พูดได้เลยว่าปัจจุบันปัญหาการจราจรเป็นปัญหาหลักของคนกรุงเทพฯ แม้ว่าจะมีระบบขนส่งมวลชนที่หลากหลาย แต่ก็ยังคงไม่สามารถรองรับกับจำนวนผู้ใช้บริการที่มีจำนวนมาก ยิ่งขณะนี้หลายพื้นที่มีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าขึ้นในกรุงเทพฯ คงไม่ต้องคาดเดาว่าการจราจรจะคับคั่งเพียงใด และต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการเปิดเทอมของโรงเรียนในหลายพื้นที่ เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหารองรับการจราจรและอำนวยความสะดวกในการเดินทาง
กระทรวงคมนาคมในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องดูแลการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะของประเทศ นำโดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ได้มีข้อสั่งการ และมีนโยบายในการเตรียมพร้อมรับมือเปิดภาคเรียนประจำปีการศึกษา 2561 ในวันอังคารที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกและบริการอย่างพร้อมเพรียง ตามแนวนโยบาย One Transport, One Family ที่เน้นความปลอดภัยให้กับเด็กและผู้ปกครอง
โดยมอบหมายหน่วยงานดำเนินการ 8 มาตรการ ได้แก่ 1. ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เพิ่มจำนวนรถและเที่ยววิ่งในเส้นทางที่ผ่านโรงเรียน สถานศึกษา ในวันธรรมดาจำนวน 21,928 เที่ยวต่อวัน และดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสารและเด็กนักเรียน
2.กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) จัดผู้ตรวจการคอยกำกับดูแลความเรียบร้อยในบริเวณป้ายรถประจำทางใหญ่ เช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หมอชิต วงเวียนใหญ่ เป็นต้น รวมทั้งบริเวณโรงเรียน และสถานศึกษาที่มีการจราจรหนาแน่น และป้องกันไม่ให้รถแท็กซี่และจักรยานยนต์รับจ้างเอารัดเอาเปรียบผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วน
3.ในต่างจังหวัด ให้กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) และสำนักงานขนส่งจังหวัด ร่วมกับตำรวจจราจรท้องที่อำนวยความสะดวกการจราจรบริเวณหน้าโรงเรียนในเขตเมืองและเทศบาลในเขตความรับผิดชอบเพื่อลดความคับคั่งของการจราจร โดยเฉพาะผู้ปกครองที่ขับรถมาส่งบุตรหลาน ให้เขตและแขวงจัดกำลังเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกับโรงเรียนในการอำนวยความสะดวกการจราจรและความปลอดภัยแก่เด็กนักเรียน
4.ขบ.และสำนักงานขนส่งจังหวัด เข้มงวดรถโรงเรียนและรถรับจ้างเอกชนทุกประเภทให้ปฏิบัติตามกฎกระทรวง กฎจราจร อย่างเข้มงวด ทั้งจำนวนบรรทุก ความปลอดภัยของตัวรถ โดยเฉพาะจำนวนบรรทุกเด็กนักเรียนที่มากเกินจนอาจเกิดอันตราย
5.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟท.) จัดเดินรถไฟฟ้าให้เพียงพอ และอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในชั่วโมงเร่งด่วน และให้คำแนะนำในการเดินทางของเด็กนักเรียนที่ยังไม่คุ้นเคยเส้นทางต่างๆ ทั้งนี้ ในส่วนของ รฟม.จัดระบบการจราจรในพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 4 สาย คือ สายสีเขียว สายสีส้มตะวันออก สายสีชมพู สายสีเหลือง โดยให้ข้อมูลเส้นทางเบี่ยงการจราจรผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ทุกช่องทาง
6.การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ทล. ตำรวจทางหลวง ดูโครงข่ายทางด่วน มอเตอร์เวย์ ขาเข้าในช่วงเช้า ขาออกในช่วงเย็น ให้มีความคล่องตัวมากที่สุด รวมทั้งทางหลวงแผ่นดินในเมืองใหญ่ ทล. ทช. ดูถนนให้พร้อมใช้ ไม่ให้มีหลุมมีบ่อ
7.กรมเจ้าท่า จัดผู้ตรวจการประจำท่าเรือทุกท่าเรือ ทั้งท่าเรือในกรุงเทพฯ ทั้งท่าเรือแม่น้ำ และท่าเรือคลองแสนแสบ คลองลาดพร้าว และคลองอื่นๆ รวมทั้งท่าเรือต่างจังหวัด โดยกำกับดูแลความปลอดภัยของเรือโดยสารไม่ให้บรรทุกผู้โดยสารเกิน ซึ่งจะมีเด็กนักเรียนเพิ่มเข้ามาอีกจำนวนมาก
และ 8.ในส่วนของ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) และกรมท่าอากาศยาน อำนวยความสะดวกการเดินทางของเด็กนักเรียนที่เดินทางจากต่างจังหวัดเข้ากรุงเทพฯ โดยให้คำแนะนำสำหรับเด็กต่างจังหวัดที่เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก
จะเห็นได้ว่ามาตรการทั้ง 8 ข้อล้วนแล้วแต่มีความสำคัญอย่างยิ่ง พูดได้เลยว่ากระทรวงคมนาคมมีความใส่ใจกับเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก ถือเป็นครั้งแรกที่ได้มีการออกมาตรการเข้มงวด เพื่อดูแลและคอยอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ลูกหลานที่ต้องเดินทางไปเรียนที่ต้องเผชิญกับปัญหารถติดในเมืองกรุง เห็นแบบนี้แล้วผู้ปกครองก็อุ่นใจได้ ไม่ว่าจะขึ้นรถ ลงเรือ ก็สะดวกสบายเช่นกัน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |