มุมมองอีกด้าน! อดีตผู้พิพากษาฯยืนยัน 'พุทธิพงษ์-ถาวร' พ้น ส.ส.


เพิ่มเพื่อน    

26 ก.พ.64 - นายวัส ติงสมิตร อดีตประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) และอดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา แสดงความคิดเห็นต่อกรณีแกนนำกปปส.ในส่วนที่มีสถานะเป็น ส.ส. เช่นนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พปชร. และ นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา ที่ถูกคุมขัง ต้องพ้นจากความเป็นส.ส.หรือไม่ 

โดยความเห็นของนายวัส ติงสมิตร มีรายละเอียดดังนี้

ภายหลังจากศาลอาญาอ่านคำพิพากษาคดีกลุ่มกบฏคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยรวม 39 คน ในความผิดฐานร่วมกันเป็นกบฏ ก่อการร้าย ล้มล้างระบอบการปกครอง มั่วสุมชุมนุมก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 โดยศาลพิพากษายกฟ้องจำเลยบางคน ลงโทษจำเลยบางคน โดยรอการลงโทษจำคุก ลงโทษจำเลยบางคน โดยไม่รอการลงโทษจำคุก เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยบางคน และจำหน่ายคดีจำเลยคนหนึ่ง เพราะเสียชีวิตในระหว่างพิจารณาคดี นั้น

มีปัญหาที่น่าพิจารณาดังนี้

1) ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว (ประกันตัว) ระหว่างอุทธรณ์ตามรายงานข่าวของสื่อบางฉบับหรือไม่

ตาม ป.วิ อาญา มาตรา 106 (4) เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้ว แม้ยังไม่มีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา หรือมีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น

ในกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว ให้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต มิฉะนั้นให้รีบส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเพื่อสั่ง แล้วแต่กรณี

คดีนี้ ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อเย็นวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ยังไม่มีการยื่นอุทธรณ์ และสำนวนยังอยู่ที่ศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์ได้ ไม่มีอำนาจสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว และในคดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเห็นสมควรส่งคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของจำเลย 8 คนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ไม่ใช่สั่งไม่อนุญาตตามข่าว ซึ่งศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งเช่นนั้น และกรณีไม่เข้าข่ายที่ศาลชั้นต้นจะต้องส่งไปให้ศาลชั้นอุทธรณ์สั่งตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการปล่อยชั่วคราว พ.ศ. 2548 ข้อ 5 เพราะโทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลยแต่ละคนไม่เกินกระทงละ 3 ปี และจำเลยทุกคน รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ และ ส.ส. ต่างได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น

อนึ่ง ปัจจุบัน ศาลชั้นต้น ศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลฎีกา เปิดทำการเพื่อพิจารณาสั่งคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในคดีอาญาทุกวัน ไม่เว้นวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดราชกาอื่น ๆ

2) สมาชิกภาพของ ส.ส. จะสิ้นสุดลง เพราะเหตุที่ไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว (แม้เพียง 1 วัน) หรือไม่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101(6) สมาชิกภาพของ ส.ส. จะสิ้นสุดลง เมื่อต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล

คดีนี้ ตามข่าวแจกสื่อมวลชนของศาลชั้นต้นลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ปรากฏว่าศาลได้ออกหมายขังและส่งตัวจำเลย 8 คนไปขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพแล้ว แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยดังกล่าว โดยไม่รอการลงโทษ ศาลน่าจะต้องออกหมายจำคุกระหว่างอุทธรณ์ฎีกา แบบพิมพ์ 51 ตรี (สีเหลือง) ดังนั้น แม้จำเลยจะถูกขังหรือจำคุกเพียง 1 วัน ก็เข้าข่ายถูกคุมขังโดยหมายของศาลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101(6) สมาชิกภาพ ส.ส.ของจำเลยดังกล่าวจึงสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 แล้ว กรณี ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง รัฐต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. แทนตำแหน่งที่ว่าง สมาชิกภาพของ ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งเริ่มนับแต่วันเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง และอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภาผู้แทนราษฎรที่เหลืออยู่ (รัฐธรรมนูญ มาตรา 105)


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"