28 ก.พ. 2564 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า
สถานการณ์ทั่วโลก 28 กุมภาพันธ์ 2564...
ทะลุ 114 ล้านไปเรียบร้อยแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 403,215 คน รวมแล้วตอนนี้ 114,343,638 คน ตายเพิ่มอีก 8,604 คน ยอดตายรวม 2,536,180 คน
อเมริกา เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 77,223 คน รวม 29,195,484 คน ตายเพิ่มอีก 1,931 คน ยอดตายรวม 524,539 คน
อินเดีย ติดเพิ่ม 17,346 คน รวม 11,096,440 คน
บราซิล ติดเพิ่ม 61,602 คน รวม 10,517,232 คน
รัสเซีย ติดเพิ่ม 11,534 คน รวม 4,234,720 คน
สหราชอาณาจักร ติดเพิ่มอีก 7,434 คน รวม 4,170,519 คน
อันดับ 6-10 เป็น ฝรั่งเศส ตุรกี อิตาลี สเปน และเยอรมัน ส่วนใหญ่ติดกันหลายพันถึงหลายหมื่นต่อวัน
แถบอเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย อย่างโคลอมเบีย เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ยูเครน แคนาดา รวมถึงอิหร่าน บังคลาเทศ อิสราเอล สหรัฐอาหรับอีมิเรตส์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่น
แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็ยังมีติดเชื้อเพิ่ม ส่วนใหญ่หลักร้อยถึงพันกว่า
เกาหลีใต้ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน สิงคโปร์ ไทย ฮ่องกง เมียนมาร์ และกัมพูชา ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่เวียดนาม ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ
ล่าสุดวัคซีน Johnson&Johnson ถือเป็นวัคซีนตัวที่ 3 ที่กำลังจะได้รับการใช้ในอเมริกา และเป็นวัคซีนที่ไม่ใช่ mRNA ตัวแรก
จุดเด่นที่น่าสนใจมากคือ การฉีดเพียงเข็มเดียว ซึ่งอาจทำให้เป็น game changer สำหรับประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ เนื่องจากไม่ต้องพะวงกับการต้องติดตามคนมาฉีดให้ครบสองเข็มเหมือนวัคซีนอื่น และไม่ต้องมานั่งเถียงกันว่ามีวัคซีนจำกัดแล้วควรเน้นฉีดเพื่อเอาจำนวนคน หรือควรจะกันโควต้าไว้สำหรับฉีดเข็มสองให้คนที่ได้รับมาแล้ว
การสร้างความเชื่อมั่นนั้นมีหลากหลายแนวทาง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
ในภาวะที่มีการระบาดของโรครุนแรง ความโปร่งใส การตรวจสอบได้ การเปิดเผยข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียด โดยใช้ความรู้ที่ถูกต้องนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันสถานการณ์ และสามารถตัดสินใจประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และจะนำมาสู่ความเชื่อมั่น มั่นใจ อุ่นใจ ตามมา
แต่หากหันซ้ายที ขวาที นาทีนี้บอกอย่างนึง อีกนาทีบอกอีกอย่างนึง แถมเอาเข้าจริงคนทั่วไปก็ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลรายละเอียดสำคัญใดๆ ได้ ฟังได้แต่เพียงลมปาก ก็ยากที่จะทำให้เกิดความรู้เท่าทัน และขาดสมรรถนะในการประคับประคองเอาตัวรอดยามวิกฤติได้
การนำทัพแบบ Come with me ของผู้นำทัพในศึกสงครามต่างๆ ในอดีตนั้น เคยได้รับการนำไปจำแนกเป็นรูปแบบภาวะผู้นำที่เรียกว่า Authoritative type ซึ่งหากผู้นำทัพนั้นมีความรู้ความสามารถ มีความกล้าหาญ และมีเสน่ห์ในการจูงใจให้ทุกคนทำตามจากการที่ผู้นำทัพได้กระทำเป็นแบบอย่างให้เห็น ถือว่าเป็นรูปแบบผู้นำทัพที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง
แต่ไม่ใช่ว่าใครต่อใครจะสามารถทำในลักษณะดังกล่าวได้ เหล่าลิ่วล้อลูกสมุนมักจะเลียนแบบได้ยาก
ทั้งนี้การเป็นผู้นำเพื่อจูงใจให้คนอื่นทำตาม จึงต้องมีต้นทุนเดิมมาก่อน ทั้งเรื่องการสั่งสมและแสดงให้เห็นถึงความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม ดูแลคนของตนภายใต้หลักธรรมาภิบาล จนเป็นที่ประจักษ์ชัด ปราศจากข้อสงสัยคลางแคลงใจ และหากมีต้นทุนที่มากพอ พอนำทัพไปสู้ศึกใดๆ ความไว้เนื้อเชื่อใจที่คนมอบให้ ก็ย่อมทำให้สามารถจูงใจให้คนร่วมสู้ได้อย่างไม่ต้องวิตกกังวล
หลักการข้างต้นเป็นสิ่งที่เราเห็นเป็นสัจธรรม ประยุกต์ได้กับการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก
ว่ากันเรื่องแนวคิดและหลักการมามากแล้ว...
มองสถานการณ์ของเรา การระบาดยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
ขอให้ป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด
ใช้ความรู้ที่ถูกต้องเป็นแสงส่องทาง ตัดสินใจด้วยหลักเหตุผล หากสงสัยขอให้ถามไถ่กับผู้รู้ให้กระจ่าง และตรวจสอบกับแหล่งข้อมูลต่างๆ อย่างถี่ถ้วน
ใส่หน้ากากเสมอ ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างคนอื่นหนึ่งเมตร
ลดละเลี่ยงการกินดื่มในร้าน ซื้อกลับจะปลอดภัยกว่า
ลดละเลี่ยงการตะลอนท่องเที่ยวพบปะสังสรรค์ปาร์ตี้ และที่อโคจร
และหมั่นสังเกตอาการตนเองและครอบครัว หากไม่สบายคล้ายหวัด ขอให้หยุดเรียนหยุดงานแล้วรีบไปตรวจรักษา ไม่ควรปล่อยทิ่งไว้หรือซื้อยากินเอง
โควิด...ติด...ไม่ใช่แค่คุณ
ด้วยรักต่อทุกคน
สวัสดีวันอาทิตย์ครับ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |