ลากยาวเป็นมหากาพย์


เพิ่มเพื่อน    


    ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานั้น รัฐบาลพยายามผลักดันการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ส่วนหนึ่งนอกจากจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศแล้วยังเพื่อพัฒนาประเทศเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต และการก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ไม่ว่าจะเป็นโครงการสนามบินอู่ตะเภา มอเตอร์เวย์ รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง รวมถึงการเร่งเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าในเมืองใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรที่ติดขัดและยังช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีหลายสายที่จะเปิดให้บริการภายในปี 2564 และปี 2565 นี้ 
    ดูเหมือนการเดินหน้าโครงการต่างๆ จะเดินหน้าอย่างสมูธ คือคืบหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะโครงการถไฟฟ้าภายในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ที่รัฐบาลได้ผลักดันให้สายสีเขียวเปิดให้บริการ แม้ว่าจะมีสะดุดบ้าง แต่ก็ยังคงเดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่อง และได้เปิดให้บริการถึงสถานีคูคตไปแล้วเมื่อปลายปี 2563 ที่ผ่านมา 
    จะมีที่น่าห่วงคือ สายสีส้ม ที่อยู่ๆ มาสะดุด เพราะคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ได้มติยกเลิกการประกวดราคา (ประมูล) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า การดำเนินการดังกล่าวถือว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ทำให้ทุกคนอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน ที่สำคัญจะทำให้โครงการเดินต่อไปไม่สะดุด และเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งรายละเอียดต่างๆ รฟม.จะเป็นผู้กำหนดอีกครั้ง
    อย่างไรก็ตาม หลังการยกเลิกประมูลก็คิดว่าทุกอย่างคงจบและเริ่มต้นใหม่ แต่ล่าสุด บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTS ไม่จบ ได้ยื่นฟ้องฝ่ายบริหาร รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 
    เนื่องจาก รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคัดเลือกที่แตกต่างไปจากเอกสารประกวดราคา (RFP) ที่ออกไปแล้วโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และแม้ก่อนหน้านี้ศาลปกครองกลางจะมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับใช้เกณฑ์ดังกล่าวจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น แต่ รฟม.ยังคงมีความพยายามที่จะนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาบังคับใช้ในการประมูล จึงน่าจะมีปัญหาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นไปตามคำสั่งศาล
    และสัปดาห์ที่ผ่านมา ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง และนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีทุจริตโครงการก่อสร้างระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ตลิงค์) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ยื่นฟ้องอดีตผู้ว่าฯการรถไฟฯ ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เนื่องจากมีการแก้ไขสัญญาในเอกสารประกวดราคาเพื่อเอื้อประโยชน์แก่เอกชน จนเป็นเหตุให้รถไฟได้รับความเสียหาย
    โดยศาลอุทธรณ์ได้สั่งจำคุก นายจิตต์สันติ ธนะโสภณ อดีตผู้ว่าฯ การรถไฟฯ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ลงโทษจำคุก 9 ปี แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษ 1 ใน 3 คงจำคุก 6 ปี ส่วนจำเลยอีกราย อดีตหัวหน้าสำนักงานกฎหมายนั้น ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น
    ดังนั้นผลพวงจากคดีทุจริตโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ข้างต้นน่าจะเป็นบทเรียนให้กับบอร์ดและฝ่ายบริหาร รฟม.ต่อกรณีประมูลคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่กำลังเป็นประเด็นอยู่นี้ เพราะศาลได้มีคำสั่งทุเลาการบังคับใช้เกณฑ์คัดเลือกใหม่ แต่การที่ฝ่ายบริหาร รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกยังคงมีความพยายามที่จะประมูลภายใต้หลักเกณฑ์คัดเลือกใหม่ดังกล่าว จึงเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นว่า มีความพยายามที่จะแก้ไขเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนบางราย สอดคล้องกับกรณีทุจริตในโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ที่มีการแก้ไขเอกสารประกวดราคาจนทำให้รัฐเสียหาย จึงเชื่อว่าทั้งผู้บริหาร รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกน่าจะมีชะตากรรมบนบรรทัดฐานเดียวกับคดีแอร์พอร์ตลิงค์อย่างแน่นอน
     ดังนั้นโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มก็คงจะลากยาวเป็นมหากาพย์อีกระลอก และสุดท้ายจะกลายเป็นค่าโง่หรือไม่ก็ต้องจับตาดูกันต่อไป.

บุญช่วย ค้ายาดี 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"