุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า  ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีชาวม้งอาศัยอยู่   โดยสมัยเมื่อ 40-50 ปีก่อน  ชาวม้งถูกเจ้าหน้าที่รัฐข่มเหงรังแก  ได้รับความเดือดร้อน  จึงหลบหนีไปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ที่มีฐานที่มั่นอยู่ติดชายแดนประเทศลาว  และร่วมต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาลเรื่อยมา  จนเมื่อรัฐบาลมีนโยบาย 66/2523  เพื่อยุติการต่อสู้ด้วยอาวุธ  ชาวม้งจึงยอมวางอาวุธ  และเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย  โดยรัฐจัดสรรที่ดินทำกินให้  ทำให้ชาวม้งและครอบครัวมีชีวิตที่สงบสุข  ทำมาหากินด้วยการทำไร่  ทำสวนบนพื้นที่สูง  โดยเฉพาะที่ภูชี้ฟ้า  ดอยยาว  และดอยผาหม่น

“หากทางราชการประกาศเขตอุทยานฯ ก็จะให้พี่น้องชาวม้งได้รับความเดือดร้อน  เช่น  หากเข้า-ออกผ่านเขตอุทยานฯ จะต้องเสียค่าผ่านทาง  ชาวบ้านเข้าไปทำมาหากินในพื้นที่ของตนเอง  หรือเก็บสมุนไพร  หน่อไม้  เห็ดป่าไม่ได้  เพราะอาจจะถูกเจ้าหน้าที่จับกุมเหมือนกับชาวบ้านที่ดอยผาจิ  จังหวัดพะเยา  ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว  ชาวบ้านโดนจับไป 7 ราย  นอกจากนี้ชาวบ้านที่ทำที่พักหรือรีสอร์ทอาจจะถูกรื้อถอนเพราะอยู่ในเขตอุทยานฯ เหมือนกับที่เขาค้อหรือภูทับเบิก  แต่ที่นั่นส่วนใหญ่เป็นรีสอร์ทของนายทุน  แต่ที่ภูชี้ฟ้าเป็นของชาวบ้านทำกันเอง”  ตัวแทนชาวม้งกล่าว

นายสุรชัย  กตเวทีธรรม  ผู้ใหญ่บ้านร่มฟ้าผาหม่น  ต.ปอ  อ.เวียงแก่น   กล่าวว่า  ชาวบ้านในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีอาชีพ ปลูกหอมดอก  กะหล่ำปลี  ถั่วพุ่ม  และปลูกข้าวไร่เอาไว้กิน  แต่เดิมเคยปลูกข้าวโพดเป็นอาชีพหลัก  แต่รัฐบาลประกาศห้ามไม่ให้พ่อค้ารับซื้อข้าวโพดที่ปลูกบนพื้นที่สูง  ชาวบ้านจึงต้องปลูกพืชไร่ขายส่งให้พ่อค้า  ฐานะส่วนใหญ่พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง  หากมีการประกาศเขตอุทยานฯ ก็จะทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนยิ่งขึ้น  เพราะทุกวันนี้ก็ทำมาหากินลำบากอยู่แล้ว 

“ส่วนการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้  เราได้เตรียมวางแผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาการประกาศเขตอุทยานฯ  โดยเราจะใช้สภาองค์กรชุมชนตำบลปอและสภาตำบลในพื้นที่ใกล้เคียง  คือตำบลตับเต่า  อำเภอเทิง  ร่วมกันแก้ไขปัญหา  และจัดการปัญหาของตัวเองได้  โดยที่เจ้าหน้าที่ไม่ต้องประกาศเขตอุทยานฯ  เพราะเราจะช่วยกันรักษาและเพิ่มพื้นที่ป่า  โดยการสำรวจและรังวัดพื้นที่ที่ดินทำกินกับพื้นที่ป่าออกจากกันให้ชัดเจน   เพื่อไม่ให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่า  และจะเพิ่มความเข้มงวดในการดูแลกฎระเบียบการห้ามบุกรุกป่า  ห้ามล่าสัตว์ป่า  ซึ่งตอนนี้ในตำบลเริ่มทำไปแล้ว 9 หมู่บ้านจากทั้งหมด 20 หมู่บ้าน”  นายสุรชัยกล่าว

ผู้ใหญ่บ้านร่มฟ้าฯ กล่าวด้วยว่า  ที่ผ่านมาชาวบ้านได้ร่วมกันดูแลรักษาป่า  จนมีต้นไม้และป่าไม้เพิ่มมากขึ้นในเขตภูชี้ฟ้าและดอยผาหม่น   เพราะจากเดิมในช่วงฤดูแล้งจะเกิดไฟไหม้ป่าและมีการเผาป่าหญ้าคา  ทำให้ต้นไม้ต่างๆ ที่กำลังเติบโตถูกไฟเผาตาย  โดยชาวบ้านเริ่มทำแนวกันไฟตั้งแต่ปี 2546  และซื้อวัวมาเลี้ยงแล้วปล่อยให้กินหญ้าตามชายป่า เพื่อป้องกันไม่ให้หญ้าคาและหญ้าต่างๆ เป็นเชื้อเพลิงลุกลามไหม้ต้นไม้ที่กำลังจะโต  นอกจากนี้ขี้วัวยังเป็นปุ๋ยบำรุงต้นไม้  ทำให้มีต้นไม้เพิ่มมากขึ้น  จากเดิมที่เป็นทุ่งหญ้าคาหรือเป็นภูเขาหัวโล้น  โดยตอนนี้ในเขตตำบลปอมีวัวที่ชาวบ้านปล่อยเลี้ยงอยู่ในป่าประมาณ 100 ตัว

นายประดิษฐ์  เรียวอยู่   คณะทำงานสร้างบ้านแปงเมืองพะเยา  กล่าวว่า  จังหวัดพะเยามีบางพื้นที่ที่มีปัญหาคล้ายกับที่ภูชี้ฟ้า  เช่น  อำเภอปง  อำเภอเชียงม่วน  ซึ่งคณะทำงานฯ จะนำประสบการณ์จากการสัมมนาครั้งนี้กลับไปวางแผนการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาต่อไป  อย่างไรก็ตาม  ที่ผ่านมา  คณะทำงานฯ ได้ร่วมกันวางแผนงานการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่รอบกว๊านพะเยา  เพราะที่ผ่านมาพื้นที่รอบกว๊านประสบกับปัญหาต่างๆ  เช่น  ปัญหาน้ำแล้งในปี 2559  เนื่องจากมีการปล่อยน้ำออกจากกว๊านในปริมาณมาก  ทำให้น้ำในกว๊านแห้งจนถึงผืนดิน  มีปัญหาต่อระบบการผลิตน้ำประปา  ประมงพื้นบ้านหากินในกว๊านไม่ได้  เกิดผลกระทบต่อ 8 ชุมชนท้องถิ่นที่อยู่รอบๆ กว๊าน

“แต่เนื่องจากการบริหารจัดการน้ำในกว๊านพะเยามีหลายหน่วยงาน  และมีกฎระเบียบแตกต่างกัน  เช่น  มีกรมประมง  กรมที่ดิน  กรมธนารักษ์  อบต.  เทศบาล  ฯลฯ  เช่น  หากจะพัฒนากว้านโดยการขุดลอกดินก็ต้องขออนุญาตกรมธนารักษ์  แต่เมื่อขุดลอกแล้วก็นำดินออกไปไม่ได้  ต้องทำเรื่องไปขอฝากดินจากหน่วยงานอื่น  ส่วนประมงพื้นบ้านก็มีปัญหาเรื่องการทำมาหากินในกว๊าน  เข้าไปจับปลาไม่ได้  ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้  ที่ผ่านมาชาวบ้านไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ  คณะทำงานสร้างบ้านแปงเมืองพะเยาจึงร่วมกับหน่วยงานภาคีต่างๆ จัดทำ ‘ธรรมนูญกว๊าน’ ขึ้นมา  เพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่รอบๆ  กว๊านได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ  โดยจะนำเรื่องธรรมนูญกว๊านไปผลักดันเพื่อให้เห็นผลต่อไป”  นายประดิษฐ์ยกตัวอย่าง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"