'ทูตนริศโรจน์' เปิดข้อมูลอีกด้านทิศทางการเมืองในเมียนมา เชื่อมั่น 'ดอน' หาทางออกวิกฤติ


เพิ่มเพื่อน    

27 ก.พ.64 - นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กว่าได้อ่านข่าวพัฒนาการทางการเมืองในเมียนมาด้วยความไม่สบายใจ ในฐานะ”ลูกหม้อเก่า”ของ กต. ที่ยังเชื่อมั่นในการทำงานและการตัดสินใจของเจ้ากระทรวงฯ คือท่านดอน ปรมัตถ์วินัย

ผมจึงต้องไปเสวนากับผู้หลักผู้ใหญ่ของกต.เพื่อหาข้อมูลเชิงลึกอีกด้านที่คนทั่วไปอาจไม่รู้ เพื่อจะได้เข้าใจในสิ่งที่ กต. ดำเนินการไป เพื่อประโยชน์สุขอันยั่งยืนของคนไทยคนเมียนมา และสมาชิกอาเซียนทั้งหมด

ขอสรุปเป็นข้อๆให้อ่านกันง่ายละกันนะครับ

(1) ไทยและเมียนมาเราเป็นประเทศเพื่อนบ้านในครอบครัวอาเซียนที่มีชายแดนติดต่อกันยาวกว่า 2400 กม. มีปัจจัยที่ละเอียดอ่อนเปราะบางหลายประเด็นที่สุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคงของเราเช่น มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆตามแนวชายแดน มีแรงงาน <guest workers> กว่า2ล้านคน มีการค้าชายแดนในหลายจุดผ่านแดนที่รวมแล้วมีมูลค่าสูงที่เกี่ยวข้องกับคนมากมาย มีกิจกรรมลักลอบนำยาเสพติด นำแรงงานผิดกม.เกิดการค้ามนุษย์ตามแนวชายแดน

มีโรคระบาดโควิดไหลเข้าออกตามแนวธรรมชาติบริเวณชายแดนเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ และที่สำคัญมากที่สุดคือ ตอนนี้สถานการณ์ทางการเมืองภายในของเมียนมากำลังทวีความรุนแรงซึ่งหากแตกหัก บานปลายจะกระทบต่อความมั่นคงของไทยและอนาคตของอาเซียนทั้งหมด

(2) ความยุ่งเหยิงของสถานการณ์การเมืองภายในเมียนมาทวีความซับซ้อนและหนักหน่วง เป็นวิกฤติที่เสมือนถูกตรึง รอแตกหัก ใกล้ระเบิด

ตรงนี้เป็นคำถามสำคัญที่สุดว่า แล้วไทยเราจะอยู่นิ่งเฉยไม่ขยับหรือทำอะไรเลย จะได้หรือ ?และถ้าเราควรจะขยับ จะขยับอย่างไร ? ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจปัญหาของเมียนมาให้ถ่องแท้ก่อน <reality on the ground> ไทยเรามีความปรารถนาว่า สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเมียนมาในตอนนี้ คือ การประคับประคองกัน / ดูแลประเทศไปด้วยกันอย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันอย่างที่เคยเป็น

แต่การณ์ไม่เป็นอย่างที่คิด เมื่อปรากฎว่ามีความพยายามใช้กม.โค่นกัน ลดบทบาทกัน จึงเกิดการยึดอำนาจรัฐประหารเมื่อวันที่ 1กพ. ที่ผ่านมา ที่เราทราบกัน

หลังรัฐประหารในเมียนมาเมื่อ 1 กพ ประชาชนเมียนมาและประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกไม่ยอม เกิดประท้วงต่อต้านเรียกร้องให้มีการคืนอำนาจ แต่ทหารเมียนมานั้นได้ชื่อว่าเคี่ยวมาก เมื่อยึดอำนาจแล้วจะคืนอำนาจตามแรงเรียกร้องกดดันของประชาชนก็ไม่น่าจะง่าย ดังนั้น ตอนนี้เราจึงเห็นการใช้กำลังเกิดขึ้น ซึ่งมีแววส่อว่าสถานการณ์จะย่ำแย่ลง

วิกฤติในเมียนมาครั้งนี้โอกาสบานปลายมีสูงมาก และเมื่อบานปลายแล้วก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่มากที่จะส่งผลกระทบกับไทยเราที่มีพรมแดนยาวติดต่อกันกว่า 2400 กม.อย่างหลีกเลี่ยงมิได้

สารพัดปัญหาจะถาโถมส่งผลให้เกิดเป็นผลเสียต่อประชาชนทุกฝ่ายเป็นลูกโซ่ ไม่ว่าต่อคนเมียนมา ต่อคนไทย ต่ออาเซียน และต่อภูมิภาคเอเชียโดยรวม แล้วเราจะมีส่วนช่วยแก้วิกฤตินี้ให้หยุดได้อย่างไร?

ข้อ ก.คืนอำนาจ ?

ข้อ ข.ปล่อยเลยตามเลย

ข้อ ค.ถอยคนละก้าวสองก้าวเพื่อหาทางออกที่ยอมรับกัน แล้วประคองกันพาบ้านเมืองเดินหน้าต่อ

ข้อ ก. และ ข้อ ข. คงเกิดยาก จะเกิดปัญหาเรื้อรังตลอดทาง ปชช.และบ้านเมืองจะเสียหายไม่หยุดหย่อน

ข้อ ค.ก็ยากมากเช่นกัน การประสานรอยร้าวแม้ยากสุด แต่ก็ยังพอมีโอกาสเกิด ยังพอเห็นแสงริบหรี่ปลายอุโมงค์ !

ในสถานการณ์เยี่ยงนี้ ใครจะทำให้ข้อ ค. เกิดได้ คำตอบคือความปรารถนาดีและความไว้เนื้อเชื่อใจ (trust) ของทุกคนทุกฝ่าย ทั้งในและนอกเมียนมาร์ เรื่องนี้เปราะบางและละเอียดอ่อนมาก จึงต้องอดทน และอาจใช้เวลาเพราะ บางแง่มุมต้องค่อยเป็นค่อยไป บางแง่มุมต้องก้าวข้ามพิธีรีตอง บางแง่มุมต้องใช้ศาสตร์และศิลป์อย่างระมัดระวังแบบที่สุดของที่สุด (คือต้องพยายามประคองดุลยภาพให้มี/อยู่/เป็นไปตลอดทางจนถึงปลายทาง)

ดังนั้น ไทยในฐานะเพื่อนบ้านใกล้ชิดของเมียนมา และเราเป็นสมาชิกครอบครัวอาเซียนด้วยกัน เราจึงจำเป็นที่ต้องทำทุกอย่างที่เราสามารถทำในแนวนี้ได้ เพื่อให้สถานการณ์ในเมียนมาดีขึ้น

ตรงนี้ ต้องขอให้เพื่อนๆมองสิ่งที่ กต. พยายามดำเนินการอย่างใจเป็นธรรม อย่าเอาอคติเป็นที่ตั้ง คอยแต่กระแนะกระแหน เพราะมันไม่เกิดประโยชน์อะไร !

หวังว่าสิ่งที่ผมพยายามเรียบเรียงอธิบายนี้พอจะทำให้เพื่อนๆเข้าใจต่อสถานการณ์ทางการเมืองในเมียนมา ที่อาจส่งผลกระทบต่อไทยเราและอาเซียนนะครับ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"