รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเปิดตัว 2 โครงการ “ชิงเก็บ ลดเผา” – เครือข่าย ทสม.ประกาศความพร้อมรับมือปัญหาไฟป่า หมอกควันช่วงหน้าแล้งปีนี้ ใน 17 จว.ภาคหนือ และ 3 จว.อีสาน โดยมอบนโยบายให้เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมจังหวัด- ภาค มุ่งสร้างความเข้าใจบูรณาการปฎิบัติงานในพื้นที่ไปในทิศทางเดียวกัน บรรเทาปัญหาลดโอกาสเกิดไฟป่า การเผา และหมอกควันฝุ่น
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้บริหารกระทรวงฯ เป็นประธานเปิดตัวโครงการบริหารจัดการเชื้อเพลิง “ชิงเก็บ ลดเผา” และโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ในการจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควัน พร้อมกล่าวมอบนโยบายการบริหารจัดการไฟป่าให้กับเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่รับผิดชอบว่า ช่วงเดือนธันวาคมจนถึงเดือนเมษายนของทุกปี ซึ่งเข้าสู่ฤดูแล้ง หลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักประสบปัญหาหมอกควัน ที่มีสาเหตุสำคัญจากการเผาพื้นที่เกษตรและไฟป่า รวมทั้งหมอกควันที่ข้ามแดนมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและทำลายสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมารัฐบาลตระหนักและวางแนวทางแก้ปัญหามาต่อเนื่องโดยตลอด ทั้งมาตรการควบคุมการเผา และมาตรการป้องกัน
ในปี พ.ศ.2564 ทส. ยังคงต้องปฏิบัติงานเชิงรุก ภายใต้นโยบาย ทส. ยกกำลัง 2 บวก 4อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการลดปริมาณเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นเทคนิคการลดความรุนแรงของไฟป่า ด้วยวิธีการ “ชิงเก็บ” ทั้งในพื้นที่ป่าของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ รวมทั้งป่าชุมชนในพื้นที่สิ่งสำคัญของการ “ชิงเก็บ” ก็เพื่อให้มีการนำเชื้อเพลิงที่เก็บได้ ไปสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่ เช่น ผลิตเป็นถ่านอัดก่อน ผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง นำไปทำปุ๋ยหมัก หรือนำไปทำเป็นบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นต้น เราต้องสร้างความเข้าใจให้ประชาชนได้ตระหนักว่า สิ่งที่กำลังเผา สามารถนำไปแปรรูปได้ และเทคนิควิธีการ “ชิงเก็บ” นี้จะช่วยลดการเผา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาฝุ่นละอองจากหมอกควันไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนืออีกด้วย
ดังนั้น จึงอยากเน้นย้ำ ให้หน่วยงานในสังกัด ทส. รวมทั้งเครือข่าย ทสม. บูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ โดย 1) เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง PM 2.5 และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบุกรุกทำลายป่า การเผาป่า ให้เป็นเครือข่ายดูแลรักษาป่า 2) สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ให้เข้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหา 3) จัดระเบียบการเผา และระบบการแจ้งเตือน 4) ลดเชื้อเพลิงในการเกิดไฟป่า ในรูปแบบของการ “ชิงเก็บ ก่อนเผา” เน้นการเก็บขนเชื้อเพลิงออกจากพื้นที่ป่า เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ สร้างมูลค่าให้กับชุมชน 5) การเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ และนำเทคโนโลยีด้านสารสนเทศ เข้ามาช่วยในการปฎิบัติงานในพื้นที่
ผมต้องขอขอบคุณ กองทุนสิ่งแวดล้อม แหล่งเงินทุนเพื่อการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณ โครงการบริหารจัดการเชื้อเพลิง “ชิงเก็บ ลดเผา” ดำเนินการโดย สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 17 จังหวัดภาคเหนือ และ3 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วงเงิน 42 ล้านบาท และโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายทสม. ในการจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควัน จำนวน 49 แห่ง วงเงิน 24 ล้านบาท
“ทั้งนี้ ให้ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ทั้ง ๒๐ จังหวัด และเครือข่าย ทสม. ตลอดจนสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการที่ตั้งไว้รวมทั้งจะต้องมีการติดตามประเมินโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยเราจะต้องบรรลุผลสำเร็จที่ตั้งไว้ให้ได้ ดังนี้ 1)การสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ให้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังไฟป่าและช่วยกันดูแลป่า ไม่น้อยกว่า 370 เครือข่าย 2) ลดจุดความร้อน (Hot Spot) ลงให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 3) จัดเก็บเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่าให้ได้จังหวัดละ ไม่น้อยกว่า 100 ตัน สำหรับ 10 จังหวัดพื้นที่เป้าหมาย 4) นำเชื้อเพลิงไปใช้ประโยชน์ให้กับชุมชน 5) ปลูกต้นไม้เพิ่ม ไม่น้อยกว่า 70,000ต้น 6) เกิด แผน กฎ กติกา ในการบริหารจัดการไฟป่า ไม่น้อยกว่า 130 ฉบับ” รมว.ทส.กล่าวย้ำทิ้งท้าย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |